แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การสำรวจองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย: การปฏิรูปตลาดทุนกับการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

dc.contributor.advisorสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์th_TH
dc.contributor.advisorสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์th_TH
dc.contributor.advisorยุวดี คาดการณ์ไกลth_TH
dc.contributor.authorสฤณี อาชวานันทกุลth_TH
dc.date.accessioned2014-02-05T06:49:27Zth_TH
dc.date.accessioned2014-06-26T03:31:06Z
dc.date.available2014-02-05T06:49:27Zth_TH
dc.date.available2014-06-26T03:31:06Z
dc.date.issued2556th_TH
dc.identifier.isbn9786163290151th_TH
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3958th_TH
dc.description.abstractตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจถ้าปล่อยให้เลวร้ายลงเรื่อยๆ ได้พิสูจน์ ให้เห็นว่าเป็น ‘ปัญหา’ ที่คุกคามความอยู่ดีมีสุขของสังคม เนื่องจากสินทรัพย์อย่างเช่น หลักทรัพย์ และ ที่ดิน ทวีมูลค่าตามกาลเวลา ความเหลื่อมล้ำด้านทรัพย์สินจึงมักจะถ่างกว้างกว่าความเหลื่อมล้ำด้านรายได้หลายสิบเท่า ในประเทศไทย กลุ่มประชาชนที่รวยที่สุดร้อยละ 20 ของประเทศ มีทรัพย์สินเกือบ 70 เท่าของกลุ่มที่จนที่สุดร้อยละ 20 ของประเทศ นอกจากนี้เศรษฐีหุ้นไทย 500 คน ที่รวยที่สุด ถ้าคิดเป็นตระกูลมีประมาณ 200 ตระกูล ถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์รวมกันมีมูลค่าถึง 690,231 ล้านบาท ในปี 2553 คิดเป็นร้อยละ 8.3 ของมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ทั้งตลาดในปีเดียวกัน รายงานฉบับนี้สำรวจความเชื่อมโยงระหว่างตลาดทุนกับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจบางประการ ทั้งความเหลื่อมล้ำ ‘ภายนอก’ ตลาดทุน หมายถึง ความเหลื่อมล้ำระหว่าง ผู้เล่นในตลาดทุน กับ ผู้ที่อยู่นอกตลาด และ ความเหลื่อมล้ำ ‘ภายใน’ ตลาดทุน หมายถึง ความเหลื่อมล้ำระหว่าง ผู้เล่นที่มีข้อมูลภายใน และ ผู้เล่นที่ไม่มี ผู้เขียนรายงานฉบับนี้พบแนวโน้มที่ดีขึ้นบางประการ อาทิ กระแสการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ประกอบกับการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์ ส่งผลให้ต้นทุนการมีส่วนร่วมในตลาดทุนลดลง เอื้อต่อการขยายฐานนักลงทุนไปสู่ประชาชนในวงกว้างมากขึ้น บางประการมีส่วนซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำภายนอกตลาดทุน ยกตัวอย่างเช่น รัฐไทยไม่เคยเก็บภาษีผลได้จากทุน(capital gains tax) และยกเว้นภาษีเงินได้ให้กับธุรกรรมซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยอ้างตลอดมาว่าเพื่อส่งเสริมการออมและการลงทุนในตลาด ทั้งที่สามารถออกแบบระบบภาษีผลได้จากทุนให้ไม่กระทบกับนักลงทุนรายย่อย และการลงทุนในระยะยาวได้ นอกจากนี้วิธีให้สิทธิลดหย่อนภาษีจากการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ยังเป็นไปในทางที่เพิ่มความถดถอยให้กับระบบภาษี ในระดับของการบังคับใช้กฎหมายหลักทรัพย์ยังมีปัญหาเชิงโครงสร้างบางประการที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายในทางที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำภายในตลาดทุนเต็มไปด้วยอุปสรรค อย่างเช่น การที่ต้องพิสูจน์คดีการสร้างราคาหุ้นชนิด ‘สิ้นสงสัย’ ตามบรรทัดฐานของกฎหมายอาญา การที่โครงสร้างของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)ยังถูกครอบงำโดยบริษัทหลักทรัพย์ และการที่ ก.ล.ต. และตลท. ยังไม่บังคับใช้กฎการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารในตลาดทุนอย่างจริงจังและเท่าเทียมth_TH
dc.description.sponsorshipมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพth_TH
dc.format.extent917302 bytesth_TH
dc.format.mimetypeapplication/zipth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสำนักงานปฏิรูป (สปร.)th_TH
dc.rightsมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพth_TH
dc.subjectการปฏิรูปth_TH
dc.subjectความเหลื่อมล้ำth_TH
dc.subjectตลาดทุนth_TH
dc.titleการสำรวจองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย: การปฏิรูปตลาดทุนกับการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมth_TH
dc.typeDocumentth_TH
dc.subject.keywordความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจth_TH
.custom.citationสฤณี อาชวานันทกุล. "การสำรวจองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย: การปฏิรูปตลาดทุนกับการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3958">http://hdl.handle.net/11228/3958</a>.
.custom.total_download1284
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year114
.custom.downloaded_fiscal_year21

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: CapitalMarketRefo ...
ขนาด: 895.8Kb
รูปแบบ: application/zip
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย