แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ประสบการณ์ต่างแดน ระบบชดเชยความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข

dc.contributor.authorลือชัย ศรีเงินยวงen_US
dc.contributor.authorนฤพงศ์ ภักดีen_US
dc.contributor.authorจิราพร ชมศรีen_US
dc.contributor.authorจเร วิชาไทยen_US
dc.contributor.editorพงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุขen_US
dc.coverage.spatialอังกฤษen_US
dc.coverage.spatialนิวซีแลนด์en_US
dc.coverage.spatialออสเตรเลียen_US
dc.coverage.spatialสวีเดนen_US
dc.coverage.spatialสหรัฐอเมริกาen_US
dc.coverage.spatialแคนาดาen_US
dc.date.accessioned2010-10-12T08:04:09Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T17:02:28Z
dc.date.available2010-10-12T08:04:09Zen_US
dc.date.available2557-04-16T17:02:28Z
dc.date.issued2553-10en_US
dc.identifier.isbn9789742991500en_US
dc.identifier.otherhs1728en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3031en_US
dc.description.abstractหลังเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในช่วงเดือนพฤษภาคม 2553 ประเด็นที่สังคมให้ความสนใจอีกประเด็นหนึ่งคือ การเคลื่อนไหวคัดค้านของแพทย์และกลุ่มวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุขต่อร่างกฎหมาย “คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข” เนื่องจากร่างกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และเตรียมเสนอให้รัฐสภาพิจารณาเพื่อประกาศใช้บังคับต่อไป ร่างกฎหมายดังกล่าวพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2549 และคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการและเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาในปี 2550 โดยใช้เวลาพิจารณานานเกือบ 1 ปี โดยความเห็นแตกต่างระหว่างผู้เกี่ยวข้องคือ กลุ่มผู้ป่วยและภาคประชาสังคมและกลุ่มแพทย์นั้นมีมาตลอดขั้นตอนกระบวนการต่างๆสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เข้าไปเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งดังกล่าว เนื่องจาก สวรส. เป็นผู้จัดการความรู้ให้เกิดการยกร่างกฎหมายดังกล่าวขึ้น โดยมีการนำความรู้ที่ได้จากการทบทวนประสบการณ์จากต่างประเทศและการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นปัจจัยนำเข้าสำคัญ ทั้งนี้ตระหนักดีถึงความเห็นแตกต่างและความขัดแย้งของผู้คนที่เกี่ยวข้อง แต่ก็คาดหวังว่าด้วยความรู้และข้อมูลประจักษ์ต่างๆ จะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจและความเห็นร่วมของทุกฝ่าย และนำไปสู่การพัฒนาระบบสุขภาพในภาพรวมต่อไป หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้ที่ได้จากการทบทวนประสบการณ์ประเทศต่างๆ ในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล และเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยนำเข้าประกอบการพัฒนาร่างกฎหมายดังกล่าว การทบทวนความรู้และประสบการณ์ดังกล่าว ส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งดูแลการดำเนินงานตามมาตรา 41 ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ซึ่งให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นกับผู้ป่วยบัตรทองที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการ และประสบการณ์การดำเนินงานตามมาตรา 41 เป็นอีกส่วนหนึ่งของบทเรียนสำคัญในการยกร่างกฎหมายดังกล่าวขึ้น สวรส. หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจพื้นฐานของความคิดในประเด็นต่างๆ ซึ่งกำลังเป็นที่ถกเถียงกันมากขึ้น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความเห็นที่แตกต่างนี้จะไม่นำไปสู่ความขัดแย้งและความแตกแยกทางสังคมเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นกรณีของความขัดแย้งทางการเมืองth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectผู้ป่วย, สิทธิen_US
dc.subjectการบริการด้านสุขภาพen_US
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleประสบการณ์ต่างแดน ระบบชดเชยความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขen_US
dc.typeDocumenten_US
dc.identifier.callnoW85 ล517ป 2553en_US
dc.subject.keywordผู้เสียหายen_US
dc.subject.keywordระบบชดเชยen_US
.custom.citationลือชัย ศรีเงินยวง, นฤพงศ์ ภักดี, จิราพร ชมศรี and จเร วิชาไทย. "ประสบการณ์ต่างแดน ระบบชดเชยความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3031">http://hdl.handle.net/11228/3031</a>.
.custom.total_download207
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year5

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1728.pdf
ขนาด: 14.59Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย