คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของโรงพยาบาลในประเทศไทยยุคของการปฏิรูประบบสุขภาพ
dc.contributor.author | อารยา ศรีไพโรจน์ | en_US |
dc.contributor.author | วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร | en_US |
dc.contributor.author | ปราณี เลี่ยมพุธทอง | en_US |
dc.contributor.other | School of Public Health, Faculty of Health Sciences, La trobe University, Australia | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-10-02T07:28:13Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-15T08:55:36Z | |
dc.date.available | 2008-10-02T07:28:13Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-15T08:55:36Z | |
dc.date.issued | 2548 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิชาการสาธารณสุข 14,1(2548) : 119-128 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-4923 | en_US |
dc.identifier.other | DMJ60 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/329 | en_US |
dc.description.abstract | เพื่อให้การบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลแต่ละแห่งของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขมีประสิทธิได้มีการกำหนดให้บริหารในรูปคณะกรรมการที่ชื่อ “คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด” มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๐ และก็ยังมีการดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะค้นหาบริบทและปัญหาการดำเนินการของคณะกรรมการชุดนี้ในปัจจุบันซึ่งอยู่ในช่วงของการปฏิรูประบบสุขภาพและสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินการสำหรับคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด โดยใช้วิธีการสำรวจภาคสนามสองวิธีคือ วิธีเคราะห์เชิงเอกสารและวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก ในโรงพยาบาลตัวอย่างใน ๔ ภาคของประเทศไทย จำนวน ๑๗ แห่ง ช่วงกลางเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ถึงกลางเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๔๖ พบว่าคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของโรงพยาบาลในแต่ละแห่งมีบทบาทหน้าที่หลักเหมือนกัน คือมีการประชุมคัดเลือกยาเข้าและออกจากบัญชีของโรงพยาบาลในปัจจุบันคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปต้องการชะลอการนำเสนอยาใหม่ที่มีราคาแพงเข้าโรงพยาบาล กรณีของโรงพยาบาลชุมชน สาเหตุที่คณะกรรมการเภสัชกรรมและบำบัดไม่ค่อยมีการประชุมเนื่องจากมีการนำปัญหาต่างๆ เข้าไปพูดคุยในคณะกรรมการบริหารซึ่งมีการประชุมทุกเดือน ปัญหาที่พบส่วนใหญ่โดยเฉพาะในโรงพยาบาลชุมชนคือการที่แพทย์มักจะทำงานที่โรงพยาบาลชุมชนในช่วงเวลาสั้นเพียง ๑-๒ ปี จากนั้นก็จะย้ายหรือลาศึกษาต่อ ในส่วนของตัวชี้วัดการดำเนินการสำหรับคณะกรรมการชุดนี้ ได้มีข้อเสนอให้มีการกำหนดตัวชี้วัดสำหรับโรงพยาบาลแต่ละระดับ โดนมีการกำหนดตัวชี้วัดต้องขึ้นอยู่กับเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ ตัวชี้วัดอาจจะเป็นจำนวนครั้งของการประชุม จำนวนรายการยาตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 492584 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ | en_US |
dc.rights | สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ | en_US |
dc.subject | โรงพยาบาล | en_US |
dc.title | คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของโรงพยาบาลในประเทศไทยยุคของการปฏิรูประบบสุขภาพ | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.subject.keyword | คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด | en_US |
.custom.citation | อารยา ศรีไพโรจน์, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร and ปราณี เลี่ยมพุธทอง. "คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของโรงพยาบาลในประเทศไทยยุคของการปฏิรูประบบสุขภาพ." 2548. <a href="http://hdl.handle.net/11228/329">http://hdl.handle.net/11228/329</a>. | |
.custom.total_download | 2068 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 31 | |
.custom.downloaded_this_year | 271 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 80 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ [161]
International Health Policy Program Foundation (IHPP)