บทคัดย่อ
การวิจัยสำรวจแบบภาคตัดขวางเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์และการมีบุตรของหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี. ในส่วนของงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงมีครรภ์และมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่มารับบริการการคลอดที่โรงพยาบาลวังโป่งในช่วง 1 ตุลาคม 2549 ถึง 30 กันยายน 2550 จำนวน 31 ราย ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ในส่วนงานวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงมีครรภ์และมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่มารับบริการการคลอดที่โรงพยาบาลวังโป่งในช่วง 1 ตุลาคม 2550 ถึง 31 มกราคม 2551 โดยสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จำนวน 8 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีสรุปสาระสำคัญ กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 18 ปี และอายุสามีเฉลี่ย 22 ปี มีทั้งคนเชื้อชาติไทยและเชื้อชาติอื่น ภาษาพูดคือภาษาไทย ส่วนใหญ่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สถานภาพสมรสคู่ อาชีพหลักคือรับจ้าง รองลงมาคือกำลังศึกษา ส่วนอาชีพของสามีส่วนใหญ่คือรับจ้าง รองลงมาคือเกษตรกรรม รายได้เฉลี่ยของภรรยาเดือนละ 3,550 บาท รายได้เฉลี่ยของสามีเดือนละ 4,685 บาท. อายุที่ตั้งครรภ์ครั้งแรกมากที่สุดคืออายุ 17 ปี และน้อยที่สุดคือคืออายุ 12 ปี ส่วนใหญ่มีความตั้งใจในการตั้งครรภ์และมีบางส่วนไม่ตั้งใจ ซึ่งมีทั้งกลุ่มที่มีการคุมกำเนิดและการไม่ได้คุมกำเนิดอยู่ในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน นอกจากนั้นยังพบว่าภาวะแทรกซ้อนที่พบในระยะคลอดคือ คลอดก่อนกำหนด ครรภ์เป็นพิษ น้ำหนักทารกน้อยกว่า 2,500 กรัม และการคลอดติดขัด ผลในส่วนของวิจัยเชิงคุณภาพพบว่าสาเหตุของการตั้งครรภ์ของหญิงที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี คือ การขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา การคุมกำเนิดและการวางแผนครอบครัวที่ถูกต้อง ความตั้งใจที่จะตั้งครรภ์มีความใกล้เคียงกับความไม่ตั้งใจที่จะตั้งครรภ์ ส่วนมากการตั้งใจตั้งครรภ์จากความต้องการของสามีเป็นส่วนใหญ่ และยังพบว่าส่วนใหญ่มักมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ครอบครัว จิตใจ ด้านการศึกษา และสภาพแวดล้อมต่างๆ นอกจากนั้นกลุ่มตัวอย่างได้ให้ข้อคิดสำหรับวัยรุ่น 3 ประการ ได้แก่ (1) ให้วัยรุ่นทุกคนมีสติ อย่าเชื่อคนง่าย ให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง (2) ให้วัยรุ่นทุกคนเรียนให้จบและมีงานทำเสียก่อนจึงแต่งงานและมีบุตร และ (3) หากมีสามีขณะที่อายุยังน้อยขอให้คุมกำเนิดไว้ก่อน
บทคัดย่อ
This cross-sectional research consisted of a quantitative and a qualitative study. The study
was aimed at determining the factors influencing teenage pregnancy/giving birth. In the quantitative
part, 31 samples, who had given birth in Wangpong Hospital between October 1, 2006 and September 30, 2007, were selected and interviewed by using a questionnaire. In the qualitative part,
the participants were purposively selected and interviewed by using an interview guide until data
saturation had been achieved; there were eight subjects in this study. Quantitative data were
analyzed by using descriptive statistics, namely percentage, mean and standard deviation, and
qualitative data were analyzed by the process of summative analysis.
The study results showed that the majority of pregnancies were females 18 years old,
whose husbands were 22 years old. Most of them studied to the junior high school level. They were
farmers with low income. The age of first pregnancy was between 12 and 17 years and included
both wanted and unwanted pregnancies. The complications of pregnancy included preterm labor,
eclampsia, low birth weight and dystocia. The causes of the child being unwanted by the parents
were lack of knowledge of sexuality, birth control and family planning. The pregnancies that were
wanted reflected different problems, such as economic problems, and those related to family support
and the environment. Suggestions given by the pregnant teenagers were (1) be strong minded and
donût take it easy, (2) obtain a higher education before becoming pregnant, and (3) practice birth
control if one is at risk of pregnancy. These findings suggested that hospital or health services
should be offering antepartum care for pregnant teenagers in order to provide knowledge about
family planning and effective care of a pregnancy. Moreover, hospitals should also coordinate with
high schools in giving classes on sex education and family planning.