แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

อัตราเหมาจ่ายรายหัวชุดสิทธิประโยชน์กรณีส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ปีงบประมาณ 2546

dc.contributor.authorวลัยพร พัชรนฤมลen_US
dc.contributor.authorภูษิต ประคองสายen_US
dc.contributor.authorกัญจนา ติษยาธิคมen_US
dc.contributor.authorวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรen_US
dc.date.accessioned2008-10-01T03:19:48Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-15T08:54:29Z
dc.date.available2008-10-01T03:19:48Zen_US
dc.date.available2557-04-15T08:54:29Z
dc.date.issued2545en_US
dc.identifier.citationวารสารวิชาการสาธารณสุข 11,5(2545) : 582-598en_US
dc.identifier.issn0858-4923en_US
dc.identifier.otherDMJ26en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/231en_US
dc.description.abstractการกำหนดอัตราเหมาจ่ายในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำหรับปีงบประมาณ 2545 นั้น มีข้อจำกัด 3 ประการ เนื่องจาก ข้อมูลรายละเอียดของชุดสิทธิประโยชน์ ประชา่กรเป้าหมายของกิจกรรมเฉพาะและต้นทุนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคยังไม่ชัดเจน จึงได้กำหนดให้เท่ากับร้อยละ 20 ของอัตราเหมาจ่ายกรณีรักษาพยาบาล หรือเท่ากับ 176 บาทต่อคนต่อปี ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาวิธีการคำนวณอัตราเหมาจ่ายสำหรับปี 2546 โดยอ้างอิงตามชุดสิทธิประโยชน์หลักทั้งหมด 10 กิจกรรม และข้อมูลต้นทุนที่เกี่ยวข้องในการศึกษานี้และแสดงวิธีการคำนวณอัตราเหมาจ่ายของชุดสิทธิประโยชน์ส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคสำหรับปีงบประมาณ 2546 โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิได้แก่ ประชากรเป้าหมายตามกลุ่มเสี่ยง กลุ่มอายุหรือเพศ ความถี่ของกิจกรรมที่พึงได้รับบริการข้อมูลต้นทุนค่าวัสดุรายกิจกรรมใหม่ตามความจำเป็น จะได้ต้นทุนดำเนินการสำหรับงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามสิทธิประโยชน์ เมื่อหารด้วยประชากร จะได้อัตราเหมาจ่ายต่อหัวประชากร ต้นทุนค่าวัสดุของทั้ง 10 กิจกรรมเท่ากับ 3,329.54 ล้านบาท คำนวณค่าแรง อ้างอิงสัดส่วนต้นทุนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ประกอบด้วย ต้นทุนค่าแรงร้อยละ 62 ค่าวัสดุร้อยละ 38 นำมาคำนวณค่าแรงให้เฉพาะบางกิจกรรมที่จัดบริการเพิ่มขึ้นคิดเป็นค่าแรงได้เท่ากับ 4,403.26 ล้านบาท ส่วนบางกิจกรรมที่เป็นงานเดิมที่ได้ดำเนินการมาก่อนแล้วนั้นไม่นำมาคิดค่าแรงเพิ่ม รวมเป็นค่าแรงและค่าวัสดุ(ต้นทุนดำเนินการ) เท่ากับ 7,723.8 ล้านบาท สำหรับประชากรทั่วไปทุกคน นอกจากนี้ยังมีการตรวจสุขภาพประชากรบางรายที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่างๆ แต่มีข้อจำกัดในการหาจำนวนประชากรเป้าหมายทำให้ไม่สามารถคำนวณได้ จึงกำหนดต้นทุนของประชากรกลุ่มเสี่ยง เป็นร้อยละ 20 ของต้นทุนดำเนินการสำหรับประชากรทั่วไป เป็นเงิน 1,546.56 ล้านบาท รวมเป็นเงินประมาณสำหรับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับบุคคล ในปีงบประมาณ 2546 เป็นเงิน 9,279.36 ล้านบาท สำหรับประชากรไทย 62 ล้านคนซึ่งครอบคลุมผู้มีสิทธิ์ ในสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการประมาณ 7 ล้านบาท ประกันสังคมประมาณ 10 ล้านคน และเป็นประชากรในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ต้องจัดทำงบประมาณต่อสำนักงบประมาณจำนวน 45 ล้านคน ในทางปฏิบัติกระทรวงสาธารณสุขต้องจัดบริการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะมีสวัสดิการรักษาตามสิทธิใดๆก็ตาม ดังนั้น จึงต้องเสนออัตราเหมาจ่ายรายหัวที่ 206 บาทต่อคนต่อปี(9,279.36 ล้านบาท หารด้วย 45 ล้านคน)en_US
dc.format.extent1138659 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.rightsสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.subjectโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าen_US
dc.titleอัตราเหมาจ่ายรายหัวชุดสิทธิประโยชน์กรณีส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ปีงบประมาณ 2546en_US
dc.typeArticleen_US
dc.subject.keywordอัตราเหมาจ่ายรายหัวen_US
dc.subject.keywordส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคen_US
.custom.citationวลัยพร พัชรนฤมล, ภูษิต ประคองสาย, กัญจนา ติษยาธิคม and วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. "อัตราเหมาจ่ายรายหัวชุดสิทธิประโยชน์กรณีส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ปีงบประมาณ 2546." 2545. <a href="http://hdl.handle.net/11228/231">http://hdl.handle.net/11228/231</a>.
.custom.total_download787
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month14
.custom.downloaded_this_year32
.custom.downloaded_fiscal_year53

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: 2002_DMJ26_อัตราเ ...
ขนาด: 1.085Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย