แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

กลไกและปัจจัยในการจัดการให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลโดยภาคประชาชน

dc.contributor.authorพักตร์วิภา สุวรรณพรหมth_TH
dc.contributor.authorหทัยกาญจน์ เชาวนพูนผลth_TH
dc.contributor.authorศิริตรี สุทธจิตต์th_TH
dc.contributor.authorรัตนาภรณ์ อาวิพันธ์th_TH
dc.contributor.authorภูริดา เวียนทองth_TH
dc.contributor.authorท้ัชชัย เรือนแปงth_TH
dc.date.accessioned2015-03-02T03:18:32Z
dc.date.available2015-03-02T03:18:32Z
dc.date.issued2555
dc.identifier.otherhs2125
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4242
dc.description.abstractการศึกษานี้ใช้การทบทวนวรรณกรรมตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 - 2012 และการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรทางการแพทย์ ผู้นำชุมชน และประชาชนผู้ใช้ยา ในชุมชนที่มีประสบการณ์การสร้างเสริมศักยภาพของประชาชนร่วมกับการสนทนากลุ่ม เพื่อทบทวนรูปแบบ กลไก หรือ วิธีการพัฒนาศักยภาพการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประชาชน จากโจทย์ตั้งต้นที่ว่า จะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประชาชน ผลการศึกษาพบว่าสำหรับประชาชนทั่วไปนั้นการใช้ยาอย่างเหมาะสมหมายถึงการกินยาเมื่อมีอาการและหยุดเมื่อหมดอาการ และคือการใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง ในการพัฒนาศักยภาพของประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเองเรื่องโรคและยานั้นต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบคือ ความรู้ทักษะในการปฏิบัติและแก้ไขปัญหา และแรงจูงใจในการทำพฤติกรรมสุขภาพนั้นๆแต่อย่างไรก็ตาม ศักยภาพของประชาชนไม่ได้เกิดขึ้นได้ด้วยแรงผลักดันภายในของประชาชนแต่เพียงอย่างเดียว เนื่องจาก ในสภาวะปัจจุบันประชาชนยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องยาและสุขภาพ หากเปรียบเทียบกับการทำมาหากินเพื่อให้ได้เงินในการดูแลครอบครัวของตนเอง ดังนั้นแล้วหากจะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาศักยภาพในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลบุคลากรทางการแพทย์จะเป็นกลไกหลักที่สำคัญในการดำเนินการ และต้องการการสนับสนุนจากปัจจัยเสริมอีกหลายประการ ดังต่อไปนี้ 1. การสร้างเสริมศักยภาพของประชาชนผู้ใช้ยา 1.1 จัดระบบข้อมูลเรื่องสุขภาพและการใช้ยาสำหรับประชาชน ที่น่าเชื่อถือ และเข้าถึงได้ง่าย 1.2 ขยายบทบาทของประชาชนในการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสุขภาพของตนเอง 1.3 มีหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบจัดทำสื่อและการสื่อสารเรื่องสุขภาพและการใช้ยาอย่างสมเหตุผลที่เข้าถึงได้ง่ายและเหมาะสมกับผู้รับที่มีความหลากหลายทางบริบท และระดับความฉลาดทางสุขภาพ(health literacy) 1.4 สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มกันของผู้ป่วย หรือประชาชนที่มีความสนใจเรื่องสุขภาพในโรงพยาบาล ศูนย์เรียนรู้ชุมชน หรือ จุดอื่นๆ ในชุมชน 2. การสร้างเสริมศักยภาพในการทำงานเชิงรุกของบุคลากรทางการแพทย์ 2.1 สนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ ทำงานแบบสหสาขาวิชาชีพในการสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องยาและบริบทการดำเนินชีวิตกับผู้ใช้ยา เพื่อที่จะได้ให้ข้อมูลในการดูแลตนเองเรื่องโรคและยาที่สอดคล้องกับประสบการณ์ และการดำเนินชีวิตประจำวันกับผู้ป่วยเฉพาะราย 2.2 ระบบการศึกษาเพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์ต้องทำให้เกิดการพัฒนาทัศนคติที่ดีในการดูแลผู้ป่วยเข้าใจเข้าถึงบริบทความเป็นจริงของคนไข้ 2.3 จัดการอบรมหรือฝึกปฏิบัติทักษะการทำงานเชิงรุกโดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของทีมสหสาขาวิชาชีพ 2.4 สนับสนุนให้บุคลากรทางการแพทย์ ให้ได้มีโอกาสได้เรียนรู้ถึงปัญหา และบริบทการใช้ยาในชุมชนครัวเรือนของผู้ใช้ยา อย่างแท้จริง 2.5 จัดเวทีที่ให้บุคลากรทางการแพทย์ได้มาพบปะกันอย่างสม่ำเสมอเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดประสบการณ์การทำงาน และแนวทางการแก้ไขปัญหา 3. ระบบที่การให้บริการสุขภาพที่สนับสนุนการทำงานเชิงรุกให้บริการแบบเป็นองค์รวม 3.1 การผลักดันนโยบายการดูแลแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางอย่างองค์รวมการให้การบริการแบบปฐมภูมิอย่างแท้จริง 3.2 ผู้กำหนดนโยบายควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของประชาชนผู้บริโภค 3.3 มีการกำหนดนโยบายด้านระบบบริการสุขภาพที่สนับสนุนการทำงานเชิงรุกอย่างเป็นรูปธรรม 3.4 สนับสนุนนโยบายการดำเนินงานเชิงรุกที่ยืดหยุ่น และเหมาะสมกับบริบทแต่ละพื้นที่ 3.5 สนับสนุนการมีส่วนร่วมของระบบประกันสุขภาพ ให้การตอบแทนการดำเนินงานเชิงรุก 4. การสร้างบรรทัดฐานของสังคมเรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผล เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนทั้งระบบ ซึ่งหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงต้องดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ การดำเนินการผ่านกลไกสนับสนุนดังกล่าวข้างต้นควรจะเป็นการทำงานแบบผสมผสานบูรณาการเข้าด้วยกันแบบไม่แยกส่วน ด้วยการให้หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องมีโอกาสที่จะมีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์กันแบบสองทาง เนื่องจากเรื่องของชีวิตคนในสังคมเป็นสิ่งที่ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ไม่ได้แยกส่วนกันth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectระบบยาth_TH
dc.subjectการใช้ยาth_TH
dc.subjectการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleกลไกและปัจจัยในการจัดการให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลโดยภาคประชาชนth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoQV55 พ611ก 2555
dc.identifier.contactno54-058en_US
.custom.citationพักตร์วิภา สุวรรณพรหม, หทัยกาญจน์ เชาวนพูนผล, ศิริตรี สุทธจิตต์, รัตนาภรณ์ อาวิพันธ์, ภูริดา เวียนทอง and ท้ัชชัย เรือนแปง. "กลไกและปัจจัยในการจัดการให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลโดยภาคประชาชน." 2555. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4242">http://hdl.handle.net/11228/4242</a>.
.custom.total_download667
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year17
.custom.downloaded_fiscal_year4

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2125.pdf
ขนาด: 19.80Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย