แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาลหน่วยบริหารจัดการงานวิจัยในระบบสุขภาพ

dc.contributor.authorเดชรัต สุขกำเนิดen_US
dc.date.accessioned2010-01-29T03:48:56Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:24:03Z
dc.date.available2010-01-29T03:48:56Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:24:03Z
dc.date.issued2552-10en_US
dc.identifier.otherhs1646en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2880en_US
dc.description.abstractการดำเนินโครงการพัฒนาดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาลหน่วยบริหารจัดการงานวิจัยในระบบสุขภาพ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและเครือข่าย เพื่อส่งเสริมให้การดำเนินงานบริหารจัดการงานวิจัยให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ เป็นการสร้างเครื่องมือในการพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรให้มีหลักการบริหารจัดการที่ดี เพื่อพัฒนาองค์กรไปสู่ความยั่งยืน และก้าวไกล โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดกรอบการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล พัฒนาดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาล และศึกษาความเหมาะสม และปัญหาอุปสรรคของดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาลที่พัฒนาขึ้น ตลอดจนเป็นการวางแนวทางในการจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นสำหรับใช้ในการวัดประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล ของหน่วยบริหารจัดการงานวิจัยในระบบสุขภาพ การดำเนินงาน เริ่มจากศึกษาทบทวนทฤษฎี แนวคิด และผลงานศึกษาวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลและดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาลสำหรับหน่วยงานบริหารจัดการงานวิจัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง และผู้บริหารหน่วยบริหารจัดการงานวิจัย และเจ้าหน้าที่ ทำการวิเคราะห์ข้อมูล สร้างและทอดแบบสอบถาม ทดลองใช้ร่างดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาลกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และปรับปรุงแก้ไขดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาลให้มีความเหมาะสม จากการศึกษา “ธรรมาภิบาล” (Good Governance) หมายถึง “กระบวนการที่ดีและเป็นธรรม ซึ่งองค์กรต่างๆ ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคประชาสังคม ในการกำหนดทิศทางของตนเอง” ซึ่งมีนัยยะที่เป็น “กระบวนการที่จะแปรเปลี่ยนความตั้งใจอันดีงามร่วมกัน (collective moral intentions) ไปสู่การปฏิบัติการทางสถาบันที่มีประสิทธิผลและมีความพร้อมรับผิด (effective and accountable institutional actions)” ผลการศึกษาทำให้ได้กรอบแนวคิดที่สำคัญในการพัฒนาตัวชี้วัดของสวรส. 2 ประการคือ 1)การยึดหลักการธรรมาภิบาล ใน 6 ประการที่สำคัญคือ หลักนิติรัฐ หลักความโปร่งใส หลักความคุ้มค่า หลักการมีส่วนร่วม หลักคุณภาพ และหลักความพร้อมรับผิด และ 2)นำหลัก 6 ประการดังกล่าวมาใช้ในขั้นตอนการจัดการวิจัยของสวรส. โดยจะมีการแบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 5 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนกำหนดนโยบาย ขั้นตอนการวางแผนจัดการงานวิจัย ขั้นตอนการระดมและการจัดสรรทรัพยากร ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย และขั้นตอนการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ทำให้ได้ตัวชี้วัดทั้งสิ้น 30 ตัวชี้วัด และสามารถนำมาประเมินผลภาพรวมตามหลักธรรมาภิบาลในลักษณะของ composite index ได้ 6 ดัชนี ตามหลักธรรมาภิบาล ผลการประเมินธรรมาภิบาลของสวรส. โดยภาพรวม พบว่า ผลการประเมินธรรมาภิบาลของสวรส. อยู่ในระดับสูง โดยผลการประเมินพบว่า ขั้นตอนการระดมและจัดสรรทรัพยากรมีผลการประเมินอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาคือ การวางแผนจัดการวิจัย ส่วนขั้นตอนการกำหนดนโยบาย การใช้ประโยชน์จากงานวิจัย และการดำเนินการวิจัย มีค่าอยู่ในระดับปานกลางen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent2019537 bytesen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาลหน่วยบริหารจัดการงานวิจัยในระบบสุขภาพen_US
dc.title.alternativeGovernance Index for Health Systems Research Management Unitsen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeAs a part of developing the research management system in Health Systems Research Institute (HSRI) and its alliances, the project of developing good governance index as a tool for research administration in health system is initiated to promote various research projects to be managed transparently, efficiently, and accountability. The operation of this project will be an empowerment tool which provides good governance practices to reform organizational management system, leading to sustainability and future breakthrough. Objectives of this project are 1) to define the framework of monitoring and evaluating the project administration in accordance with good governance practices 2) to develop good governance index 3) to study the appropriateness of the developed index, issues, and barriers for index perceived 4) to set a guideline to gather essential data for project performance evaluation which is based on good governance principle of research management team in health system. The process of this project begins with 1) reviewing theories, concepts, and research reports related to good governance practices and its index both domestically and internationally 2) interviewing experts from related disciplines, and research managements 3) developing and testing questionnaire and then analyzing data 4) using the drafted good governance index to conduct internal pilot test with HSRI 5) reviewing index and modifying it to be more suitably. According to study, Good Governance means “the good and fair process which diverse organizations including private and public sector, government, and civil society apply to set their own direction. It is regarded as a process to change collective moral intentions to effective and accountable institutional actions” The result of this study has indicated that two crucial conceptual frameworks of index development has emerged and they are comprised of 1) conforming to six good governance practices including Rule of Law, Transparency, Worthiness, Participation, Quality, Accountability and 2) applying six good governance practices to five steps of the research management process including the process of defining a policy, planning of research management, gathering and allocating resources, operating research, and utilizing research. Shown in this study are total thirty indices which are collapsed into six composite indices to evaluate holistic picture of good governance practices in research management process. The outcome of evaluating Health Systems Research Institute (HSRI)’s good governance practices has been depicted that overall in the organizational level HSRI has high good governance practices. When considered in the perspective of five research management process, the process of gathering and allocating resources gains the highest level of engaging good governance practices and is followed by the process of planning the research management as a second. Other research management processes are evaluated that their involvement in good governance practices are in the middle level.en_US
dc.identifier.callnoWA540.JT3 ด837ด 2552en_US
dc.identifier.contactno51-091en_US
dc.subject.keywordธรรมาภิบาลen_US
dc.subject.keywordความเป็นธรรมen_US
dc.subject.keywordระบบสุขภาพen_US
dc.subject.keywordดัชนีชี้วัดen_US
dc.subject.keywordGovernance Indexen_US
.custom.citationเดชรัต สุขกำเนิด. "ดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาลหน่วยบริหารจัดการงานวิจัยในระบบสุขภาพ." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2880">http://hdl.handle.net/11228/2880</a>.
.custom.total_download98
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1646.pdf
ขนาด: 2.054Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย