Show simple item record

การบริหารจัดการระบบบริการทางการแพทย์กรณีฉุกเฉินตามนโยบายบริหารจัดการร่วมสามกองทุน

dc.contributor.authorสิรินาฏ นิภาพรth_TH
dc.contributor.authorอรวรรณ ประสิทธิ์ศิริผลth_TH
dc.contributor.authorThaworn Sakunphaniten_US
dc.contributor.authorถาวร สกุลพาณิชย์th_TH
dc.date.accessioned2014-10-15T08:20:19Z
dc.date.available2014-10-15T08:20:19Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.otherhs2139en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4213
dc.description.abstractการบริหารจัดการระบบบริการทางการแพทย์กรณีฉุกเฉินตามนโยบายบริหารจัดการร่วมสามกองทุน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินนโยบายและมาตรการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉินที่เข้ารับบริการโรงพยาบาลนอกระบบประกันสังคมตามนโยบายบริหารจัดการร่วมสามกองทุน สำรวจความคิดเห็นของผู้ประกันตนในการเข้ารับบริการทางการแพทย์กรณีอุบัติเหตุฉุกเฉินต่อการให้สิทธิแบบเดิม 72 ชั่วโมง และตามนโยบายบริหารจัดการร่วมสามกองทุน และเพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการร่วมในการบริการทางการแพทย์ กลไก ขั้นตอน และวิธีการเบิกจ่ายเงินผ่านหน่วยงานกลางของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีแพทย์ฉุกเฉิน ทำการศึกษาทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ด้วยการใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ดำเนินการระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ถึงธันวาคม 2556 ผลการประเมินนโยบาย และมาตรการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน กรณีอุบัติเหตุฉุกเฉินที่เข้ารับบริการโรงพยาบาลนอกระบบประกันสังคมตามนโยบายบริหารจัดการร่วมสามกองทุน พบว่า นโยบายนี้เป็นนโยบายที่สอดคล้องกับแนวคิดที่เป็นรากฐานของสังคม ซึ่งปรากฏในรัฐธรรมนูญและกฎหมายหลักหลายฉบับ การออกแบบวิธีการดำเนินการมีการออกแบบอย่างเป็นระบบจากกิจกรรมไปสู่ผลผลิต ผลลัพธ์ แต่มีอุปสรรคในการแปลงนโยบายบริหารจัดการร่วมสามกองทุนไปสู่การปฏิบัติทำให้ยังไม่บรรลุผลตามเป้าหมายที่ต้องการ จากปัจจัยความสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและนโยบายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การกำหนดภารกิจและการมอบหมายงาน ความสอดคล้องของทรัพยากรโดยเฉพาะราคาที่จ่ายชดเชยและความสับสนของผู้ปฏิบัติและผู้ประกันตน ผลจากการสัมภาษณ์ผู้ประกันตน พบว่า ยังมีผู้ประกันตนที่เข้ารับการรักษากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินภายใต้นโยบายบริหารจัดการร่วมสามกองทุนที่ต้องสำรองการเงินจ่ายก่อน ซึ่งเป็นผลให้เกิดภาระแก่ผู้ประกันตนและครอบครัว สำหรับความพึงพอใจต่อการใช้สิทธิกรณี 72 ชั่วโมงเดิมและกรณีบริหารจัดการร่วมสามกองทุนนั้น พบว่า มีความพอใจอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตาม หากเจ็บป่วยครั้งต่อไป ผู้ประกันตนส่วนใหญ่มีความประสงค์ที่จะเลือกใช้สิทธิฉุกเฉินร่วม 3 กองทุนมากกว่าการเลือกใช้สิทธิแบบเดิม 72 ชม. อาจเนื่องจากผู้ประกันตนฉุกเฉินไม่ต้องสำรองเงินจ่ายและจ่ายเงินส่วนเกินสำหรับกลไกและอัตราการจ่ายที่เหมาะสมนั้น การจ่ายด้วยกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) ยังเป็นวิธีการจ่ายที่เหมาะสมในสถานการณ์ปัจจุบันที่ยังไม่มีการกำกับราคาค่าบริการของโรงพยาบาลเอกชน วิธีการกำหนดอัตราค่าชดเชยชดเชยให้กับโรงพยาบาลเอกชนนั้น เสนออัตราจ่ายเท่ากับอัตราชดเชยโดยเฉลี่ยที่โรงเรียนแพทย์ได้รับจากกรมบัญชีกลาง คือ 17,662 บาทต่อหน่วยน้ำหนักสัมพัทธ์ ซึ่งประกอบด้วย ค่ารักษาพยาบาลจ่ายตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม 13,483 บาท ค่าแรง 2,379 บาท และค่าห้องค่าอาหารระยะเวลา 3 วัน 1,800 บาท ทั้งนี้ เป็นที่ยอมรับร่วมกันระหว่างคณะผู้วิจัยและกลุ่มโรงพยาบาลเอกชน ว่ามีความจำเป็นต้องปรับอัตราค่าชดเชยให้เหมาะสมในระยะเวลาต่อไปในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานประกันสังคม, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย เครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสำนักงานประกันสังคม, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์th_TH
dc.subjectการพยาบาลฉุกเฉินth_TH
dc.subjectMedical emergenciesen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการบริหารจัดการระบบบริการทางการแพทย์กรณีฉุกเฉินตามนโยบายบริหารจัดการร่วมสามกองทุนth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to evaluate Management of Medical Emergency Services under Integration Management Policy, survey the member of Social Security Scheme in term of their attitude between emergency medical service under Social Security (72 hrs.) and Management of Medical Emergency Services under Integration Management Policy, and work out appropriate payment method and reimbursement for eligible private hospitals that gave provision of care to medical emergency patients. Mix method, qualitative and quantitative were using for approach. In-depth interview were using for qualitative approach and questionnaire were using for quantitative approach. Policy evaluation found that for this policy follows ideology and the social justice of Thai society, which is clearly showed in Thai Constitution and other related Acts. System design in theory is well link systematically from input to process, output, and outcome. However, a lot of hurdles are found at the level policy deployment. Many factors are identified include clear assignment, appropriate resource especially reimbursement price and asymmetrical information among staffs of social health protection schemes in different level and beneficiaries. The result of interview showed that when the member of Social Security Scheme were admitted for the emergency treatment under Management of Medical Emergency Services under Integration Management Policy. They have to reserve budget to private hospital which provide care to them. Rate of reserve money to pay are 48.2%, the same as the rate of not reserve money to pay (51.3%). For reserve money, it contributes to the cost burden to patients as high as 97.6% in particular in group of income below 10,000 to 29,999 baht. The complacency of patients under Social Security Scheme between emergency medical service under Social Security (72 hrs.) and Management of Medical Emergency Services under Integration Management Policy were found to be similar percentage of 4.62 and 3.9, respectively.The appropriate payment method and reimbursement, payment by the Diag Related Groups (DRGs) payment method is also appropriate in the current situation. To propose appropriate reimbursement for private hospitals, using the reimbursement rate of the Civil Servant Medical Benefits Scheme (CSMBS) to university hospitals, for treatment of medical emergency patients which 17,662 baht per AdjRW, including 13,483 baht per AdjRW, 2,379 baht of labour price, and 1,800 baht of room and food prices for three days. Through participatory approach in undertaking this project, the researchers and representatives of private hospitals have an agreement that the appropriate imbursement rate should be adjusted periodically in the future.en_US
dc.identifier.callnoWX215 ส731ก 2557
dc.identifier.contactnoT56-12en_US
.custom.citationสิรินาฏ นิภาพร, อรวรรณ ประสิทธิ์ศิริผล, Thaworn Sakunphanit and ถาวร สกุลพาณิชย์. "การบริหารจัดการระบบบริการทางการแพทย์กรณีฉุกเฉินตามนโยบายบริหารจัดการร่วมสามกองทุน." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4213">http://hdl.handle.net/11228/4213</a>.
.custom.total_download173
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year5

Fulltext
Icon
Name: hs2139.pdf
Size: 2.403Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record