Show simple item record

ชุดวิจัยการเงินการคลังระบบสุขภาพไทย: ตอนที่ 2 ความเป็นไปได้ของแหล่งการเงินต่างๆ ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

dc.contributor.authorวลัยพร พัชรนฤมลen_US
dc.contributor.authorจิตปราณี วาศวิทen_US
dc.contributor.authorกัญจนา ติษยาธิคมen_US
dc.contributor.authorวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรen_US
dc.date.accessioned2008-10-02T07:35:35Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-15T08:54:46Z
dc.date.available2008-10-02T07:35:35Zen_US
dc.date.available2557-04-15T08:54:46Z
dc.date.issued2549en_US
dc.identifier.citationวารสารวิชาการสาธารณสุข 15,1(2549) : 31-40en_US
dc.identifier.issn0858-4923en_US
dc.identifier.otherDMJ70en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/339en_US
dc.description.abstractแหล่งการเงินหลักของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปัจจุบันเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาลพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 39 กำหนดให้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมี 8 แหล่งเงิน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อดีและข้อจำกัดของเงินกองทุนจาก ๘ แหล่ง ในมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยการระดมสมองนักวิจัยในสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ และการสำรวจผู้สันทัดกรณีด้วยแบบสอบถามที่สร้างขึ้น โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้สันทัดกรณี ดำเนินการศึกษาในระหว่างเดือนมกราคม ถึงมีนาคม พ.ศ. 2547 การระดมสมองของนักวิจัยพบว่า มาตรา 39 (2) เงินจากองค์กรปกครองท้องถิ่น (3) เงินที่เก็บจากผู้ใช้บริการ และ (8) การเก็บเงินสมทบ มีศักยภาพในการเป็นแหล่งการเงินของกองทุนฯ ได้ แต่มีข้อจำกัดทำให้ยังไม่สามารถเป็นแหล่งเงินหลักระยะยาวของกองทุนฯ ได้ การสำรวจความคิดเห็นผู้สันทัดกรณีจำนวน 20 รายพบว่า ความเป็นไปได้ทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดต่อการตัดสินใจเลือกแหล่งเงินของกองทุนปัจจัยรอง ได้แก่ ความยั่งยืนของแหล่งการคลัง ความเป็นธรรมในสังคม ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ส่วนการยอมรับของสังคมเป็นประเด็นที่ได้รับความสำคัญน้อยที่สุด เมื่อใช้ค่าคะแนนความเป็นไปได้ (1 ถึง 5) ของแหล่งเงินต่าง ๆ และถ่วงน้ำหนักด้วยค่าความสำคัญของแต่ละประเด็น พบว่า การเพิ่มภาษีบุหรี่ สุรา และเบียร์เป็นแหล่งที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด เนื่องจากมีความเป็นไปได้ทางการเมืองสูง ได้รับการยอมรับทางสังคมสูง มีความยั่งยืนในการเป็นแหล่งเงินระยะยาว และสามารถดำเนินการได้ง่าย ในทางกลับกัน การเก็บเงินสมทบจากผู้มีสิทธิ์มีความเป็นไปได้น้อยที่สุด เนื่องจากการยอมรับของสังคมน้อย ความยุ่งยากในการดำเนินการจัดเก็บเงินสมทบ นอกจากนี้ยังพบว่าการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีความเป็นไปได้น้อยที่สุดในทางการเมืองและเป็นทางเลือกที่ไม่ดีที่สุดในด้านความเป็นธรรม แบบสอบถามที่ใช้ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่จากพื้นฐานความรู้ความเข้าใจการเงินการคลังระบบสุขภาพไทยกระบวนการตอบแบบสอบถามเลือกใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการที่ให้ข้อมูลแก่ผู้ตอบแบบสอบถามอย่างรอบด้านและมีปฏิสัมพันธ์กับนักวิจัย เพราะต้องทำความเข้าใจให้ตรงกัน จึงเป็นข้อจำกัดที่ทำให้ได้ตัวอย่างจำนวนจำกัด แต่เป็นนักวิชาการจากหลากหลายสถาบันทั้งองค์กรวิชาการและภาคปฏิบัติ ผลการศึกษาในครั้งนี้ให้ความรู้เชิงประจักษ์ในทางเลือกแหล่งการเงินของกองทุนฯ ซึ่งเป็นความรู้ใหม่เกี่ยวกับแหล่งการเงินในระบบสุขภาพไทย และยังเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการศึกษาแหล่งการคลังของกองทุนฯ ในระยะยาวต่อไปด้วยen_US
dc.format.extent214409 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.rightsสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.subjectหลักประกันสุขภาพแห่งชาติen_US
dc.titleชุดวิจัยการเงินการคลังระบบสุขภาพไทย: ตอนที่ 2 ความเป็นไปได้ของแหล่งการเงินต่างๆ ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติen_US
dc.typeArticleen_US
dc.subject.keywordแหล่งการเงินen_US
dc.subject.keywordกองทุนen_US
dc.subject.keywordภาษีเฉพาะเพื่อหลักประกันสุขภาพแห่งชาติen_US
.custom.citationวลัยพร พัชรนฤมล, จิตปราณี วาศวิท, กัญจนา ติษยาธิคม and วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. "ชุดวิจัยการเงินการคลังระบบสุขภาพไทย: ตอนที่ 2 ความเป็นไปได้ของแหล่งการเงินต่างๆ ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ." 2549. <a href="http://hdl.handle.net/11228/339">http://hdl.handle.net/11228/339</a>.
.custom.total_download732
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month8
.custom.downloaded_this_year32
.custom.downloaded_fiscal_year40

Fulltext
Icon
Name: 2006_DMJ70_ชุดวิจ ...
Size: 209.3Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record