Show simple item record

การสร้างเสริมสุขภาพสำหรับพนักงานโรงงานและคนงานก่อสร้าง : บทบาทของการตลาดเพื่อสังคม

dc.contributor.authorจอมขวัญ โยธาสมุทรen_US
dc.contributor.authorเชิญขวัญ ภุชฌงค์en_US
dc.contributor.authorทรงยศ พิลาสันต์en_US
dc.contributor.authorศรีเพ็ญ ตันติเวสสen_US
dc.contributor.authorยศ ตีระวัฒนานนท์en_US
dc.contributor.authorศิริญญา ธีระอนันต์ชัยen_US
dc.contributor.authorรุ่งนภา คำผางen_US
dc.contributor.authorรักมณี บุตรชนen_US
dc.contributor.authorกัลยา ตีระวัฒนานนท์en_US
dc.date.accessioned2010-09-10T03:01:34Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-15T08:41:35Z
dc.date.available2010-09-10T03:01:34Zen_US
dc.date.available2557-04-15T08:41:35Z
dc.date.issued2553-08en_US
dc.identifier.otherhs1700en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2981en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ในกลุ่มพนักงานโรงงานและคนงานก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพทั้งในระดับบุคคลและชุมชนรวมถึงมาตรการสร้างเสริมสุขภาพที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนามาตรการเหล่านั้นและ/หรือสร้างมาตรการใหม่โดยใช้แนวคิดการตลาดเพื่อสังคม การศึกษานี้มิได้เป็นการประเมินมาตรการสร้างเสริมสุขภาพโดยการตลาดเพื่อสังคม การศึกษานี้เริ่มต้นด้วยการศึกษาเชิงคุณภาพโดยทีมวิจัยเข้าไปอาศัยอยู่ในชุมชนเพื่อทำความรู้จักและเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลพื้นฐาน วิถีชีวิตของคนในชุมชน รวมถึงพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงที่พบ จากนั้นจึงสำรวจเชิงปริมาณในประเด็นที่สนใจและได้นำเสนอข้อค้นพบทั้งหมดแก่ตัวแทนกลุ่มต่างๆ ในชุมชน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล หาคำอธิบายข้อค้นพบและรายงานผลการศึกษาเพื่อให้ชุมชนนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคต พบว่าประชากรกลุ่มพนักงานโรงงานและคนงานก่อสร้างถึงแม้จะมีข้อจำกัดในด้านกำลังซื้อและเวลา เพราะมีรายได้น้อยและต้องทำงานหนัก แต่กลับมีความสะดวกสบายและแรงจูงใจในการเข้าถึงสินค้าที่ทำลายสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ ดังนั้นการออกแบบมาตรการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับประชากรกลุ่มนี้จะต้องเข้าใจบริบทและค้นหาช่องทางในการลดความสะดวกและแรงจูงใจในการเข้าถึงสินค้าที่ทำลายสุขภาพเหล่านั้น การสร้างเสริมสุขภาพที่เป็นมาตรการทางกฎหมาย เช่น กำหนดเวลาซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การกำหนดอายุผู้ซื้อบุหรี่ มักด้อยประสิทธิผลโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประชากรกลุ่มพนักงานโรงงานและคนงานก่อสร้าง จึงมีผู้แนะนำให้เพิ่มการบังคับใช้กฎหมาย แต่การศึกษาวิจัยนี้บ่งชี้ว่าการใช้หลักการตลาดเพื่อสังคมเพื่อสื่อสารให้ประชากรกลุ่มนี้เข้าใจสาระและวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของมาตรการเหล่านั้นเป็นสิ่งจำเป็น การเลือกข้อมูลเพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายผ่านการตลาดเพื่อสังคมนั้นก็มีความสำคัญที่ต้องเลือกข้อมูลที่สอดคล้องกับความรู้และทัศนคติที่มีอยู่มีอิธิพลต่อการรับรู้ของประชากรกลุ่มนั้นๆ เช่น หากข้อมูลใหม่ไม่สอดคล้องกับทัศนคติเดิมอาจทำให้เกิดการปฏิเสธข้อมูลใหม่เหล่านั้น ในทางตรงข้ามหากข้อมูลใหม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับทัศนคติเดิมของกลุ่มเป้าหมายก็จะง่ายต่อการรับรู้และเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการทำความเข้าในวิธีคิด ความเชื่อและทัศนคติเดิมของประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความสำคัญยิ่งต่อการสื่อสารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ผู้วิจัยเสนอว่าควรใช้การตลาดเพื่อสังคมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระดับที่ไม่ยากและมีต้นทุนในการเปลี่ยนแปลงต่ำ เช่น การเสนอให้งดสูบบุหรี่ในที่สาธารณะนั้นหรือละเว้นการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบางช่วงเวลา ทำให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ง่ายและเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ก่อนที่จะก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระดับที่ยากขึ้น เช่น เลิกบุหรี่หรือสุรา ประสิทธิผลของมาตรการตลาดเพื่อสังคมที่ชักจูงใจให้กลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพขึ้นกับปัจจัยภายในที่เกี่ยวข้องกับมาตรการ ได้แก่ ภาษาและแรงจูงใจ (เช่น แรงกดดันจากคนรอบข้าง) การปรับตัวของกลุ่มเป้าหมายทั้งในเชิงบวกและเชิงลบและปัจจัยภายนอก เช่น ความกลัวและการแพร่ระบาดของโรคปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้นจึงต้องมีการประเมินผลเพื่อติดตามประสิทธิผลของมาตรการตลาดเพื่อสังคมอยู่เป็นระยะเพื่อปรับปรุงมาตรการให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัต การนำการตลาดเพื่อสังคมไปประยุกต์ใช้นั้น ผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะตามขั้นตอนและประเด็นสำคัญที่พึงตระหนักในการนำไปสู่ภาคปฏิบัติ ได้แก่ การศึกษากลุ่มเป้าหมายรวมถึงทำความเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย การตอบสนองของกลุ่มเป้าหมายตามทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การพัฒนาทดสอบมาตรการและการนำมาตรการที่พัฒนาไปใช้จริงและขั้นสุดท้ายได้แก่การประเมินผล นอกจากนั้นผู้วิจัยเสนอยังเสนอประเด็นสำคัญที่ผู้กำหนดมาตรการสร้างเสริมสุขภาพโดยการตลาดเพื่อสังคมควรคำนึงถึงคือ ปัจจัยภายนอกซึ่งมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายเช่นกัน สสส.และหน่วยงานอื่นๆ ในภาครัฐและประชาสังคมได้ลงทุนจำนวนมากไปกับมาตรการการตลาดเพื่อสังคม อย่างไรก็ตามกลับพบว่ามีงานวิจัยจำนวนน้อยมากที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของมาตรการตลาดเชิงสังคมอย่างเป็นรูปธรรมที่มีการวัดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ผู้วิจัยเสนอให้ผู้สนใจทำการศึกษาประสิทธิผลของมาตรการตลาดเชิงสังคมอย่างเป็นระบบซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับมาตรการสร้างเสริมสุขภาพโดยวิธีการตลาดเพื่อสังคมซึ่งมีศักยภาพสำหรับการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent3978995 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพen_US
dc.rightsโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับพนักงานโรงงานและคนงานก่อสร้าง : บทบาทของการตลาดเพื่อสังคมen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeThis study aims to explore risk factors and risk behaviours that factory and construction workers are facing at both individual and community levels as well as to examine existing health promotion interventions. These information are consequently used for constructing useful recommendations for the development of existing and new interventions by employing ‘social marketing’ principles; it is not designed for social marketing interventions evaluation. Research team was assigned to embed in the purposively selected factory and construction workers communities to collect qualitative data, namely lifestyles, social value, as well as risk behaviours and risk factors. Afterward a cross-sectional survey was implemented basing on first set of data obtained from qualitative investigations. Finally the data from both methods were analysed and presented to the communities’ representatives in focus group discussions. This is to verify and explore crucial explanations underpinning the findings, moreover it was expected that these findings would be beneficial to the people in the communities. It was found that although factory and construction workers had a number of constraints in terms of purchasing power and time because they received relatively low payments with high workloads, they were offered with convenience and motivation to access to unhealthy products e.g. alcohol drinks and tobacco. Therefore in order to develop health promotion interventions that are suitable for these groups, health promoters need to understand the context and be able to seek for ways to increase burdens to access to those products. It can be observed that legal interventions i.e. restriction on alcohol-selling time and restriction on age of tobacco buyers did not perform efficiently, especially in factory and construction workers; thus, commonly-known recommendation is that strengthening law enforcement is the key factor for the legal interventions to be succeeded. On the contrary, this study pointed that the use of social marketing principles to communicate with the target group regarding the true purposes and relevant facts of the interventions. Selection of information to be communicated with the target group is also very crucial that health promoters select information that is suitable for and relevant to knowledge, social values, and attitudes that influence the target population. For instance, if a provision of new information is not fit well with their attitudes, this can lead to a denial of adopting the new information. Conversely, if the new information is compatible with their attitudes, it is likely that the target group will easily understand and adopt the healthy message for their behaviour changes. Therefore to understand way of thinking, belief, and attitudes of the studied population is very essential for health promotion communication.It is recommended that social marketing should initially be applied for promoting behaviours that are easy to change and require low costs for the changes e.g. limiting smoking areas (rather than asking them to quit smoking) or stop drinking in certain period of time (rather than asking them to suddenly stop drinking). This is to offer reachable targets to the population and once they can achieve such a goal, they would be proud of themselves and believe in their abilities, and this will help them to step up to reach more difficult goals e.g. stop smoking or drinking. It is widely accepted that effectiveness of social marketing interventions in persuading target population to adopt health message to change their behaviours depends on internal factors which are the use of language and level of motivations (e.g. peer or social pressures) in the interventions and the positive and negative responses of the target group. Moreover external factor, e.g. fear of disease pandemic, or economic factors also play important roles. As a result, a continual monitoring and evaluation of the intervention for its improvement can make interventions well-run and able to keep pace with dynamic changes of both internal and external factors. In order to apply the principles of social marketing in practices, key points that health promoters should employed are (1) to conduct formative study of the target population on their behaviours including their responses to the interventions, (2) to develop, test, and then implement the interventions, and (3) to monitor and evaluate the implemented interventions. In addition it is recommended that health promoters should be aware of external factors which are very influential to behaviour changes of target population. The Thai Health Promotion Foundation, governmental bodies and NGOs have been investing large amount of funding in social marketing interventions. However, it was found that there are limited numbers of literatures available on the effectiveness including an estimation of impacts of social marketing interventions. The authors therefore suggested that further studies on this area should be conducted in systematic manner as it would enhance an acceptance and use of social marketing principles, which is proved to be able to tackle public health problems at national level.en_US
dc.identifier.callnoWA540 จ195ก 2553en_US
dc.identifier.contactno52-048en_US
dc.subject.keywordการสร้างเสริมสุขภาพen_US
.custom.citationจอมขวัญ โยธาสมุทร, เชิญขวัญ ภุชฌงค์, ทรงยศ พิลาสันต์, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส, ยศ ตีระวัฒนานนท์, ศิริญญา ธีระอนันต์ชัย, รุ่งนภา คำผาง, รักมณี บุตรชน and กัลยา ตีระวัฒนานนท์. "การสร้างเสริมสุขภาพสำหรับพนักงานโรงงานและคนงานก่อสร้าง : บทบาทของการตลาดเพื่อสังคม." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2981">http://hdl.handle.net/11228/2981</a>.
.custom.total_download6709
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month20
.custom.downloaded_this_year611
.custom.downloaded_fiscal_year50

Fulltext
Icon
Name: hs1700.pdf
Size: 5.719Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record