Show simple item record

Monitoring and Evaluating the implementation of Non-essential drug prescription criteria measure at a Provincial Hospital in Thailand

dc.contributor.authorนัฎฐิตา ทารัตน์th_TH
dc.contributor.authorNattita Tharaten_US
dc.contributor.authorจุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์th_TH
dc.contributor.authorChulaporn Limwattananonen_US
dc.contributor.authorสุมนต์ สกลไชยth_TH
dc.contributor.authorSumon Sakolchaien_US
dc.contributor.authorอรอนงค์ วลีขจรเลิศth_TH
dc.contributor.authorOnanong Waleekhachonloeten_US
dc.contributor.authorเชิดชัย สุนทรภาสth_TH
dc.contributor.authorCheardchai Soontornpasen_US
dc.date.accessioned2014-11-04T03:34:12Z
dc.date.available2014-11-04T03:34:12Z
dc.date.issued2557-09
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 8,3 (ก.ค.-ก.ย. 2557) : 221-229th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4220
dc.description.abstractในปีงบประมาณ 2556 กรมบัญชีกลางได้ออกมาตรการให้แพทย์ระบุเหตุผลประกอบการสั่งใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ (มาตรการ A-F) เพื่อเพิ่มความสมเหตุผลของการใช้ยาและเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายในกลุ่มผู้ป่วยนอกสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการในโรงพยาบาลของรัฐ 168 แห่ง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว ทำการเก็บข้อมูลในโรงพยาบาลที่มีการระบุตัวเลือกเหตุผลประกอบการสั่งใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ (A-F) ร้อยละ 100 โดยทบทวนการสั่งใช้ยา celecoxib และ candesartan จากฐานข้อมูลใบสั่งยาและเวชระเบียนผู้ป่วยนอกจำนวน 110 รายต่อยาแต่ละชนิด จำแนกการศึกษาเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ประเมินความสอดคล้องของการระบุเหตุผลที่ไม่สามารถใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติและความสมเหตุสมผลของการสั่งใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข เก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2555 ถึง 31 มกราคม 2556 ส่วนที่ 2 ติดตามแนวโน้มการสั่งใช้ยา celecoxib และ candesartan เก็บข้อมูลก่อนมีมาตรการ (1 สิงหาคม ถึง 31 ตุลาคม 2555) และหลังมีมาตรการ (1 พฤศจิกายน 2555 ถึง 30 เมษายน 2556) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า แพทย์บันทึกรายละเอียดการใช้ยาหรือลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยที่อาจเป็นสาเหตุให้ไม่สามารถใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติในเวชระเบียนผู้ป่วยนอกไม่ครบถ้วน จึงสามารถประเมินความสอดคล้องระหว่างเหตุผลที่ระบุในใบสั่งยากับเวชระเบียนในผู้ป่วยที่ได้รับยา celecoxib เพียง 52 ราย (ร้อยละ 47.3) และ candesartan เพียง 57 ราย (ร้อยละ 51.8) ซึ่งมีความสอดคล้องของการสั่งใช้ยา celecoxib ในผู้ป่วย 7 ราย (ร้อยละ 6.4) และ candesartan ในผู้ป่วย 54 ราย (ร้อยละ49.1) ในการประเมินความสมเหตุสมผลของการสั่งใช้ยา พบว่ามีสัดส่วนผู้ป่วยที่ไม่สามารถประเมินได้เนื่องจากข้อมูลไม่เพียงพอมากกว่าร้อยละ 40 การสั่งใช้ยา celecoxib และ candesartan มีความสมเหตุผลในผู้ป่วย 54 ราย (ร้อยละ 49.1) และ 7 ราย (ร้อยละ 6.4) ตามลำดับ สำหรับเหตุผลการสั่งใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติที่แพทย์ระบุมากที่สุดในการสั่งใช้ยา celecoxib คือ ผู้ป่วยเกิดอาการข้างเคียงในการใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ หรือแพ้ยาจำนวน 74 ราย (ร้อยละ 67.3) และเหตุผลในการสั่งใช้ยา candesartan คือ ผู้ป่วยใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้วผลการรักษาไม่บรรลุเป้าหมายจำนวน 100 ราย (ร้อยละ 90.9) พบว่าหลังจากมีมาตรการ แพทย์ปรับเปลี่ยนการสั่งใช้ยา celecoxib และ candesartan เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติจำนวน 35 ราย (ร้อยละ 31.8) และ 36 ราย (ร้อยละ 32.7) ตามลำดับ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า การปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวมีประสิทธิผลค่อนข้างต่ำ โดยมีการระบุเหตุผลประกอบการสั่งใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติครบถ้วนเพียงร้อยละ 49 และมีการปรับเปลี่ยนการใช้ยาเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติเพียงร้อยละ 32 จึงควรมีการสนับสนุนและส่งเสริมให้การปฏิบัติตามมาตรการมีประสิทธิผลดียิ่งขึ้นเพื่อสนับสนุนการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการใช้ยาth_TH
dc.subjectบัญชียาหลักแห่งชาติth_TH
dc.subjectdrugen_US
dc.titleการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรการระบุเหตุผลประกอบการสั่งใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ณ โรงพยาบาลประจำจังหวัดแห่งหนึ่งในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeMonitoring and Evaluating the implementation of Non-essential drug prescription criteria measure at a Provincial Hospital in Thailanden_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeIn Fiscal year 2013, Comptroller General’s Department (CGD) had launched the Non-essential Drug Prescription Criteria (NPC) measure (A-F measure) to encourage the rationale drug use and control drug cost for patients under civil servant medical benefit scheme (CSMBS) in 168 public hospitals. The measure indicated that NPC must be notified for each non-essential drug (NED) prescribing. This study aimed to monitor and assess implementation of the measure. Data were collected in the study hospital which NPC were notified for all prescribing of NEDs. The selected NED in this study were celecoxib and candesartan. For each drug, 110 prescriptions and patient medical records of the out-patient department were reviewed. The study was divided into two parts. For the first part, consistency between information in medical records and reasons specified in prescriptions and rationale of prescribing based on the Ministry of Public Health criteria were assessed during November 2012 to January 2013. For the second part, trend of prescribing was monitored before and after the measure was implemented (August 2012 to October 2012 and November 2012 to April 2013). Descriptive statistics were used in data analysis. Reasons for drug prescribing were not completely specified in medical records. Therefore, the consistency between information in medical records and reasons specified in prescriptions could be assessed in only 52 patients (47.3%) who received celecoxib and 57 patients (51.8 %) who received candesartan. Data in medical records and the notified NPC in prescriptions were consistent in only 7 patients (6.4%) who received celecoxib and 54 patients (49.1%) who received candesartan. Rational of prescribing could not be assessed for more than 40% of prescriptions. Prescribing was rational in 54 patients (49.1%) who received celecoxib and 7 patients (6.4%) who received candesartan. Most common indicated reason for celecoxib prescribing was an intolerance to side effect or allergy to drugs in essential drug (ED) list (N=74, 67.3%). For candesartan prescribing, most common indicated reason was failure to achieve therapeutic goals (N= 100, 90.9%). After an implementation of the NPC measure, prescribing of 35 patients (31.8%) who received celecoxib and 36 patients (32.7%) who received candesartan were changed to other ED drugs. In conclusion, the efficiency of the measure was quite low as the completeness of NPC documentation and the change of prescribing to ED were about 49 and 32 percent, respectively. Measure should be supported and promoted to enhance its efficiency and precipitate into rationale drug use.en_US
dc.subject.keywordยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติth_TH
dc.subject.keywordnon-essential drugsen_US
dc.subject.keywordcontrol measure for drug useen_US
.custom.citationนัฎฐิตา ทารัตน์, Nattita Tharat, จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์, Chulaporn Limwattananon, สุมนต์ สกลไชย, Sumon Sakolchai, อรอนงค์ วลีขจรเลิศ, Onanong Waleekhachonloet, เชิดชัย สุนทรภาส and Cheardchai Soontornpas. "การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรการระบุเหตุผลประกอบการสั่งใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ณ โรงพยาบาลประจำจังหวัดแห่งหนึ่งในประเทศไทย." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4220">http://hdl.handle.net/11228/4220</a>.
.custom.total_download1425
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month6
.custom.downloaded_this_year19
.custom.downloaded_fiscal_year40

Fulltext
Icon
Name: hsri_journal_v8n3 ...
Size: 178.9Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1326]
    บทความวิชาการ

Show simple item record