แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนไทย พ ศ 2543-2546: ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

dc.contributor.authorธเรศ กรัษนัยรวิวงค์en_US
dc.contributor.authorเพ็ญแข ลาภยิ่งen_US
dc.contributor.authorศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจen_US
dc.contributor.authorสมหญิง สายธนูen_US
dc.contributor.authorศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์en_US
dc.contributor.authorวีระศักดิ์ พุทธาศรีen_US
dc.date.accessioned2008-10-02T07:54:21Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-15T08:56:07Z
dc.date.available2008-10-02T07:54:21Zen_US
dc.date.available2557-04-15T08:56:07Z
dc.date.issued2551en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2,2(2551) : 248-262en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.otherDMJ96en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/354en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนไทย โดยมีผลกระทบทางลบน้อยที่สุดต่อสาธารณสุขของประเทศ การศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ประกอบด้วยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา 2 ระยะ ระยะที่ 1 โดย 1) การทบทวนวรรณกรรมด้านพัฒนาการธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนและผลกระทบ, นโยบายรัฐบาลและการกำกับของหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ; 2) เก็บข้อมูลทรัพยากรและการบริการของโรงพยาบาลเอกชน โดยส่งแบบสอบถามถึงโรงพยาบาลเอกชนกลุ่มตัวอย่างในทุกภาค (แบ่งตามจำนวนเตียงเป็น 3 ระดับ คือ น้อยกว่า 50, 50-100 และมากกว่า 100 เตียง) ที่มีข้อมูลบริการในช่วง พ.ศ. 2543-2546 ซึ่งได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์ 56 แห่ง จากที่ส่งไป 60 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 93.33; 3) วิเคราะห์ข้อมูลการเงินของโรงพยาบาลเอกชนที่ตอบกลับ โดยใช้ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระยะที่ 2 การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ และจัดประชุมระดมสมอง 2 ครั้ง เมื่อเดือนตุลาคม 2548 ในประเด็นทิศทางและแนวโน้มของโรงพยาบาลเอกชน ผลกระทบ และมาตรการนโยบายที่เป็นไปได้ ข้อค้นพบสำคัญจากการศึกษาสรุปได้ดังนี้: การเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจนี้เกิดขึ้นใน 3 ทศวรรษที่ผ่านไป โดยสัมพันธ์ในทางเดียวกับภาวะเศรษฐกิจประเทศเกิดจากนโยบายรัฐที่ส่งสริมการลงทุนของเอกชน ผลประกอบการในช่วง พ.ศ. 2543-2546 พบว่ารายได้ของโรงพยาบาลในภูมิภาคมีแนวโน้มสูงขึ้น, โรงพยาบาลขนาดใหญ่มีอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้สูงกว่าขนาดเล็ก, โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครมีอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้สูงกว่าโรงพยาบาลขนาดเดียวกันในภูมิภาค ดังนั้น ควรมีมาตรการในการกำกับ 3 มิติ คือ ค่าบริการ, ปริมาณและการกระจายของบริการและคุณภาพบริการ การพัฒนาโครงสร้างของระบบกำกับดูแลควรเป็นการผนวกบทบาทในส่วนที่ทำงานร่วมกันได้ของคณะกรรมการต่างๆ ซึ่งมีโครงสร้างคณะกรรมการระดับชาติที่เกี่ยวกับสุขภาพอยู่หลายชุด ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สำนักงานประกันสังคมและอื่นๆ, แทนการพัฒนาโครงสร้างใหม่ การพัฒนาระบบกำกับควรค่อยเป็นค่อยไปโดยภาครัฐอาจเป็นผู้เริ่มแสวงหาความร่วมมือประสานกับองค์กรอื่นๆ ที่สำคัญควรเน้นความสำคัญที่การสื่อสารสาธารณะเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจของประชาชน ซึ่งจะเป็นผู้กระตุ้นโรงพยาบาลเอกชนที่สำคัญกว่าการบังคับใช้กฎหมายใดๆen_US
dc.format.extent235492 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.rightsสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.subjectโรงพยาบาลเอกชนen_US
dc.subjectข้อเสนอเชิงนโยบายen_US
dc.titleธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนไทย พ ศ 2543-2546: ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนen_US
dc.typeArticleen_US
.custom.citationธเรศ กรัษนัยรวิวงค์, เพ็ญแข ลาภยิ่ง, ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ, สมหญิง สายธนู, ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ and วีระศักดิ์ พุทธาศรี. "ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนไทย พ ศ 2543-2546: ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/354">http://hdl.handle.net/11228/354</a>.
.custom.total_download1016
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month4
.custom.downloaded_this_year104
.custom.downloaded_fiscal_year16

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: 2008_DMJ96_ธุรกิจ ...
ขนาด: 229.9Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย