แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากคนพิการ

dc.contributor.authorศันสณี รัชชกูลth_TH
dc.contributor.authorSunsanee Rajchagoolen_US
dc.contributor.authorพวงทอง ผู้กฤตยาคามีth_TH
dc.contributor.authorPuangtong Pukrittiyakameeen_US
dc.contributor.authorสุรัตน์ มงคลชัยอรัญญาth_TH
dc.contributor.authorSurat Mongkolchaiarunyaen_US
dc.contributor.authorภัตติมา บุรพลกุลth_TH
dc.contributor.authorPattima Burapholkulen_US
dc.date.accessioned2016-05-02T09:23:36Z
dc.date.available2016-05-02T09:23:36Z
dc.date.issued2559-04
dc.identifier.otherhs2251
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4427
dc.description.abstractจากผลการดำเนินงานขึ้นทะเบียนคนพิการของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ. วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2557 พบมีผู้พิการทั่วประเทศ 1,505,088 คนหรือร้อยละ 2.2 ของประชากรไทย มี แนวโน้มเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละกว่าแสนคน ประชากรกลุ่มนี้เป็นผู้มีความต้องการดูแลรักษาสุขภาพมากกว่ากลุ่มอื่นๆ เนื่องจากการมีสุขภาพช่องปากไม่ดีจะนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อน พบว่า ในผู้พิการทางสติปัญญาการมีอนามัยในช่องปากที่ไม่ดีทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่ายและนำไปสู่โรคอื่นๆที่ร้ายแรง เช่น ปอดอักเสบ การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ฯลฯ ผลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการของสำนักงานสถิติแห่งชาติซึ่งสำรวจทุก 2 ปีรายงานการใช้บริการสุขภาพช่องปากของประชาชนทั่วไปจากปี 2550 ถึงปี 2556 มีเพียงประมาณร้อยละ 9 ต่อปี ซึ่งการใช้บริการสุขภาพช่องปากของคนพิการยิ่งต่ำกว่า เนื่องจากมีปัญหาอุปสรรคหลายประการ แม้ว่าสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพช่องปากสำหรับคนพิการจะมีอยู่ในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้วก็ตาม การเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากของคนพิการที่ผ่านมายังไม่ได้มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ การดำเนินงานเป็นไปในกลุ่มผู้ปฏิบัติจำนวนไม่มากและไม่มีการสนับสนุนเชิงนโยบาย จึงมีการพัฒนาโครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากของคนพิการขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบแนวทางในการจัดบริการสุขภาพช่องปากให้คนพิการโดยมุ่งหาแนวทางการทำงานร่วมกับสหวิชาชีพทั้งภายในและภายนอกหน่วยบริการสุขภาพ การสร้างเครือข่ายในการพัฒนางานสุขภาพช่องปากคนพิการที่สำคัญคือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแกนนำในชุมชน ระยะเวลาดำเนินการคือกุมภาพันธ์ 2558 – กันยายน 2558 พื้นที่ดำเนินงานในชุมชนได้แก่ รพ.บ้านฝาง รพ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น, รพ.นากลาง รพ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู, รพ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา และ รพ.๕๐พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ จ.อุบลราชธานี อีกส่วนหนึ่งคือในสถานศึกษาพิเศษจังหวัดน่าน (รพ.น่าน) และโรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา จ.สงขลา (รพ.สงขลา) วิธีการใช้กระบวนการประชุมเพื่อปรับกระบวนทัศน์ ความเข้าใจหลักการและเสริมพลังทีมของพื้นที่ โดยทีมงานร่วมกันออกแบบกระบวนการทำงานในพื้นที่ที่เหมาะสมกับบริบท ในส่วนการดำเนินงานในชุมชนมีขั้นตอนการดำเนินงานสำคัญประกอบด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคนพิการทีมสหวิชาชีพร่วมกันสำรวจประเมินความสามารถตามประเภทความพิการโดยนำเครื่องมือ ICF ขององค์การอนามัยโลก( International Classification of Functioning Disability and Health ) มาประยุกต์ใช้ ประเมินสภาวะทันตสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ วิเคราะห์ผลและคืนข้อมูลให้กับผู้เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท) แกนนำชุมชน เพื่อวางแผนการทำงานแก้ปัญหาร่วมกัน โดยชุมชนและท้องถิ่นเป็นหลักในการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการดำรงชีวิตของคนพิการ สถานพยาบาลออกแบบการจัดบริการสุขภาพช่องปากทั้งการส่งเสริมป้องกัน รักษาเร่งด่วนและฟื้นฟูในรายที่จำเป็นต้องรับบริการและสามารถพาไปรับบริการที่สถานพยาบาลได้ก็นัดหมายให้ไปรับบริการ โดยจัดช่องทางพิเศษให้ การประสานงานกับอปท.และชุมชนในการจัดรถรับ-ส่งคนพิการไปยังสถานบริการ ในรายที่ไม่สะดวกในการเคลื่อนย้ายทันตบุคลากรจัดเตรียมเครื่องมือไปให้บริการที่บ้าน ในส่วนของการดูแลอนามัยช่องปากที่บ้านเป็นการให้ความรู้และฝึกทักษะแปรงฟันในคนพิการซึ่งสามารถให้ผ่านคนพิการโดยตรงหรือผ่านผู้ดูแล ในส่วนของสถานศึกษาพิเศษ ในจังหวัดน่านและโรงเรียนสงขลาปัญญานุกูล จ. สงขลา มีความแตกต่าง กันคือ จ.น่านจะเป็นเด็กที่อายุค่อนข้างน้อยเป็นสถานที่เตรียมความพร้อมหรือฝึกฝนทางกายภาพให้กับเด็กที่มี ความบกพร่องทางสติปัญญาเป็นสถานศึกษาที่ไม่ได้รับค้างคืน แต่ละวันจะมีผู้ปกครองพาเด็กมาประมาณ 5-10 คน ทันตแพทย์และทีมงานเข้าไปประชุมกับคุณครูผู้ดูแลเพื่อให้ความรู้และวิธีดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กก่อน และในวันที่นัดหมายจะเข้าไปตรวจฟัน ทาฟลูออไรด์วาร์นิช แจ้งผลการตรวจฟัน สอนผู้ปกครอง ในรายที่ต้อง รับการรักษาจะแนะนำให้ไปรับบริการที่รพ.น่านซึ่งจัดช่องทางพิเศษให้ ในส่วนของโรงเรียนสงขลาปัญญานุกูล รับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เรียนรู้ช้า รวมทั้งภาวะออทิสติก โดยมีหอพักให้เด็กที่มาจากต่างจังหวัด หรือไม่สะดวกในการเดินทางไป-กลับในแต่ละวัน การดำเนินงานประกอบด้วยจัดประชุมคณะครูผู้บริหารและ ครูปฏิบัติการ ฝึกครูประจำชั้นให้ตรวจช่องปากเด็กและจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน ทีมทันต บุคลากร ตรวจ ให้ความรู้และนัดหมายให้ไปรับบริการที่รพ.สงขลาและ ทีมทันตแพทย์ออกเยี่ยมบ้านกับ ผู้บริหารโรงเรียนเด็กนักเรียนในเขตจังหวัดสงขลา ผลการดำเนินงานโครงการในช่วงกุมภาพันธ์ 2558 ถึงสิงหาคม 2558 พบว่าคนพิการในชุมชนของ พื้นที่นำร่อง 19 ตำบล ใน 6 อำเภอ ของ 4 จังหวัด จำนวน 3,341 มีคนพิการกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนพิการด้าน ความเคลื่อนไหวได้รับการตรวจช่องปาก 1,087 คนและได้รับบริการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู (ใส่ฟัน เทียม) จำนวน 719 คน กล่าวคือได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากร้อยละ 63-87 ได้รับบริการทันตกรรม (ส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟันเทียม) ร้อยละ 12-15 เปรียบเทียบกับบุคคลทั่วไปจากการสำรวจอนามัยและ สวัสดิการ พ.ศ. 2558 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในรอบ 12 เดือนพบว่ามีผู้ไปรับบริการทันตกรรม 5ร้อยละ 8.1 สำหรับในสถานศึกษาพิเศษครอบคลุมได้เฉพาะในส่วนของเด็กในโรงเรียน เช่น รร.สงขลาปัญญานุกูล ให้บริการตรวจฟันเด็ก 270 คน และให้บริการทันตกรรมตามความจำเป็น ส่วนเด็กในสถานศึกษาพิเศษจังหวัด น่าน ได้รับบริการตรวจช่องปาก ทันตกรรมป้องกันและการบำบัดรักษาตามระบบ โครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากคนพิการในพื้นที่ศึกษาที่ดำเนินการประมาณ 6-7 เดือน มีแนวทางการดำเนินงานในพื้นที่ประกอบด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพทั้งภายใน สถานพยาบาลและครือข่าย (โรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) และภายนอกโดยประสานงาน กับองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน อาสาสมัครสาธารณสุข จิตอาสาในชุมชน คน พิการ และผู้ดูแล หน่วยงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยเริ่มจากการพัฒนา เครื่องมือในการสำรวจสุขภาพช่องปากและสถานะสุขภาพที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลสุขภาพช่องปาก คนพิการในระยะต่อไป การนำข้อมูลที่ได้ไปสื่อสารกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแนวทางการแก้ปัญหาตาม ความจำเป็นเร่งด่วน การพัฒนาความรู้และทักษะทีมผู้ให้บริการในการวินิจฉัยโรค การวางแผนการรักษา การ สื่อสารและการควบคุมพฤติกรรมผู้ป่วย การจัดการความเสี่ยงด้านต่างๆของผู้ป่วย การจัดระบบบริการที่เอื้อต่อ การเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากทั้งในด้านสถานที่อุปกรณ์ ช่องทางการให้บริการ การอำนวยความสะดวกด้าน การมีรถรับส่ง การจัดระบบสนับสนุนต่างๆ เช่นการจัดทำเวบไซต์ (www.ฟฟันเพื่อคนพิเศษ.com) การปรับ สภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการใช้ชีวิตของคนพิการ ฯ มีผลให้คนพิการกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการสุขภาพช่อง ปากได้เพิ่มขึ้น และทำให้เห็นความเป็นไปได้ของการขยายผลการดำเนินการเพิ่มขึ้นในพื้นที่อื่นๆต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectสุขภาพช่องปากth_TH
dc.subjectคนพิการth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากคนพิการth_TH
dc.title.alternativeAction research project : Towards the greater accessibility to oral health among the disabled peopleen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWU113 ศ335ก 2559
dc.identifier.contactno57-107en_US
.custom.citationศันสณี รัชชกูล, Sunsanee Rajchagool, พวงทอง ผู้กฤตยาคามี, Puangtong Pukrittiyakamee, สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา, Surat Mongkolchaiarunya, ภัตติมา บุรพลกุล and Pattima Burapholkul. "การส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากคนพิการ." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4427">http://hdl.handle.net/11228/4427</a>.
.custom.total_download545
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year7
.custom.downloaded_fiscal_year12

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2251.pdf
ขนาด: 5.339Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย