dc.contributor.author | กัลยา ตีระวัฒนานนท์ | en_US |
dc.contributor.author | รักมณี บุตรชน | en_US |
dc.contributor.author | ชนิดา เลิศพิทักษ์พงศ์ | en_US |
dc.contributor.author | ธีระ ศิริสมุด | en_US |
dc.contributor.author | ปฤษฐพร กิ่งแก้ว | en_US |
dc.contributor.author | ขวัญใจ วงศ์กิตติรักษ์ | en_US |
dc.contributor.author | อุษา ฉายเกล็ดแก้ว | en_US |
dc.contributor.author | ยศ ตีระวัฒนานนท์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2010-01-15T08:18:28Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-15T08:22:35Z | |
dc.date.available | 2010-01-15T08:18:28Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-15T08:22:35Z | |
dc.date.issued | 2552-09 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2859 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้าถึงการผ่าตัดต้อกระจกและปัจจัยที่มีผลต่อการผ่าตัดต้อกระจกในผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการข้าราชการและสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ (1) ข้อมูลผู้ป่วยในที่มีสิทธิสวัสดิการข้าราชการและสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นำมาจากสำนักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) และ (2) ข้อมูลของผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการการผ่าตัดต้อกระจก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นอกจากนั้นการศึกษานี้ยังประเมินความคุ้มค่าของการผ่าตัดต้อกระจกโดยใส่เลนส์แก้วตาเทียมชนิดนิ่มเปรียบเทียบกับชนิดแข็งในประเทศไทยโดยใช้แบบจำลอง decision tree จากมุมมองของผู้ให้บริการ
จากผลการศึกษาด้านการประเมินการเข้าถึงการผ่าตัดต้อกระจก พบว่า ผู้ป่วยต้อกระจกในประเทศไทยมีแนวโน้มได้รับการผ่าตัดเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า นอกจากนี้ผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าส่วนใหญ่ (ร้อยละ 96.9) ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกในจังหวัดที่มีสิทธิการรักษา มีเพียงส่วนน้อยที่ได้รับการผ่าตัดที่จังหวัดอื่น จังหวัดที่มีขนาดใหญ่จะมีอัตราการผ่าตัดมากกว่า และจังหวัดที่มีจำนวนจักษุแพทย์เพิ่มขึ้น 1 คน จะมีอัตราการผ่าตัดต้อกระจกมากขึ้นถึง 52 เท่า นอกจากนี้จากผลการศึกษาด้านปัจจัยที่มีผลต่อการผ่าตัดต้อกระจก ผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการข้าราชการมีโอกาสได้รับการใส่เลนส์แก้วตาเทียมชนิดนิ่มมากกว่าผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าถึง 22 เท่า ผู้ป่วยที่ใส่เลนส์แข็งมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่าเลนส์นิ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยหรือโรงพยาบาลเอกชนมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่าโรงพยาบาลทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการศึกษาด้านการประเมินความคุ้มค่าของการผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียมชนิดนิ่มเปรียบเทียบกับชนิดแข็ง พบว่า หากระบบประกันสุขภาพมีค่าความเต็มใจจ่ายสำหรับการลงทุนด้านสุขภาพน้อยกว่า 200,000 บาทต่อปีสุขภาวะ การผ่าตัดใส่เลนส์นิ่มจะไม่มีความคุ้มค่า เมื่อเปรียบเทียบกับการตัดสินใจในอดีตที่ผ่านมาของคณะอนุกรรมการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์และระบบบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่มีแนวโน้มจะไม่ลงทุนสำหรับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ให้ค่าอัตราส่วนต้นทุนอรรถประโยชน์ที่มีค่ามากกว่า 200,000 บาทต่อปีสุขภาวะ การศึกษานี้จึงให้ผลสอดคล้องกับนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่ผ่านมาของ สปสช. ที่สนับสนุนการผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์ชนิดแข็ง อย่างไรก็ตามหากค่าความเต็มใจจ่ายต่อปีสุขภาวะของ สปสช. มีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตคือมีค่ามากขึ้นก็ยังพบว่าโอกาสที่การผ่าตัดใส่เลนส์นิ่มจะมีความคุ้มค่ามากกว่าการผ่าตัดใส่เลนส์แข็งมีไม่มากนัก
นอกจากนี้ทีมวิจัยยังได้ทำการสำรวจราคาเลนส์แก้วตาเทียมชนิดนิ่มและแข็งเพื่อนำมาใช้คำนวณงบประมาณที่สามารถประหยัดได้ตามสถานการณ์ที่สมมติขึ้น หากมีการเบิกจ่ายค่าเลนส์นิ่มและเลนส์แข็งเท่ากับราคาค่าเฉลี่ยที่สำรวจได้ พบว่า ในผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการข้าราชการ รัฐบาลจะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ปีละประมาณ 55 ล้านบาท และถ้าให้เบิกจ่ายได้เท่าราคาเลนส์แข็งที่สำรวจได้เหมือนกันหมดทั้งสองสิทธิประกันสุขภาพ จะลดค่าใช้จ่ายได้ปีละ 140 ล้านบาท ดังนั้นหากหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าเลนส์แก้วตาเทียมสามารถกำหนดราคาเลนส์ที่จะเบิกได้อย่างเหมาะสมจะช่วยให้ประหยัดงบประมาณไปได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งงบประมาณดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในงานสาธารณสุขด้านอื่นที่จำเป็นได้มากขึ้นด้วย
จากผลการศึกษาทั้งหมด สามารถสรุปข้อเสนอแนะเชิงนโยบายได้ดังนี้ (1) รัฐบาลควรมีการกระจายทุนฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางด้านจักษุให้แก่จังหวัดที่ยังขาดแคลน (2) จากผลการวิจัยชี้ว่าเลนส์แข็งมีความคุ้มค่ากว่า ดังนั้นการเบิกจ่ายค่าเลนส์แก้วตาเทียมของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติซึ่งมีการเบิกจ่ายค่าเลนส์ในราคาของเลนส์แข็งจึงมีความเหมาะสมแล้ว (3) ควรให้ความรู้ที่ถูกต้องกับประชาชนเกี่ยวกับเลนส์แข็งและเลนส์นิ่ม เนื่องจากอาจจะมีการจูงใจจากผู้ให้บริการให้จ่ายเงินเพิ่ม (4) จากการสำรวจครั้งนี้พบว่า ราคาเลนส์ถูกกว่าราคาที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกรมบัญชีกลางให้เบิกไว้ค่อนข้างมาก ในกรณีเลนส์แข็งราคาลดลงได้ถึง 4 เท่าตัว กรณีเลนส์นิ่มราคาลดลงได้เกือบครึ่งหนึ่ง จึงควรมีการทบทวนราคาเลนส์ที่เบิกจ่ายในอนาคต | en_US |
dc.description.sponsorship | สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย | en_US |
dc.format.extent | 848537 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ | en_US |
dc.publisher | สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย | en_US |
dc.rights | สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย | en_US |
dc.subject | เศรษฐศาสตร์ทางการแพทย์ | en_US |
dc.title | ความคุ้มค่าของการผ่าตัดต้อกระจกโดยใส่เลนส์แก้วตาเทียมชนิดนิ่มเปรียบเทียบกับชนิดแข็งในบริบทของประเทศไทย | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study aimed to evaluate the access to cataract surgery as well as the factors associated with cataract surgery between patients under Civil Servant Medical Benefit scheme (CSMBS) and those under Universal Coverage scheme (UC) using the data containing (1) the CSMBS and UC inpatient data during January 1, 2003 and December 31, 2007 obtained from the Central office for Healthcare Information (CHI) and (2) data of patients participating in the cataract surgery project, the National Health Security Office (NHSO). Moreover, this study also assessed the cost-effectiveness analysis of cataract surgery using a foldable compared to a rigid intraocular lens in Thailand using decion tree model based on healthcare provider’s perspective.
Based on the results regarding the access to cataract surgery, it was shown that patients with cataract in Thailand especially those under UC increasingly received cataract surgery every year. In addition, most UC patients (96.9%) performed cataract surgery in the provinces where they had UC eligibility and the rest had cataract surgery in other provinces. Large provinces had higher cataract surgery rate and the provinces where there were one more ophthalmalogist would have cataract surgery rate 52 times higher. Furthermore, based on the factors associated with cataract surgery, patients under CSMBS were 22 times more likely to be performed cataract surgery using foldable intraocular lens compared to those under UC. The patients with rigid intraocular lens had significantly more complications than those with foldable intraocular lens. In addition, patients being performed cataract surgery at teaching hospitals or private hospitals had significantly higher complications than general hospitals.
The cost-effectiveness results of cataract surgery using a foldable intraocular lens compared with a rigid intraocular lens showed that if third party payers had willingness to pay (WTP) less than 200,000 Baht per quality adjusted life year (QALY), using foldable intraocular lens would not be cost-effective. When comparing to the previous decisions made by the subcommittee of the development of benefit package and service system, NHSO, they tended to not invest on the health technology which incremental cost-effectiveness ratio greater than 200,000 Baht. The result of this study is in accordance with the NHSO policy and practice guideline which has supported the cataract surgery using a rigid intraocular lens. However, if WTP per QALY is changed or increased in the future, there will be a little probability that cataract surgery using a foldable intraocular lens is more cost-effective compared to a rigid intraocular lens.
In addition, our research team also surveyed the prices of foldable and rigid intraocular lens in order to calculate how much saving would be based on assumed scenarios. If the reimbursement amount for foldable and rigid intraocular lens equal to the surveyed prices, the government would have cost-saving of 55 million Baht. Moreover, If the reimbursement amount equal to the surveyed price of rigid intraocular lens, both CSMBS and UC schemes would have cost-saving of 144 million Baht. Therefore, if the organizations responsible for reimbursement amount could determine the appropriate reimbursement amount of intraocular lens, it would help saving a huge budget which could be allocated to other necessary healthcare services.
Based on all study results, policy recommendations are summarized as follows. First, the government should allocate the budget for special training on ophthalmology especially in the provinces where lack ophthalmologists. Second, our results indicated that using rigid intraocular lens was more cost-effective, so that the reimbursement amount equal to the price of rigid lens would be appropriate. Third, patients should be correctly educated on using rigid and foldable intraocular lens, since they might be persuaded by healthcare providers to pay more. Lastly, the price of intraocular lens based on the survey was much more inexpensive than that of NHSO and the Comptroller General’s Department. The price of rigid intraocular lens could be decreased by four times, and that of foldable lens could be reduced by 50%. Therefore, the reimbursement amount on the prices of both rigid and foldable intraocular lens should be reviewed and revised in the future. | en_US |
dc.subject.keyword | แก้วตาเทียม | en_US |
dc.subject.keyword | ต้อกระจก | en_US |
.custom.citation | กัลยา ตีระวัฒนานนท์, รักมณี บุตรชน, ชนิดา เลิศพิทักษ์พงศ์, ธีระ ศิริสมุด, ปฤษฐพร กิ่งแก้ว, ขวัญใจ วงศ์กิตติรักษ์, อุษา ฉายเกล็ดแก้ว and ยศ ตีระวัฒนานนท์. "ความคุ้มค่าของการผ่าตัดต้อกระจกโดยใส่เลนส์แก้วตาเทียมชนิดนิ่มเปรียบเทียบกับชนิดแข็งในบริบทของประเทศไทย." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2859">http://hdl.handle.net/11228/2859</a>. | |
.custom.total_download | 2351 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 11 | |
.custom.downloaded_this_year | 187 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 27 | |