กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนระบบสุขภาพในประเทศบราซิล สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร : บทเรียนสำหรับการจัดทำธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ
dc.contributor.author | ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ | en_US |
dc.contributor.author | หทัยชนก สุมาลี | en_US |
dc.contributor.author | ลลิดา เขตต์กุฎี | en_US |
dc.contributor.author | เยาวลักษณ์ จิตตะโคตร์ | en_US |
dc.contributor.author | วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร | en_US |
dc.coverage.spatial | บราซิล | en_US |
dc.coverage.spatial | สหรัฐอเมริกา | en_US |
dc.coverage.spatial | สหราชอาณาจักร | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-10-02T07:27:33Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-15T08:55:35Z | |
dc.date.available | 2008-10-02T07:27:33Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-15T08:55:35Z | |
dc.date.issued | 2551 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2,2 (2551) : 206-225 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.other | DMJ95 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/328 | en_US |
dc.description.abstract | พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ เป็นกฎหมายแม่บทด้านสุขภาพ มุ่งหวังเพื่อให้เป็นเครื่องมือของทุกฝ่ายในสังคมใช้ร่วมกัน โดยวางกลไกยุทธศาสตร์เพื่อเปิดทางให้ทุกฝ่ายในสังคม เป็นเจ้าของ ดูแลรับผิดชอบร่วมกัน และกำหนดให้ตราธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติขึ้นเพื่อให้ทุกฝ่ายใช้อ้างอิง ใช้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนสังคม และให้ปรับปรุงธรรมนูญทุก ๕ ปี การศึกษานี้ เป็นการทบทวนเอกสาร เพื่อถอดบทเรียนจากประเทศบราซิล สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ที่เกี่ยวกับ การจัดทำแนวนโยบายและยุทธ์ศาสตร์เพื่อการขับเคลื่อนระบบสุขภาพ, วิวัฒนาการและบริบท, กระบวนการขับเคลื่อนระบบสุขภาพ โดยมุ่งวิเคราะห์ตัวอย่างของเอกสารที่อาจเทียบเคียงได้กับธรรมนูญสุขภาพ ในประเด็น ขอบเขตและสาระสำคัญของเนื้อหาในเอกสาร, กระบวนการจัดทำเอกสาร และบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบดังนี้ - วิวัฒนาการการปฏิรูประบบสุขภาพในบราซิล และอังกฤษ เริ่มมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีแนวคิดการสร้างหลักประกันทางสังคมให้กับคนทำงานก่อน ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นการให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal coverage) ซึ่งมีฐานคิดในเรื่อง “สุขภาพเป็นสิทธิ” ในขณะที่ประเทศสหรัฐยังโต้เถียงในแนวคิดนี้อยู่ ในปัจจุบัน กรอบแนวคิดเรื่องสุขภาพของบราซิล ยังจำกัดอยู่ในเรื่องการพัฒนาระบบบริการสุขภาพและระบบสาธารณสุขพื้นฐาน ในขณะที่ประเทศไทยมองไปถึงการจัดการปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มากระทบต่อสุขภาพแล้ว ส่วนสหรัฐก็ได้ปฏิรูปในส่วนของการจัดวางระบบสาธารณสุขเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันด้านสุขภาพให้กับคนในชาติด้วยการจัดการที่ระดับมลรัฐและท้องถิ่น ส่วนประเทศอังกฤษพัฒนาให้มี Primary care trusts ดูแลงานสุขภาพแบบบูรณาการ ในท้องถิ่น โดยดูทั้งบริการสุขภาพส่วนบุคคล และงานสาธารณสุขทั่วไป และมองการแก้ปัญหาเชื่อมโยงกับงานด้านที่อยู่อาศัย การจ้างงาน และการศึกษาด้วย -ประสบการณ์ของต่างประเทศ อาทิ ประเทศบราซิล ใช้รัฐธรรมนูญ เป็นกรอบแนวทางในการกำหนดระบบสุขภาพ (ตั้งแต่ปีพ.ศ.2531) และมีการใส่เนื้อหาของการปฏิรูปที่ต้องการให้มีผลบังคับใช้ ในรัฐธรรมนูญที่ปรับปรุงใหม่ทุกครั้งด้วย ส่วนประเทศสหรัฐ กระจายอำนาจให้กับมลรัฐดูแลงานสาธารณสุข ไม่พบ national overarching framework แต่ความคิดริเริ่มในการปฏิรูประบบสาธารณสุขที่ระดับมลรัฐ ในโครงการ Turning Point ได้กระตุ้นให้หลายมลรัฐได้ทำแผนสุขภาพของมลรัฐ ทีเป็น Overarching Public Health Framework และทำกฎหมายแม่แบบด้านการสาธารณสุขระดับมลรัฐ ที่ทันสมัยด้วย ส่วนประเทศอังกฤษ มี Public Health Act ฉบับแรกตั้งแต่ปีพ.ศ.2418 และกำหนดให้ท้องถิ่นมีบทบาทด้านการสาธารณสุขตั้งแต่นั้นมา ซึ่งพูดถึงการควบคุมความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมด้วย แต่การปรับปรุงกฎหมายได้พัฒนาเป็นเรื่องๆ ไป เช่นพบว่ามีเรื่องการควบคุมการสูบบุหรี่อยู่ใน Health Act 2006 แต่ไม่พบว่ามี overarching statutory framework แต่รัฐบาลอังกฤษ ตั้งแต่สมัยของ Margaret Thatcher จัดทำแผนสุขภาพที่บูรณาการเพื่อลดโรค (พ.ศ.2535) เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และพัฒนาเรื่อยมา จนเป็นแผนที่3 ที่เน้นการมีส่วนร่วมของบุคคลและชุมชน “Our Health, Our Care, Our Say” จัดทำขึ้นในปีพ.ศ.2549 | en_US |
dc.format.extent | 365851 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ | en_US |
dc.rights | สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ | en_US |
dc.subject | ระบบสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ | en_US |
dc.title | กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนระบบสุขภาพในประเทศบราซิล สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร : บทเรียนสำหรับการจัดทำธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.subject.keyword | นโยบายและยุทธศาสตร์ | en_US |
dc.subject.keyword | บราซิล | en_US |
dc.subject.keyword | สหรัฐอเมริกา | en_US |
dc.subject.keyword | สหราชอาณาจักร | en_US |
.custom.citation | ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์, หทัยชนก สุมาลี, ลลิดา เขตต์กุฎี, เยาวลักษณ์ จิตตะโคตร์ and วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. "กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนระบบสุขภาพในประเทศบราซิล สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร : บทเรียนสำหรับการจัดทำธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/328">http://hdl.handle.net/11228/328</a>. | |
.custom.total_download | 1457 | |
.custom.downloaded_today | 1 | |
.custom.downloaded_this_month | 4 | |
.custom.downloaded_this_year | 138 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 17 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ [161]
International Health Policy Program Foundation (IHPP)