Show simple item record

ความรู้พื้นฐานด้านการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุมโรค สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

dc.contributor.editorอุบลรัตน์ นฤพนร์จิรกุลen_US
dc.date.accessioned2012-09-10T09:07:22Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T17:03:15Z
dc.date.available2012-09-10T09:07:22Zen_US
dc.date.available2557-04-16T17:03:15Z
dc.date.issued2555-06en_US
dc.identifier.isbn9789742991845en_US
dc.identifier.otherhs1961en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3676en_US
dc.description.abstractกระทรวงสาธารณสุขรับนโยบายจากรัฐบาล เมื่อปี พ.ศ. 2552 ให้ปรับปรุงระบบบริการสุขภาพของภาครัฐทุกระดับให้ได้มาตรฐาน โดยยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เนื่องจากเป็นนโยบายที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยตรง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้สนับสนุนงบประมาณในการขับเคลื่อนนโยบายโดยผ่านโครงการแผนงานการสนับสนุนกลไกการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในการขับเคลื่อนนโยบายได้ใช้กลวิธีดำเนินการหลายทาง การสังเคราะห์และพัฒนาชุดความรู้หรือคู่มือการปฏิบัติงาน เป็นวิธีการหนึ่งในปีที่ผ่านมา จึงได้ผลิตคู่มือ จำนวน 5 เล่ม ได้แก่ การจัดการระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (กรณีเบาหวานและความดันโลหิตสูง) แนวทางการดูแลรักษาภาวะซึมเศร้าและผู้มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย แนวทางการดูแลสุขภาพวัยรุ่น ประสบการณ์การทำงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ และแนวปฏิบัติในการบริการผู้สูงอายุ ซึ่งได้แจกจ่ายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึงไปแล้วนั้น หนังสือเล่มนี้เป็นชุดความรู้ต่อเนื่องจากเดิม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล เขียนโดยผู้ปฏิบัติงานจากประสบการณ์ตรงที่ได้นำไปปฏิบัติและสังเคราะห์เป็นความรู้ที่สามารถปฏิบัติได้จริง และเป็นกำลังใจให้กับผู้ปฏิบัติงานซึ่งได้พัฒนาคุณภาพการทำงานอย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงการทำงานให้เปลี่ยนไปจากเดิม ปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ให้เป็นผู้จัดการสุขภาพ แทนที่จะต้องเป็นผู้ให้บริการเพียงอย่างเดียว ประชาชนมีการดูแลสุขภาพของตนเอง นอกจากนั้น ยังเป็นไปตามหลักการขั้นพื้นฐานของการมีสิทธิในการเข้าถึงการบริการสุขภาพของประชาชน ต่อมาเมื่อนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ในวันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2554 โดยได้มีนโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต ข้อ 4.3.1 การลงทุนด้านบริการสุขภาพ ที่ให้ความสำคัญต่อ “การพัฒนาสถานบริการปฐมภูมิในเขตเมืองและชนบทที่สมบูรณ์แบบทั่วประเทศ” นอกจากนี้นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยังได้เน้นย้ำความสำคัญของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โดยสนับสนุนให้มีการดูแลเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เน้นการให้การบริการเชิงรุก ส่งเสริมสุขภาพ ปรับลดพฤติกรรมเสี่ยง เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน สิ่งเหล่านี้ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานเบื้องต้นของประชาชน และในระยะยาวจะพัฒนาให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นอย่างยั่งยืน คู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล/ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องเป็นอย่างมากen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการป้องกันและควบคุมโรคen_US
dc.subjectการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.titleความรู้พื้นฐานด้านการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุมโรค สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลen_US
dc.typeDocumenten_US
dc.identifier.callnoWX150 อ833ค 2555en_US
dc.identifier.contactno54-008en_US
.custom.citation "ความรู้พื้นฐานด้านการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุมโรค สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล." 2555. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3676">http://hdl.handle.net/11228/3676</a>.
.custom.total_download512
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year7

Fulltext
Icon
Name: hs1961.pdf
Size: 2.218Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record