Show simple item record

ผลดี ผลเสีย การฝากครรภ์พิเศษในโรงพยาบาลรัฐ

dc.contributor.authorยศ ตีระวัฒนานนท์en_US
dc.contributor.authorฐิติมา สุนทรสัจen_US
dc.contributor.authorสัญญา ศรีรัตนะen_US
dc.contributor.authorปรัศนี ทิพโสถิตย์en_US
dc.contributor.authorวัชรา ริ้วไพบูลย์en_US
dc.contributor.authorวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรen_US
dc.date.accessioned2008-10-03T09:59:42Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-15T08:56:12Z
dc.date.available2008-10-03T09:59:42Zen_US
dc.date.available2557-04-15T08:56:12Z
dc.date.issued2546en_US
dc.identifier.citationวารสารวิชาการสาธารณสุข 12,4(2546) : 496-508en_US
dc.identifier.issn0858-4923en_US
dc.identifier.otherDMJ38en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/430en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาสาเหตุและผลที่เกิดขึ้นจากการทำเวชปฏิบัติของสูติแพทย์ฝากครรภ์พิเศษทั้งในมุมมองของผู้ใช้และแพทย์ผู้ให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพและความเชื่อมั่นต่อบริการของหญิงที่ไม่ฝากครรภ์พิเศษ ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ผู้มาคลอดจำนวน ๑,๐๓๖ ราย ทั้งฝากและไม่ฝากครรภ์พิเศษ ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ถึง มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕ และสูติแพทย์จำนวน ๑๐ รายจากโรงพยาบาลของรัฐ ๗ แห่งทั่วประเทศ ทำการสัมภาษณ์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ ผลการศึกษาพบว่าสาเหตุสำคัญของการฝากครรภ์พิเศษ คือต้องการความมั่นใจในความปลอดภัยและคุณภาพของบริการคลอดบุตร และความสะดวกสบาย และจากตัวอย่างที่สำรวจมีสัดส่วนของการฝากพิเศษหนึ่งในสาม (ร้อยละ ๓๓) ในกลุ่มนี้จะได้รับการตรวจครรภ์ด้วยเครื่องคลื่นเสียง (ultrasound) มากกว่า (๓.๗ ครั้ง) กลุ่มไม่ฝากครรภ์พิเศษ (๒.๙ ครั้ง) นอกจากนี้ อัตราการผ่าตัดคลอด (cesarean section rate) สูงกว่า (๕๗.๖%) กลุ่มไม่ฝากครรภ์พิเศษ (๑๙.๖%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แม้สูติแพทย์จะได้รับผลตอบแทนทางการเงินจากการฝากครรภ์พิเศษ แต่ต้องสนองต่อความคาดหวังและการเรียกร้องที่สูงกว่าทั่วไป จึงสร้างแรงกดดันต่อสูติแพทย์ไม่น้อย ในปัจจุบันยังขาดการควบคุมดูแลจากผู้เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันผลกระทบจากการทำเวชปฏิบัติในลักษณะนี้ สูติแพทย์ส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะให้ผู้บริหารโรงพยาบาลราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยและแพทยสภาเข้ามามีบทบาทในการดูแลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้มีการดำเนินการอย่างเหมาะสมและไม่เลือกปฏิบัตต่อผู้ฝากและไม่ฝากพิเศษen_US
dc.format.extent683636 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.rightsสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.subjectโรงพยาบาลรัฐen_US
dc.subjectการคลอดบุตรen_US
dc.titleผลดี ผลเสีย การฝากครรภ์พิเศษในโรงพยาบาลรัฐen_US
dc.typeArticleen_US
dc.subject.keywordการฝากครรภ์en_US
dc.subject.keywordฝากครรภ์พิเศษen_US
dc.subject.keywordการผ่านัดคลอดen_US
.custom.citationยศ ตีระวัฒนานนท์, ฐิติมา สุนทรสัจ, สัญญา ศรีรัตนะ, ปรัศนี ทิพโสถิตย์, วัชรา ริ้วไพบูลย์ and วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. "ผลดี ผลเสีย การฝากครรภ์พิเศษในโรงพยาบาลรัฐ." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/430">http://hdl.handle.net/11228/430</a>.
.custom.total_download1499
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month13
.custom.downloaded_this_year188
.custom.downloaded_fiscal_year36

Fulltext
Icon
Name: 2003_DMJ38_ผลดี.pdf
Size: 667.6Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record