Show simple item record

ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดีของครอบครัวและชุมชนชนบทไทย

dc.contributor.authorศศิพัฒน์ ยอดเพชรen_US
dc.contributor.authorเล็ก สมบัติen_US
dc.contributor.authorปรียานุช โชคธนวณิชย์en_US
dc.contributor.authorธนิกานต์ ศักดาพรen_US
dc.coverage.spatialไทยen_US
dc.date.accessioned2009-10-06T08:08:47Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:20:59Z
dc.date.available2009-10-06T08:08:47Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:20:59Z
dc.date.issued2552-03en_US
dc.identifier.otherhs1593en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2736en_US
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง “ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดีของครอบครัวและชุมชนในชนบทไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและถอดตัวแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุของครอบครัวและการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุของชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกว่ามีการจัดบริการที่ดี กรณีตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพาระดับ 3 และ 4 จำนวน 8 ราย อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เป็นตัวอย่างในการถอดแบบ ได้แก่ อบต.แม่พริก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย อบต.เขาสวนกวาง อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น อบต.บ้านแพ้ว อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และอบต.ปากพูน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์จากคำตอบที่ได้จากการสนทนาเป็นการวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์สาระของข้อมูลอีกครั้ง ผลการศึกษา โดยสังเขปมีดังนี้ ผู้สูงอายุที่ศึกษาเป็นเพศหญิง 6 ราย ชาย 2 ราย อายุต่ำสุด 66 ปี อายุสูงสุด 90 ปี อายุเฉลี่ย 82.87 ปี นับถือศาสนาพุทธ 7 ราย อิสลาม 1 ราย สถานภาพสมรสเป็นหม้าย 7 ราย และยังอยู่กับคู่สมรส 1 ราย ทุกรายมีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง และพึ่งตนเองได้ในระดับน้อยไปจนถึงพึ่งพาตนเองไม่ได้เลย โดยมีบุตรเป็นผู้ดูแลหลัก วิธีการและเทคนิคการดูแลที่ดีประกอบด้วยตัวชี้วัด 9 ประการ ได้แก่ การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล การจัดการเรื่องยา การช่วยเหลือในการเคลื่อนไหว การดูแลแผลกดทับ การจัดหาอาหารที่เหมาะสม การป้อนอาหาร การดูแลด้านการขับถ่าย การสร้างความมั่นคงทางด้านอารมณ์ และการดูแลด้านจิตวิญญาณ ส่วนชุมชนที่มีการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุที่ดี ประกอบด้วยตัวชี้วัด 7 ประการ ได้แก่ การมีระบบดูแลอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การมีทีมงานที่เข้มแข็ง การใช้ทุนทางสังคมให้เป็นประโยชน์ การแก้ไขปัญหาโดยสร้างความตระหนักรู้แก่ชุมชน การมีฐานข้อมูลผู้สูงอายุที่สมบูรณ์ และการมีระบบการประเมินบริการ ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ระดับนโยบายควรมีการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบริการสุขภาพและสังคมที่บ้าน การสร้างระบบบริหารการดูแล ระดับปฏิบัติงาน ควรมีการพัฒนารูปแบบการให้บริการระดับท้องถิ่น โดยสร้างทีมการดูแลที่สามารถให้บริการดูแลระยะยาวได้อย่างมีคุณภาพ การเพิ่มบริการสนับสนุนบริการในครอบครัว และบริการทางเลือกสำหรับอุปกรณ์การดูแล ระดับครอบครัว คือ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ ส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ และควรมีการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อหารูปแบบการดูแลที่ดีของชุมชนอย่างบูรณาการ และสร้างตัวชี้วัดการดูแลที่ดีต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยen_US
dc.format.extent4185473 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.publisherมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ--การดูแลen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดีของครอบครัวและชุมชนชนบทไทยen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeThe research on “Good models on the elderly care by family and community in rural areas in Thailand” aims to study formats and duplicate the models for the long term care for older persons in the family and services management for the older persons in the community from the models selected as having good service management. A case study were 8 elderly with dependency level 3 and 4 who resided in the sampling areas, namely, Mae Prik Sub-District Administrative Organization, Mae Sua District, Chiang Rai Province, Kao Suan Kwang Sub-District Administrative Organization, Kao Suan Kwang District, Khon Kaen Province, Banpaew Sub-District Administrative Organization, Banpaew District, Samutsakhon Province, and Pakpoon Sub-District Administrative Organization, Muang District, Nakhonsithammarat Province. The data analysis included the content analysis, or analyzing answers gathered from conversations and the thematic analysis. The study results were summarized as follows. Of all samples, there were 6 females and 2 males. The minimum and maximum ages were 66 and 90 years, respectively, with the mean of 82.87 years. The religion of 7 elderly was Buddhism and another one was Islam. With regard to marriage status, 7 elderly were widow and another one was marriage. All elderly had chronic illness and were not able to rely on or slightly relied on themselves. Main caregivers were children. Methods and techniques of good careing covers 9 indicators, namely, personal hygiene care, medicine management, movement assistance, pressure ulcers care, proper food, feeding, excretion, emotional stability and spirit. Proper management for elderly of communities included 7 indicators, namely, formal and informal care system, strong team, beneficial social capital, solving by creating community recognition, complete elderly database and service evaluation system. The recommendations from the study are that, at the policy level, the efficiency of the health and social service system at home should be enhanced and the care management system should be established. At the operational level, local services should be developed by creating qualified long-term care teams, and increasing supporting service for families and care tool alternatives. At the family level, the recommendation are seeking knowledge on elderly care and enhancing family members to participate in elderly care. The action research on integrated and proper community care should be conducted and proper indicators should be set.en_US
dc.identifier.callnoWT31 ศ293ต 2552en_US
dc.identifier.contactno51-022en_US
.custom.citationศศิพัฒน์ ยอดเพชร, เล็ก สมบัติ, ปรียานุช โชคธนวณิชย์ and ธนิกานต์ ศักดาพร. "ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดีของครอบครัวและชุมชนชนบทไทย." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2736">http://hdl.handle.net/11228/2736</a>.
.custom.total_download1154
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year6

Fulltext
Icon
Name: hs1593.pdf
Size: 4.292Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record