ชุดวิจัยการเงินการคลังระบบสุขภาพไทย: ตอนที่ 3 การจ่ายร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: บทวิเคราะห์เชิงนโยบาย
dc.contributor.author | วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร | en_US |
dc.contributor.author | วลัยพร พัชรนฤมล | en_US |
dc.contributor.author | จิตปราณี วาศวิท | en_US |
dc.contributor.author | ภูษิต ประคองสาย | en_US |
dc.contributor.author | กัญจนา ติษยาธิคม | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-10-02T07:36:03Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-15T08:54:48Z | |
dc.date.available | 2008-10-02T07:36:03Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-15T08:54:48Z | |
dc.date.issued | 2549 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิชาการสาธารณสุข 15,1(2549) : 41-51 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-4923 | en_US |
dc.identifier.other | DMJ71 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/340 | en_US |
dc.description.abstract | การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเริ่มดำเนินการทั่วประเทศในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้กำหนดให้มีการจ่ายร่วมในการรักษาพยาบาลเป็นเงิน ๓๐ บาทต่อครั้ง ยกเว้นผู้ถือบัตรสวัสดิการรักษาพยาบาลสำหรับผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล (สปร.) ผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุข และเด็กอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ซึ่งควรพิจารณาว่าอัตรานี้เหมาะสมหรือไม่ทั้งในด้านเป็นแหล่งรายได้ของสถานพยาบาล และเป็นมาตรการที่มีประสิทธิผลในการป้องกันการใช้บริการที่เกินจำเป็นของผู้ป่วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานะทางเศรษฐกิจของผู้ถือบัตรทองทั้งประเภทที่ต้องจ่ายร่วมและได้รับการรักษาฟรี อัตราการใช้บริการรักษาพยาบาลของกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับบัตรทองประเภทที่ต้องจ่ายร่วม (ไม่มี ท.) และประมาณการรายได้จากการเรียกเก็บค่ารักษาครั้งละ ๓๐ บาทของผู้ที่ต้องจ่ายร่วม และเพื่อนำเสนอแนวทางเชิงนโยบายสำหรับการปฏิรูปการจ่ายร่วม โดยใช้ข้อมูลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นฐานข้อมูลหลักของการวิเคราะห์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ในช่วงเดือนเมษายน ถึงพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ในกลุ่มผู้ที่ได้รับการรักษาพยาบาลฟรีโดยไม่ต้องจ่ายร่วมนั้น ร้อยละ ๔ เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มคนรวยที่สุดจากทั้งหมด ๕ กลุ่ม และร้อยละ ๙ เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มคนรวยรองลงมา สำหรับผู้ถือบัตรทองประเภทที่ต้องมีการจ่ายร่วม ๓๐ บาทนั้น เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มคนจนที่สุดถึงร้อยละ ๒๙ และเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มคนจนร้อยละ ๒๕ เมื่อประมาณการรายรับจากการร่วมพบว่าเป็นจำนวนเงินไม่มากนัก เพียง ๑,๐๗๓ ล้านบาทใน พ.ศ. ๒๕๔๖ คิดเป็นร้อยละ ๑.๙ ของงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวทั้งหมด หากพิจารณาในด้านการเป็นมรตรการเพื่อป้องกันการมาใช้บริการที่เกินจำเป็นแล้ว เงื่อนไขนี้ไม่น่าจำเป็นสำหรับกรณีการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยในเนื่องจากต้องเป็นวินิจฉัยของแพทย์ในการรับเข้าเป็นผู้ป่วยใน การใช้บริการอย่างฟุ่มเฟือยกรณีผู้ป่วยในเป็นไปไม่ได้ ภายใต้การจ่ายเงินแบบเพดานงบประมาณและกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (global budget and DRG payment) อย่างไรก็ดี การจ่ายร่วมอาจจะยังคงจำเป็นสำหรับกรณีผู้ป่วยนอกเนื่องจากเป็นด่านแรกของการรักษาพยาบาล ไม่ว่าจะปฏิรูปการจ่ายร่วมไปในรูปแบบใด สิ่งที่ต้องดำเนินการก่อนอื่นคือ การประเมินและทบทวนการออกบัตรทองท้งประเภทมี ท. และไม่มี ท. เพื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด โดยกลุ่มที่ต้องจ่ายร่วม ไม่ควรจะมีผู้ที่อยู่ในกลุ่มยากจนที่สุดอยู่เลย การจ่ายร่วมไม่ใช่เครื่องมือในการสร้างแหล่งการคลังสุขภาพที่มีนัยสำคัญสำหรับการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เมื่อเทียบกับงบประมาณทั้งหมด ดังนั้นควรยกเลิกการจ่ายร่วมในกรณีผู้ป่วยใน เนื่องจากบริการผู้ป่วยในไม่น่ามีปัญหาการใช้บริการเกินจำเป็นและผู้ให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าก็ไม่มีสิ่งจูงใจให้ทำเช่นนั้น ท้ายที่สุด ควรยกเลิกการจ่ายร่วมในสถานพยาบาลระดับสถานีอนามัยทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้บริการในระดับปฐมภูมิ ในขณะเดียวกัน ควรศึกษาสถานการณ์การใช้บริการที่ฟุ่มเฟือยหรือเกินจำเป็นในกลุ่มผู้มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ถ้ามี มีมากน้อยเพียงใด ก่อนจะปรับเพิ่มอัตราการจ่ายร่วมในอนาคต | en_US |
dc.format.extent | 221855 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ | en_US |
dc.rights | สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ | en_US |
dc.subject | หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า | en_US |
dc.title | ชุดวิจัยการเงินการคลังระบบสุขภาพไทย: ตอนที่ 3 การจ่ายร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: บทวิเคราะห์เชิงนโยบาย | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.subject.keyword | การจ่ายร่วม | en_US |
dc.subject.keyword | การใช้บริการเกินจำเป็น | en_US |
.custom.citation | วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, วลัยพร พัชรนฤมล, จิตปราณี วาศวิท, ภูษิต ประคองสาย and กัญจนา ติษยาธิคม. "ชุดวิจัยการเงินการคลังระบบสุขภาพไทย: ตอนที่ 3 การจ่ายร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: บทวิเคราะห์เชิงนโยบาย." 2549. <a href="http://hdl.handle.net/11228/340">http://hdl.handle.net/11228/340</a>. | |
.custom.total_download | 1130 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 20 | |
.custom.downloaded_this_year | 213 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 117 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ [161]
International Health Policy Program Foundation (IHPP)