แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การใช้ยาสามัญทดแทนยาต้นแบบในโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในประเทศไทย

dc.contributor.authorศรีเพ็ญ ตันติเวสสen_US
dc.date.accessioned2008-09-30T04:03:10Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-15T08:54:09Z
dc.date.available2008-09-30T04:03:10Zen_US
dc.date.available2557-04-15T08:54:09Z
dc.date.issued2545en_US
dc.identifier.citationวารสารวิชาการสาธารณสุข 11,1(2545) : 32-43en_US
dc.identifier.issn0858-4923en_US
dc.identifier.otherDMJ18en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/223en_US
dc.description.abstractการศึกษาหลักเกณฑฺ์และการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ยาสามัญ (generic drugs) ทดแทนยาต้นแบบ(origin-nal drugs) ในโรงพยาบาลรับและเอกชนในประเทศไทย เก็บข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามในโรงพยาบาล 292 แห่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ได้รับแบบสอบถามสมบูรณ์กลับคืนจากโรงพยาบาล 166 แห่ง(ร้อยละ 56.9) ในกรณีที่มียาสามัญจำหน่ายในประเทศไทย โรงพยาบาลรัฐนอกกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่ ไม่มีหลักเกณฑ์กำหนดตายตัวว่าจะเลือกยาต้นแบบหรือยาสามัญ หรือเลือกทั้งยาต้นแบบและยาสามัญเข้าสู่บัญชียาโรงพยาบาล ในขณะที่โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขส่วนใหญ่มีหลักเกณฑ์กำหนดว่าจะเลือกยาต้นแบบหรือยาสามัญอย่างใดอย่างหนึ่ง ในทางปฏิบัติ โรงพยาบาลรัฐเลือกยาสามัญของยาแต่ละรายการในสัดส่วนที่สูงกว่าโรงพยาบาลเอกชน แต่โรงพยาบาลทั้งสองประเภทมีรูปแบบการใช้ยาที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ยากลุ่ม Narrow Therapeutic Index (NTI) หรือยาที่ต้องสั่งใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีผลิตภัณฑ์ ยาสามัญจำหน่ายในปีชระเทศน้อยมาก โรงพยาบาลส่วนใหญ่เลือกใช้แต่ยาต้นแบบ ส่วนยาที่มีความเสี่ยงทีจะทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อผู้ป่วยน้อยกว่าในกลุ่ม NTI ไม่มีรายงานปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพยาสามัญที่ผลิตภายในประเทศและมีผลิตภัณฑ์ยาสามัญจำหน่ายเป็นจำนวนมากโรงพยาบาลส่วนใหญ่เลือกใช้แต่ยาสามัญ โรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนที่มียาต้นแบบและยาสามัญของยารายการยาเดียวกับอยู่ในบัญชียาโรงพยาบาลส่วนใหญ่กำหนดหลักเกณฑ์ การสั่งจ่ายยาต้นแบบโดยพิจารณาจากสวัสดิการหรือประกันสุขภาพและ/หรือ ความสามารถในการจ่ายค่ายาของผู้ป่วย แต่มีข้อยกเว้นในกรณีที่แพทย์ยืนยันการสั่งใช้ ผู้ป่วยสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการมีโอกาสที่จะได้รับยาต้นแบบมากกว่าผู้ป่วยที่มีประกันสุขภาพอื่น ในการจัดซื้อยาสามัญ โรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญกับใบรับรองการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยาของโรงงานมากที่สุด รองลงมาได้แก่ประวัติความน่าเชื่อถือของโรงงานผู้ผลิตและผลการตรวจวิเคราะห์จากโรงงานผู้ผลิต ในขณะที่เภสัชกรโรงพยาบาลเห็นว่าในการส่งเสริมให้แพทย์สั่งใช้ยาสามัญที่ผลิตภายในประเทศ กิจกรรมที่ควรได้รับการปรับปรุงมากที่สุด ได้แก่ การกำกับดูแลและประกันคุณภาพการศึกษาชีวสมมูล การเฝ้าระวังคุณภาพยาที่จำหน่วยในท้องตลาด และการเผยแพร่ข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์ยาโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.rightsสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.subjectโรงพยาบาลรัฐen_US
dc.subjectโรงพยาบาลเอกชนen_US
dc.titleการใช้ยาสามัญทดแทนยาต้นแบบในโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในประเทศไทยen_US
dc.typeArticleen_US
dc.subject.keywordยาสามัญen_US
dc.subject.keywordยาต้นแบบen_US
dc.subject.keywordคุณภาพยาen_US
.custom.citationศรีเพ็ญ ตันติเวสส. "การใช้ยาสามัญทดแทนยาต้นแบบในโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในประเทศไทย." 2545. <a href="http://hdl.handle.net/11228/223">http://hdl.handle.net/11228/223</a>.
.custom.total_download1243
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month14
.custom.downloaded_this_year157
.custom.downloaded_fiscal_year25

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: 2002_DMJ18_การใช้ ...
ขนาด: 815.7Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย