Show simple item record

ทำอะไร อย่างไร ในการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกครั้งที่ 58

dc.contributor.authorวลัยพร พัชรนฤมลen_US
dc.date.accessioned2008-10-02T07:20:26Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-15T08:55:22Z
dc.date.available2008-10-02T07:20:26Zen_US
dc.date.available2557-04-15T08:55:22Z
dc.date.issued2549en_US
dc.identifier.citationวารสารวิชาการสาธารณสุข 15,4(2549) : 649-657en_US
dc.identifier.issn0858-4923en_US
dc.identifier.otherDMJ76en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/320en_US
dc.description.abstractองค์การอนามัยโลกจัดให้มีการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกขึ้นทุกๆปี ละ 1 ครั้ง ผลลัพธ์ของการประชุมคือ การจัดทำข้อตกลงด้านสุขภาพอย่างเป็นทางการ การประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกประจำปี พ.ศ. 2548 เป็นการประชุมครั้งที่ 58 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 16-25 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 มีการจัดทำข้อตกลงได้สำเร็จและประกาศอย่างเป็นทางการรวมทั้งสิ้น 34 ฉบับ กระบวนการพิจารณาให้ได้มาซึ่งข้อตกลงนั้นอยู่ภายใต้ธรรมนูญขององค์การอนามัยโลก โดยต้องเป็นการตกลงอย่างเป็นเอกฉันท์ของประเทศสมาชิกจำนวน 192 ประเทศ ความยากง่าย รวมทั้งระยะเวลาในการจัดทำข้อตกลงแต่ละฉบับไม่เหมือนกัน ขึ้นกับความคิดเห็นของประเทศสมาชิกต่อข้อตกลงฉบับนั้น กระบวนการจัดทำข้อตกลงมีตั้งแต่การแก้ไขอย่างง่าย รวดเร็ว ไปจนกระทั่งการขอแก้ไขด้วยคณะทำงานและใช้เวลานาน การทำงานของทีมนักวิชาการไทยที่เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสองประการ ประการที่หนึ่ง การมุ่งมั่นสร้างผลงานให้ประเทสไทยเป็นที่ยอมรับในเวทีวิชาการระดับสากล และประการที่สอง การพัฒนาศักยภาพนักวิชาการไทย ซึ่งทีมงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งสองข้อในระดับหนึ่ง การทำงานต้องเริ่มตั้งแต่การจัดทีม การเตรียมความพร้อมของทีมในด้านวิชาการ การปฏิบัติงานจริงที่ต้องให้ความสำคัญทั้งงานด้านวิชาการและการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อทีมงานด้วยกันเอง และต่อผู้ร่วมประชุมจากประเทศต่างๆ การปฏิบัติงานของประเทศในแต่ละภูมิภาคมีข้อแตกต่างกัน เช่น การเสนอข้อคิดเห็นและการสนับสนุนกันและกันของประเทศในกลุ่มแอฟริกัน ซึ่งแตกต่างอย่างมากกับกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสุดท้ายการสรุปรายงานต่อผู้บริหาร ทีมงานนักวิชาการที่ปฏิบัติงานในการประชุมครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นทีมงานที่มีประสบการณ์การร่วมประชุมนานาชาติ และการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกมาก่อน อีกส่วนเป็นนักวิชาการใหม่ คำถามที่ท้าทายคือ จะมีการพัฒนาด้านการบริหารจัดการและด้านวิชาการต่อไปอย่างไร ความต่อเนื่องและความยั่งยืนของงานควรเป็นอย่างไร ควรมีการสร้างเครือข่ายให้มีนักวิชาการของหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยเฉพาะหรือไม่ อย่างไร ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข หรือนักวิชาการกลุ่มนี้ หรือใครควรเป็นผู้ตอบคำถามเหล่านี้en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.rightsสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.subjectองค์การอนามัยโลกen_US
dc.titleทำอะไร อย่างไร ในการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกครั้งที่ 58en_US
dc.typeArticleen_US
dc.subject.keywordการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกen_US
.custom.citationวลัยพร พัชรนฤมล. "ทำอะไร อย่างไร ในการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกครั้งที่ 58." 2549. <a href="http://hdl.handle.net/11228/320">http://hdl.handle.net/11228/320</a>.
.custom.total_download729
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month7
.custom.downloaded_this_year19
.custom.downloaded_fiscal_year30

Fulltext
Icon
Name: 2006_DMJ76_ทำอะไร.pdf
Size: 141.4Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record