Show simple item record

การจัดการทางการแพทย์ในการรับมือเหตุรุนแรงจากความไม่สงบทางการเมืองในวันที่ 29 สิงหาคม และ 2 กันยายน 2551

dc.contributor.authorกัมพล อำนวยพัฒนพลen_US
dc.contributor.authorอารักษ์ วิบุลผลประเสริฐen_US
dc.contributor.authorพงศกร อธิกเศวตพฤทธิ์en_US
dc.date.accessioned2011-10-06T01:26:55Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:20:14Z
dc.date.available2011-10-06T01:26:55Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:20:14Z
dc.date.issued2551en_US
dc.identifier.otherhs1869en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3348en_US
dc.description.abstractในอดีต ประเทศไทยมีเหตุภัยพิบัติเกิดขึ้นหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติทาง ภัยจากน้ำมือมนุษย์ และโดยเฉพาะภัยพิบัติที่เกิดจากการเมือง (Civil disaster) ที่แม้จะเกิดขึ้นหลายครั้งแต่ก็ยังส่งผลให้ความสูญเสียมากมาย การตอบสนองทางการแพทย์ยังไม่ได้มีการวางแผน ซ้อมแผนอย่างเป็นระบบ เหตุการณ์ในวันที่ 29 สิงหาคม และ 2 กันยายน 2551 เป็นอีกเหตุการณ์ของความรุนแรงทางการเมือง ที่ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต การศึกษาระบบการจัดการทางการแพทย์ในทั้งสองเหตุการณ์นี้จึงจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการวางแผนรับมือเหตุรุนแรงในอนาคต วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระบบการจัดการทางการแพทย์ ในเหตุการณ์วันที่ 29 และ 2 กันยายน 2551 รวมทั้งความพร้อมเของเจ้าหน้าทีเวชกิจฉุกเฉินในการออกปฏิบัติหน้าที่ แบบแผนการศึกษา การศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study) และ After Action Review (AAR) ผลการศึกษา วันที่ 29 สิงหาคม 2551 เจ้าหน้าที่ตำรวจปะทะกลุ่มผู้ชุมนุม ผู้ป่วย รวม 63 ราย มีการกระจายของผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียง มีการใช้แก๊สน้ำตาร่วมด้วย วันที่ 1 กันยายน 2551 มีการจัดประชุมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการรับมือ วันที่ 2 กันยายน 2551 เกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมสองฝ่าย บริเวณถนนราชดำเนินนอก มีผู้บาดเจ็บ 44 คน เสียชีวิต 1 คนมีกระจายผู้ป่วยไปยังหลายโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้เคียงมากขึ้น จากเหตุการณ์ทั้งวันที่ 29 สิงหาคม พบว่าระบบการแพทย์ฉุกเฉินในส่วนของ ระบบการสั่งการกลาง ระบบการสั่งการ ณ จุดเกิดเหตุ การประสานงาน การติดต่อสื่อสารและการเก็บบันทึกข้อมูล ยังไม่มีความชัดเจน เหตุการณ์ในวันที่ 2 กันยายน ระบบการสั่งการกลางยังไม่มีความชัดเจน แต่มีการพัฒนาองค์ประกอบอื่นๆ ทางการแพทย์ฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องขึ้นเป็นอย่างมาก โดยมีศูนย์เอราวัณเป็นศูนย์ติดต่อและประสานงานหลัก จากแบบสอบถาม จำนวน 19 คน เจ้าหน้าที่ทุกคนทราบลักษณะของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และทราบโรงพยาบาลปลายทางที่จะนำส่งผู้ป่วยได้ เจ้าหน้าที่ 6(31.6%) คน ทราบพื้นที่รับผิดชอบของตนก่อนออกปฏิบัติการ ก่อนการออกปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่มีมั่นใจในการรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อยู่ในระดับมากและมากที่สุดคิดเป็น 15.8% และ 36.8% ตามลำดับ รวมทั้งมีความมั่นใจต่อหน่วยงานของตนเองว่ามีความพร้อมในการรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวอยู่ในระดับมากและมากที่สุด คิดเป็น 52.6% และ 15.8% ตามลำดับ ขณะออกปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ 89.4% มีการวางแผนร่วมกับหน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน 63.1% มีการกำหนดผู้สั่งการ ณ จุดเกิดเหตุ และ 50% ทำการทำการคัดกรอง ณ จุดเกิดเหตุ นอกจากนี้ 50% ของเจ้าหน้าที่ได้รับการปนเปื้อนจากแก๊สน้ำตาและได้รับบาดเจ็บ ภายหลังการออกปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ 18(94.7%) เข้าร่วมการประเมินผลการทำงานภายในหน่วยงานและมี 16(84.2%) คนได้เข้าร่วมการประเมินผลการทำงานระหว่างหน่วยงาน การวิเคราะห์และวิจารณ์: ระบบการจัดการทางการแพทย์ในการรับมือเหตุรุนแรงจากความไม่สงบทางการเมืองได้มีการพัฒนาในระบบการบริหารจัดการในทางที่ดีขึ้นเนื่องจากมีการเรียนรู้ สรุป และกำหนดแผนจากเหตุที่เกิดขึ้น จึงเห็นได้ว่าในครั้งต่อมาของเหตุความไม่สงบมีระบบการจัดการทางการแพทย์ที่ดีขึ้นเรื่อยๆและสามารถแก้ไขปัญหาที่คาดว่าจะเกิดได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความร่วมมือของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่พร้อมจะแก้ไขสถานการณ์ให้เกิดความสงบขึ้น ทั้งนี้บุคคลากรทางการแพทย์ที่หน้าที่เกี่ยวข้องก็ต้องมีความเชี่ยวชาญและหมั่นฝึกฝนทักษะในการช่วยเหลือผู้ป่วยในที่เกิดเหตุ เพื่อให้เกิดความพร้อมที่จะรับมือกับภัยพิบัติต่างๆ ทั้งในด้านความรู้ ความชำนาญและสภาพจิตใจ อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการระบบการแพทย์ให้ได้ประสิทธิภาพนั้น มีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องแต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ ความร่วมมือของทุกฝ่ายในการวางแผนและพร้อมที่จะแก้ไขสถานการณ์ให้เกิดความสงบ สรุป: การศึกษาการจัดการทางการแพทย์ ในการรับมือเหตุรุนแรงจากความไม่สงบทางการเมือง ในวันที่ 29 สิงหาคม 2551 พบว่าระบบบริหารจัดการทางการแพทย์ไม่มีความชัดเจน ทั้งระบบการสั่งการกลาง ระบบการสั่งการที่จุดเกิดเหตุ การคัดแยกผู้ป่วยที่จุดเกิดเหตุ ระบบการสื่อสาร ทั้งนี้หลังจากเกิดเหตุมีการร่วมประชุมสรุปสถานการณ์และวางแผนรับมือ ทำให้เหตุการณ์ต่อมาในวันที่ 2 กันยายน 2551 ระบบบริหารจัดการทางการแพทย์ดีขึ้น มีการทำงานอย่างเป็นระบบและเป็นรูปแบบที่ชัดเจนมากขึ้น การกระจายตัวของผู้ป่วยดีขึ้น ในส่วนเจ้าหน้าที่เวชกิจฉุกเฉิน พบว่าส่วนมากมีความมั่นใจในการการปฏิบัติงาน มีการวางแผนและคัดกรองผู้ป่วยในที่เกิดเหตุก่อนนำส่งโรงพยาบาล หลังเกิดเหตุมีการสรุปประเมินการทำงานทั้งในและระหว่างองค์กรen_US
dc.description.sponsorshipแผนงานร่วมสร้างเสริมสุขภาพกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ผรส.)เพื่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)en_US
dc.format.extent715291 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติen_US
dc.rightsแผนงานร่วมสร้างเสริมสุขภาพกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ผรส.)เพื่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)en_US
dc.subjectบริการฉุกเฉินของโรงพยาบาลen_US
dc.subjectการฝึกซ้อมสาธารณภัยen_US
dc.subjectบริการพยาบาลฉุกเฉินen_US
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการจัดการทางการแพทย์ในการรับมือเหตุรุนแรงจากความไม่สงบทางการเมืองในวันที่ 29 สิงหาคม และ 2 กันยายน 2551en_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWX215 ก394ร 2551en_US
.custom.citationกัมพล อำนวยพัฒนพล, อารักษ์ วิบุลผลประเสริฐ and พงศกร อธิกเศวตพฤทธิ์. "การจัดการทางการแพทย์ในการรับมือเหตุรุนแรงจากความไม่สงบทางการเมืองในวันที่ 29 สิงหาคม และ 2 กันยายน 2551." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3348">http://hdl.handle.net/11228/3348</a>.
.custom.total_download43
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs1869.pdf
Size: 740.6Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record