Show simple item record

ปัจจัยในการตัดสินใจเชิงนโยบายและสิ่งท้าทายของนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

dc.contributor.authorวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรen_US
dc.contributor.authorภูษิต ประคองสายen_US
dc.contributor.authorจิตปราณี วาศวิทen_US
dc.date.accessioned2008-10-01T03:40:02Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-15T08:55:08Z
dc.date.available2008-10-01T03:40:02Zen_US
dc.date.available2557-04-15T08:55:08Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.citationวารสารวิชาการสาธารณสุข 13,6(2547) : 1003-1011en_US
dc.identifier.issn0858-4923en_US
dc.identifier.otherDMJ58en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/254en_US
dc.description.abstractการตัดสินใจเลือกใช้วิธีการจ่ายเงินให้กับสถานพยาบาลในลักษณะการเหมาจ่ายรายหัว(CAPITION CON-TRACT MODEL) ร่วมกับการจ่ายเงินตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) ในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแทนที่จะใช้วิธีการจ่ายเงินตามรายการรักษาพยาบาล(FEE-FOR-SERVICE REIMBURSEMENT MODEL) เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์การพัฒนาระบบการคลังสุขภาพของประเทศ การตัดสินใจเชิงนโยบายด้านการคลังสุขภาพดังกล่าวมีปัจจัยสำคัญมาจากการสะสมองค์ความรู้และประสบการณ์ในด้านจุดอ่อนจุดแข็งร่วมทั้งผลกระทบของวิธีการจ่ายเงินรูปแบบต่างๆ ให้กับสถานพยาบาล ซึ่งได้แก่ การจ่ายแบบตามรายการรักษาพยาบาล แบบเหมาจ่ายรายหัว และการจ่ายตาม DRG นอกจากนี้ การตัดสินใจดังกล่าวยังเป็นการตัดสินใจเชิงนโยบายบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้และหลังฐานเชิงประจักษ์ (EVIDENCE-BASED) ซึ่งนำจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในด้านประสิทธิภาพของระบบสุขภาพ รวมถึงความสมเหตุสมผลของการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดและความเป็นไปได้ในการดำเนินการ ทั้งนี้เนื่องจากการให้บริการในระบบประกันสังคมและการสงเคราะห์ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล ๖สปร.๗ ในอดีตที่ผ่านมาทำให้สถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนมีประสบการณ์และให้การยอมรับวิธีการจ่ายเงินดังกล่าว นอกเหนือจากปัจจัยแวดล้อมด้านการเมืองและการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนแล้ว ปัจจัยเกื้อหนุนด้านระบบสุขภาพ อันได้แก่ การขยายระบบบริการสุขภาพที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ การมีศักยภาพที่เพียงพอในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเสนอทางเลือกในการกำหนดนโยบายสุขภาพที่สมเหตุผล รวมทั้งความต่อเนื่องในการวิจัยเชิงพัฒนาของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เป็นปัจจัยเกื้อหนุนและทุนทางสังคมที่ทำให้สามารถนำนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปสู่การปฏิบัติได้อย่างรวดเร็วในระยะเริ่มต้นอย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของวิธีการจ่ายเงินแบบเหมาจ่ายรายหัวที่อาจก่อให้เกิดการให้บริการที่ขาดคุณภาพการปฏิสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ ระหว่างผู้ซื้อบริการคือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและผู้ให้บริการสุขภาพในระดับอำเภอ การแสวงหาแหล่งการคลังสุขภาพที่มีความมั่นคงในระยะยาว รวมทั้งการแก้ไขปัญหาความไม่เหมาระสมและไม่เป็นธรรมในการกระจายทรัพยากรสุขภาพ เป็นสิ่งท้าทายในอนาคตที่ทุกฝ่ายจะต้องเร่งแสวงหาคำตอบเพื่อนให้นโยบายดังกล่าวสามารถดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้องและมีความยั่งยืนen_US
dc.format.extent447567 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.rightsสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.subjectหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าen_US
dc.subjectนโยบายสุขภาพen_US
dc.titleปัจจัยในการตัดสินใจเชิงนโยบายและสิ่งท้าทายของนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าen_US
dc.typeArticleen_US
dc.subject.keywordการตัดสินใจเชิงนโยบายen_US
.custom.citationวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, ภูษิต ประคองสาย and จิตปราณี วาศวิท. "ปัจจัยในการตัดสินใจเชิงนโยบายและสิ่งท้าทายของนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/254">http://hdl.handle.net/11228/254</a>.
.custom.total_download1056
.custom.downloaded_today3
.custom.downloaded_this_month47
.custom.downloaded_this_year129
.custom.downloaded_fiscal_year164

Fulltext
Icon
Name: 2004_DMJ58_ปัจจัย.pdf
Size: 437.0Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record