แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การจัดลำดับความสำคัญและจัดทำแผนงานวิจัยด้านระบบบริการสุขภาพระดับชาติ

dc.contributor.authorปิยะ หาญวรวงศ์ชัยth_TH
dc.contributor.authorPiya Hanvoravongchaien_US
dc.date.accessioned2016-03-23T09:46:47Z
dc.date.available2016-03-23T09:46:47Z
dc.date.issued2557-08-30
dc.identifier.otherhs2239
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4414
dc.description.abstractที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดยุทธศาสตร์งานวิจัยด้านระบบบริการสุขภาพในระดับประเทศ งานวิจัยส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นโครงการย่อยเฉพาะด้าน หรือเฉพาะประเด็น ทั้งนี้เพื่อเป็นไปตามความต้องการของนักวิจัย หรือแหล่งทุนสนับสนุน โดยขาดการมองภาพรวมระดับมหภาค ไม่ได้มีการวางแผนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในระบบบริการสุขภาพ และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก ทั้งในปัจจุบัน และในอนาคตระยะใกล้ และระยะยาว การก่อตั้งศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ที่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภายใต้ความร่วมมือกับ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาลถือเป็นโอกาสสำคัญ ในการใช้องค์กรที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ เป็นผู้ดำเนินการจัดทำแผนสนับสนุนงานวิจัยด้านระบบบริการสุขภาพระดับชาติ โดยมีการคำนึงถึงยุทธศาสตร์งานวิจัยด้านระบบบริการสุขภาพของประเทศ และทำการจัดลำดับความสำคัญของงานวิจัยที่ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดขึ้น โดยมุ่งเน้น เรื่องที่มีความสำคัญต่อระบบบริการสุขภาพของประเทศ มีผลกระทบสูง (High impact area) และสามารถนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายระดับมหภาค (macro policy) ซึ่งมีความจำเป็นที่การจัดลำดับความสำคัญและการจัดทำแผนงานวิจัยด้านระบบบริการสุขภาพระดับชาตินี้จะต้องมีการประสานเชื่อมโยงกับผู้กำหนดนโยบาย และหน่วยงานวิจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบบริการสุขภาพ เพื่อให้งานวิจัยที่จะเกิดขึ้นถูกนำไปใช้เพื่อตอบโจทย์ปัญหาของประเทศในระยะสั้นและระยะยาว และ เป็นการสร้างความเชื่อมโยงในการทำงานของนักวิจัยจากแหล่งต่าง ๆ และหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนที่ไม่จำเป็น ในการศึกษานี้ ศูนย์วิจัยฯ ได้จัดให้มีการวิเคราะห์ทิศทาง แนวโน้ม สภาพแวดล้อมและปัจจัยที่ส่งผลต่อระบบบริการสุขภาพ และจัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบบริการสุขภาพ และการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และจัดลำดับความสำคัญวิจัยระบบบริการสุขภาพ โดยได้มีการวิเคราะห์ปัจจัยบ่งชี้ที่เป็นตัวขับเคลื่อน (key drivers) การกำหนดทิศทางงานวิจัยด้านระบบบริการสุขภาพที่พึงประสงค์ และ ได้ร่วมกันจัดลำดับความสำคัญประเด็นวิจัยที่ควรได้รับการสนับสนุนให้เกิดขึ้นในระยะสามถึงห้าปีข้างหน้า ภายใต้มิติของระบบบริการสุขภาพด้านต่างๆ โดยคำนึงถึง (1) ประโยชน์ที่จะได้รับจากงานวิจัย (expected benefits) และ (2) ความเป็นไปได้ในการทำวิจัยให้สำเร็จ (feasibility) และยังได้พัฒนายุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบวิจัยระบบบริการสุขภาพเพื่อช่วยสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยระบบบริการสุขภาพให้เกิดความสำเร็จ และสามารถสร้างองค์ความรู้ที่ตอบโจทย์ปัญหาของระบบบริการสุขภาพทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ผลการศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในบริบทระดับมหภาคพบว่า มีประเด็นหลัก ๆ ที่น่าจะส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อระบบบริการสุขภาพอยู่หกประการ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงประชากร ทั้งในส่วนของการเข้าสู่สังคมสูงอายุ การขยายตัวของเมือง การย้ายถิ่น และการเพิ่มสัดส่วนของชนชั้นกลาง โดยระบบต่างๆ จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะวิกฤติ (shock) มากขึ้น ทั้งจากสาธารณภัยต่างๆ การระบาดของโรคติดเชื้อ และภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ทรัพยากรและงบสาธารณะโดยเฉพาะจากส่วนกลางจำกัด เนื่องมาจากความไม่แน่นอนทางการเมืองสูง ส่งผลต่อบทบาทกลไกภาครัฐ ในขณะที่บทบาทท้องถิ่นและกลุ่มสังคมมีมากขึ้น ในขณะเดียวกัน บทบาทของปัจจัยและบริบทนอกประเทศ ทั้งในส่วนของประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกัน (cross border) ในระดับภูมิภาค และในระดับโลก มีความสำคัญมากขึ้น เทคโนโลยีและสารสนเทศ นำไปสู่เครื่องมือใหม่ๆ ให้ประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในการจัดการตนเอง รวมถึงการจัดการสุขภาพมากขึ้น ความเหลื่อมล้ำในด้านต่างๆ ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และปัญหาที่ตามมา ในขณะเดียวกัน นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงในบริบทมหภาคแล้ว แนวโน้มประเด็นปัญหาในระบบสุขภาพที่เปลี่ยนไป เช่น ภาระจากโรคติดต่อลดลง ภาระจากโรคเอดส์ลดลงและมีแนวโน้มรักษาได้ ภาระจากโรคเรื้อรัง โรคมะเร็งเพิ่มขึ้น แต่โรคระบาด เชื้ออุบัติใหม่ เชื้อดื้อยา ยังคงเป็นประเด็นท้าทายที่สำคัญ ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับรายได้ เช่น ภาวะน้ำหนักเกิน น้ำตาลสูง ไขมันสูง ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในส่วนของการรักษาพยาบาล นวัตกรรมใหม่ๆ ในบางโรคมีแนวโน้มการรักษาพยาบาลที่เน้นการปรับรูปแบบวิธีการเฉพาะแต่ละราย (customized targeted care) โดยอาศัยเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วย ในขณะที่การจัดระบบบริการมีแนวโน้มจะเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและชุมชนในการดูแลสุขภาพ มีการจัดระบบมาตรฐานในการดูแลที่ลดความแตกต่างและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาล ทำให้ระบบบริการสุขภาพในอนาคตจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้เหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน และเตรียมพร้อมสำหรับประเด็นท้าทายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในส่วนของความคิดเห็น และข้อเสนอแนะในประเด็นปัญหาในระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบบริการสุขภาพ พบว่า ในส่วนของกลุ่มผู้บริโภคและผู้รับบริการเห็นว่าหัวข้องานวิจัยที่น่าสนใจควรจะครอบคลุมถึงบทบาทของผู้รับบริการในการมีส่วนร่วมในการจัดระบบบริการ รวมถึงความรับผิดชอบของประชาชนต่อการสร้างเสริมสุขภาพ ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงและคุณภาพของระบบบริการสุขภาพ ความแออัดของระบบบริการ การจัดระบบคิว การบริหารคิวเข้ารับบริการ ระบบบริการสำหรับประชากรกลุ่มที่มีความต้องการเฉพาะและกลุ่มคนชายขอบ การบูรณาการของระบบบริการที่เชื่อมโยงระหว่างสถานบริการกับระบบอื่นๆ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการ เป็นต้น ในขณะที่กลุ่มผู้ให้บริการภาคเอกชนมีประเด็นคำถามวิจัยที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องปรัชญาในการจัดระบบบริการสุขภาพและการอภิบาลระบบบริการสุขภาพ โดยเฉพาะในเรื่องบทบาทของภาคเอกชนต่อระบบบริการสุขภาพของประเทศ การจัดระบบบริการสนับสนุนและระบบส่งต่อ การบริหารความต้องการทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรอื่นๆ การควบคุมคุณภาพ และการสร้างเสริมสุขภาพผ่านระบบบริการสุขภาพ และ การเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงจากการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ การเปิดเสรีการค้า และเมดิคัลฮับ ในกลุ่มผู้ให้บริการภาครัฐเห็นความสำคัญของปัญหาต่างๆ ที่หลากหลาย และต้องการให้มีการสนับสนุนงานวิจัยในประเด็นหลักดังต่อไปนี้ ระบบบริการปฐมภูมิในเขตเมืองเพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง การวิจัยการอภิบาลระบบบริการสุขภาพในเมืองใหญ่ที่มีความซับซ้อน ระบบบริการระยะยาวสำหรับรองรับผู้สูงอายุ ระบบการจัดการพัฒนาการเด็ก การศึกษารูปแบบและวิธีการบริหารจัดการโรงพยาบาลที่เหมาะสม ระบบสารสนเทศ และงานวิจัยเชิงประเมินผล เพื่อศึกษาประสิทธิผล คุณภาพ และความคุ้มค่าของการจัดระบบบริการในรูปแบบต่างๆ และสุดท้าย ในกลุ่มผู้จ่ายเงินหรือผู้ควบคุมดูแลระบบบริการสุขภาพ ให้ความสำคัญเรื่อง ระบบการบริหารจัดการบุคลากรสุขภาพ ระบบการเงินของสถานบริการ การประเมินคุณภาพและการพัฒนาคุณภาพ การจัดระบบบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ การพัฒนารูปแบบระบบบริการสาหรับประชากรกลุ่มเฉพาะ ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ย้ายถิ่น และระบบบริการสุขภาพในเขตชายแดน และการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพ และบทบาทของผู้บริโภคในระบบบริการสุขภาพ นอกจากนี้ ยังได้มีการเสนอยุทธศาสตร์งานวิจัย ที่ควรเน้นในเรื่องของการเข้าถึงข้อมูลและการพัฒนาระบบสารสนเทศ และการเน้นการทำวิจัยที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่นำไปใช้ได้จริงโดยต้องมีกระบวนการถ่ายทอดไปสู่การกำหนดนโยบายและการปฏิบัติ จากการวิเคราะห์ปัจจัยบ่งชี้ที่เป็นตัวขับเคลื่อน (key drivers) การกำหนดทิศทางงานวิจัยด้านระบบบริการสุขภาพที่พึงประสงค์ และ การจัดลำดับความสำคัญประเด็นวิจัยที่ควรได้รับการสนับสนุนให้เกิดขึ้นในระยะสามถึงห้าปีข้างหน้า พบว่างานวิจัยที่จะสนับสนุนให้เกิดขึ้นต้องมีความสำคัญสูงต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประเทศ ได้แก่ งานวิจัยเชิงนโยบาย หรือ งานวิจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบาย โดยมุ่งเน้นประเด็นวิจัยที่สำคัญ 6 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) เครือข่ายเขตบริการสุขภาพ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน (2) การเตรียมความพร้อมของระบบบริการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงจากนโยบาย Medical Hub และการขยายบริการในภาคเอกชน (3) การจัดรูปแบบการดูระบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง (4) การใช้เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร และเทคโนโลยีทางการแพทย์ต่างๆ มาเพื่อพัฒนาระบบบริการ ทำอย่างไรเทคโนโลยีที่มีอยู่ให้เกิดเทคโนโลยีที่พึ่งประสงค์ (5) การอภิบาลดูแลการบริหารจัดการโรงพยาบาลภาครัฐ และ (6) การพัฒนาบุคลากรในระบบบริการสุขภาพ โดยเน้นให้มีบทบาทวิจัยและพัฒนาระบบบริการสุขภาพ การจะบรรลุผลสำเร็จในด้านงานวิจัยระบบบริการสุขภาพจำเป็นต้องอาศัยยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบและกลไกเพื่อสนับสนุนงานวิจัยบริการสุขภาพ โดยเน้นคนเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้ ในการศึกษานี้ เสนอแนวทางหลักห้าประการภายใต้แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว ได้แก่ (1) การพัฒนานักวิจัยหน้าใหม่ และ เพิ่มศักยภาพนักวิจัยที่มีอยู่แล้ว รวมถึง การพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานของนักวิจัย และความก้าวหน้าในวิชาชีพ (2) การสร้างและสนับสนุนสถาบันและเครือข่ายนักวิจัยด้านระบบบริการสุขภาพ (3) การจัดการฐานข้อมูลบริการสุขภาพ และ การเข้าถึงระบบข้อมูลเพื่อการวิจัย (4) การจัดการงบประมาณเพื่อการวิจัยระบบบริการสุขภาพ และ (5) การเผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยและความเชื่อมโยงกับผู้ใช้ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตามแนวทางห้าประการดังกล่าวจะสามารถทำให้การพัฒนางานวิจัยด้านระบบบริการสุขภาพไปในแนวทางและทิศทางที่ถูกต้อง และเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนอย่างยั่งยืนในระยะยาวในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันระบบวิจัยสาธารณสุข (สวรส.), สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน), และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการวิจัยทางสาธารณสุขth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการจัดลำดับความสำคัญและจัดทำแผนงานวิจัยด้านระบบบริการสุขภาพระดับชาติth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoW84.3 ป621ก 2557
dc.identifier.contactno57-109en_US
.custom.citationปิยะ หาญวรวงศ์ชัย and Piya Hanvoravongchai. "การจัดลำดับความสำคัญและจัดทำแผนงานวิจัยด้านระบบบริการสุขภาพระดับชาติ." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4414">http://hdl.handle.net/11228/4414</a>.
.custom.total_download182
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year8

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2239.pdf
ขนาด: 1.387Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย