อนามัยและสวัสดิการของคนไทยหลังหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตอนที่ 2 เรื่อง รายจ่ายด้านของคนไทยก่อนและหลังมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
dc.contributor.author | จิตปราณี วาศวิท | en_US |
dc.contributor.author | กัญจนา ติษยาธิคม | en_US |
dc.contributor.author | วลัยพร พัชรนฤมล | en_US |
dc.contributor.author | กุลลักษณ์ เลิศภัทรพงษ์ | en_US |
dc.contributor.author | วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-10-02T07:28:47Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-15T08:55:36Z | |
dc.date.available | 2008-10-02T07:28:47Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-15T08:55:36Z | |
dc.date.issued | 2548 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิชาการสาธารณสุข 14,2(2548) : 317-325 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-4923 | en_US |
dc.identifier.other | DMJ61 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/330 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินภาพรวมสัมฤทธิ์ผลของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในด้านภาระรายจ่ายสุขภาพของประชาชนไทยทั้งประเทศ โดยเปรียบเทียบในช่วงก่อนและหลังมีสิทธิประโยชน์นี้และผลที่มีต่อผู้มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในด้านการประหยัดรายจ่ายด้านสุขภาพ ในการวิเคราะห์ใช้ฐานข้อมูล การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งครอบคลุมช่วงก่อนและช่วงหลังมีหลักประกันสุขภาพใน พ.ศ. ๒๕๔๕ ประกอบกับฐานข้อมูลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งเป็นครัวเรือนตัวอย่างในระดับประเทศ ผลการศึกษาแสดงว่าช่องว่างความไม่เสมอภาคของรายจ่ายครัวเรือนคิดเป็นร้อยละของรายได้ครัวเรือนในกลุ่มยากจนที่สุดและรวยที่สุด ลดลงตามลำดับ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๕, ๒๕๓๗, ๒๕๓๙, ๒๕๔๑ และ ๒๕๔๓ ตามลำดับ เนื่องจากนโยบายรัฐบาลในการขยายการครอบคลุมของหลักประกันที่มีอยู่ เช่น โครงการสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย โครงการหลักประกันสุขภาพโดยความสมัครใจ และการขยายโครงการประกันสังคมไปยังสถานประกอบการขนาดเล็ก โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้ความแตกต่างในด้านภาระรายจ่ายสุขภาพของครัวเรือนลดลงอย่างต่อเนื่องและมากที่สุด โดยความแตกต่างของสัดส่วนรายจ่ายด้านสุขภาพต่อรายได้ของครัวเรือนกลุ่มยากจนที่สุด (เดไซล์ที่๑) กับครัวเรือนกลุ่มร่ำรวยที่สุด (เดไซล์ ๑๐) ลดลงอย่างมากใน พ.ศ.๒๕๔๕ เมื่อเทียบกับช่วงก่อน พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งเป็นช่วงก่อนมีนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยเฉพาะกลุ่มเดไซล์ที่ ๑-๔ มากกว่ากลุ่มครัวเรือนที่รวย การวิเคราะห์โดยอาศัยฐานความคิดว่าใครได้ใครเสียประโยชน์จากโครงการฯ กลุ่มผู้ที่ไม่มีหลักประกันใดๆ เป็นผู้เสียประโยชน์จากโครงการฯ กลุ่มผู้ถือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งก่อนหน้านี้ไม่มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าใดๆ แต่ในพ.ศ. ๒๕๔๖ มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งมีประมาณ ๑๕ ล้านคน เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการฯ ประมาณการว่าสามารถลดภาวะรายจ่ายสุขภาพของประชากรกลุ่มนี้ลงถึง ๑๐,๖๓๔ ล้านบาทและหากผู้ถือบัตรทุกคนใช้สิทธิในบัตรทุกครั้งแล้วจะลดภาระรายจ่ายสุขภาพลงได้เป็นจำนวน ๑๒,๗๒๖ ล้านบาท ผู้บริหารโครงการฯ ควรหามาตรการให้ประชากรที่ยังไม่มีหลักประกันได้รับสิทธิ์ และศึกษาถึงสาเหตุที่ผู้ถือบัตรไม่ใช้สิทธิประโยชน์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำมาประกอบการกำหนดนโยบายด้านการสนับสนุนการบริการต่อไป | en_US |
dc.format.extent | 159595 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ | en_US |
dc.rights | สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ | en_US |
dc.subject | หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า | en_US |
dc.title | อนามัยและสวัสดิการของคนไทยหลังหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตอนที่ 2 เรื่อง รายจ่ายด้านของคนไทยก่อนและหลังมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.subject.keyword | ความแตกต่างรายจ่ายสุขภาพ | en_US |
dc.subject.keyword | กลุ่มเดไซล์ของครัวเรือน | en_US |
.custom.citation | จิตปราณี วาศวิท, กัญจนา ติษยาธิคม, วลัยพร พัชรนฤมล, กุลลักษณ์ เลิศภัทรพงษ์ and วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. "อนามัยและสวัสดิการของคนไทยหลังหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตอนที่ 2 เรื่อง รายจ่ายด้านของคนไทยก่อนและหลังมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า." 2548. <a href="http://hdl.handle.net/11228/330">http://hdl.handle.net/11228/330</a>. | |
.custom.total_download | 799 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 2 | |
.custom.downloaded_this_year | 111 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 19 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ [161]
International Health Policy Program Foundation (IHPP)