แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

บุหรี่และสุรา : ความแตกต่างของปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ระหว่างครัวเรือนไทยที่มีเศรษฐานะและระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน

dc.contributor.authorวิชัย โชควิวัฒนen_US
dc.contributor.authorสุพล ลิมวัฒนานนท์en_US
dc.contributor.authorกนิษฐา บุญธรรมเจริญen_US
dc.contributor.authorภูษิต ประคองสายen_US
dc.contributor.authorวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรen_US
dc.date.accessioned2008-10-02T07:46:33Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-15T08:56:05Z
dc.date.available2008-10-02T07:46:33Zen_US
dc.date.available2557-04-15T08:56:05Z
dc.date.issued2550en_US
dc.identifier.citationวารสารวิชาการสาธารณสุข 16,ฉบับเพิ่มเติม(2550) : s3-s19en_US
dc.identifier.issn0858-4923en_US
dc.identifier.otherDMJ87en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/348en_US
dc.description.abstractการศึกษาภาระโรคในประเทศไทยเปรียบเทียบระหว่าง พ.ศ. 2542 กับ 2547 พบว่าใน พ.ศ. 2547 ภาระโรคที่เกิดจากการบริโภคแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มมากขึ้น และเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับสอง และสาม รองจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มความชุกของการสูบบุหรี่และการดื่มสุราในประชากรไทยระหว่าง พ.ศ. 2544 – 2549 รวมทั้งรายจ่ายครัวเรือนเพื่อการบริโภคบุหรี่และสุรา เปรียบเทียบกับรายจ่ายเพื่อการรักษาพยาบาลและรายจ่ายโดยรวมทั้งหมดของครัวเรือน โดยจำแนกครัวเรือนตามฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ ระดับการศึกษา และควินไทล์ของรายรับ (income quintiles) ครอบคลุมตั้งแต่ยากจนที่สุด ยากจน ปานกลาง รวย และรวยที่สุด โดยวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการของครัวเรือน พ.ศ. 2544, 2546 และ 2549 และข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2545, 2547 และ 2549 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2550 ผลการศึกษาพบว่า ระดับการศึกษาของประชาชนมีความสัมพันธ์ผกผันกับความชุกของการสูบบุหรี่ และการบริโภคสุรา โดยผู้ที่มีการศึกษาน้อย (ระดับประถมศึกษาหรือไม่ได้เรียนหนังสือ) มีความชุกของการสูบบุหรี่และดื่มสุราสูงกว่าผู้มีการศึกษาสูง (วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย) ดัชนีความไม่เสมอภาคของความชุกการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา ระหว่างผู้ที่มีการศึกษาน้อยกับผู้ที่จบวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นระหว่าง พ.ศ.2544 – 2549 จำนวนประชากรที่ไม่ดื่มสุราใน พ.ศ. 2549 มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2544 ในทุกกลุ่มรายได้ และมีผู้ดื่มเป้นประจำมากขึ้น เนื่องจากผู้ที่ดื่มเป็นครั้งคราวได้กลายเป็นผู้ดื่มเป็นประจำ (อย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง) พบว่าคนจนมีความชุกของการสูบบุหรี่สูงกว่าคนรวย และความไม่เสมอภาคของความชุกของการสูบบุหรี่ระหว่างกลุ่มยากจนที่สุดกับกลุ่มร่ำรวยที่สุดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ครัวเรือนไทยมีรายจ่ายเพื่อการบริโภคสุราเฉลี่ยร้อยละ 6 – 7.5 ยาสูบร้อยละ 2 – 4 และเพื่อการรักษาพยาบาลร้อยละ 2 – 4 ของรายจ่ายครัวเรือนทั้งหมด โดยในภาพรวม รายจ่ายเพื่อสินค้าที่ทำลายสุขภาพสูงกว่ารายจ่ายเพื่อการรักษาพยาบาลไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 – 8 ของรายจ่ายทั้งหมดของครัวเรือน นโยบายรณรงค์เพื่อลดการบริโภคยาสูบอาจได้ผลค่อนข้างดีสำหรับผู้ที่มีการศึกษาสูงสุดและไม่ได้ผลสำหรับผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่การรณรงค์เพื่อควบคุมการบริโภคสุราอาจได้ผลค่อนข้างดีสำหรับผู้ที่มีการศึกษาสูงโดยเฉพาะในช่วง พ.ศ. 2549 และอาจไม่ได้ผลสำหรับผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าเนื่องจากความชุกการดื่มสุราเป็นประจำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง ควรพัฒนามาตรการที่มีประสิทธิผลต่อการลดการสูบบุหรี่และบริโภคสุราโดยเฉพาะในกลุ่มที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ ผู้มีการศึกษาและมีรายได้น้อย โดยมาตรการทั้งด้านอุปสงค์ เช่น รณรงค์ความตระหนักของผลเสียต่อสุขภาพ ครอบครัว และสังคม และมาตรการด้านอุปทาน โดยควบคุมการเข้าถึงบุหรี่และสุรา เช่น นโยบายภาษี การจำกัดอายุผู้บริโภคและสถานที่บริโภค มาตรการควบคุมการส่งเสริมการตลอดที่จูงใจการบริโภคในกลุ่มที่มีอายุน้อย ในขณะเดียวกันสำนักงานสถิติแห่งชาติและหน่วยงานวิจัย ควรพิจารณาพัฒนาข้อถามในแบบสำรวจการบริโภคสุรา เพื่อให้สะท้อนปริมาณการดื่มสุรา ได้แก่ ความชุกของประชากรที่ดื่มสุรา โดยเฉพาะการดื่มอย่างหนัก (binge drinking) ความถี่และปริมาณการดื่ม เพื่อสามารถคำนวณ ติดตามและประเมินปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์เฉลี่ยต่อหัวประชากรen_US
dc.format.extent1285122 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.rightsสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.subjectการสูบบุหรี่en_US
dc.titleบุหรี่และสุรา : ความแตกต่างของปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ระหว่างครัวเรือนไทยที่มีเศรษฐานะและระดับการศึกษาที่แตกต่างกันen_US
dc.typeArticleen_US
dc.subject.keywordความไม่เสมอภาคทางสุขภาพen_US
dc.subject.keywordปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพen_US
dc.subject.keywordการบริโภคสุราen_US
.custom.citationวิชัย โชควิวัฒน, สุพล ลิมวัฒนานนท์, กนิษฐา บุญธรรมเจริญ, ภูษิต ประคองสาย and วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. "บุหรี่และสุรา : ความแตกต่างของปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ระหว่างครัวเรือนไทยที่มีเศรษฐานะและระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/348">http://hdl.handle.net/11228/348</a>.
.custom.total_download1546
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month6
.custom.downloaded_this_year150
.custom.downloaded_fiscal_year16

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: 2007_DMJ87_บุหรี่ ...
ขนาด: 1.225Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย