Show simple item record

Review of Good Governance of Human Resources for Health Planning for Strengthening Health System in Thailand

dc.contributor.authorนารีรัตน์ ผุดผ่องth_TH
dc.contributor.authorกานต์วรินต์ ก่องกุลวัฒน์th_TH
dc.date.accessioned2016-07-27T06:46:02Z
dc.date.available2016-07-27T06:46:02Z
dc.date.issued2559-03
dc.identifier.isbn9786168019061
dc.identifier.otherhs2261
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4455
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องธรรมาภิบาลที่เกี่ยวข้องกับกำลังคนด้านสุขภาพนั้นทั้งในระดับนานาชาติและระดับประเทศนั้นยังมีไม่มาก ในประเทศไทยได้มีการกล่าวถึงเรื่องธรรมาภิบาลกันอย่างกว้างขวางในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา โดยแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) เน้นการพัฒนาระบบบริหารจัดการประเทศให้เกิดธรรมาภิบาล โดยมีเป้าหมายประชาชนรู้สิทธิหน้าที่และมีส่วนร่วมมากขึ้นในการตัดสินใจ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมตรวจสอบระบบการบริหารจัดการด้านต่างๆ ของประเทศ ซึ่งในแผนเดียวกันนี้ได้เน้นการพัฒนาระบบสุขภาพอย่างครบวงจร ที่รวมถึงธรรมาภิบาลของระบบสุขภาพ ที่ผ่านมาระบบสุขภาพในประเทศไทยได้มีการพัฒนาธรรมาภิบาลในเชิงภาพรวมของระบบ แต่ปรากฏข้อเท็จจริงในการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ด้าน คือ การวางแผน, การผลิต และการบริหารจัดการ ซึ่งที่ผ่านมาการดำเนินการทั้ง 3 ด้านนั้นยังมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนค่อนข้างน้อย ยกตัวอย่างเช่น การผลิตที่ต่างฝ่ายต่างทำ ไม่มีการวางแผนร่วมกันจึงทำให้ไม่สอดคล้องกับแผนพัฒนาระบบสุขภาพที่วางไว้ทำให้เกิดปัญหาการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพไม่เพียงพอ หรือผลิตเกินความต้องการ ส่งผลให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการ เป็นต้น ดังนั้น การพัฒนาระบบธรรมาภิบาลที่เฉพาะเจาะจงกับการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของธรรมาภิบาลของการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพ ที่เป็นการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังและเข้มแข็งของทุกภาคส่วน น่าจะทำให้ระบบสุขภาพในภาพรวมของประเทศไทยมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ประกอบกับปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเรื่องของความต้องการด้านสุขภาพเนื่องจากปัจจัยหลายๆ อย่าง ได้แก่ อุบัติการณ์ของโรคที่เกี่ยวเนื่องกับความยากจนซึ่งยังดำรงอยู่ อุบัติการณ์โรคใหม่ๆ (เช่น Ebola, ไข้หวัดนก) การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเพิ่มขึ้นของโรคเรื้อรัง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและเศรษฐกิจต่างๆ เป็นต้น ดังนั้น การวางแผนพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพภายใต้หลักธรรมาภิบาล เพื่อให้กำลังคนด้านสุขภาพมีจำนวนเพียงพอ มีการกระจายอย่างเป็นธรรม มีสัดส่วนที่เหมาะสม และมีการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยหนึ่งในหลายปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาสุขภาพที่ยั่งยืนของประเทศ ที่สอดรับกับเป้าหมายสุขภาพในระดับโลกของ Post 2015 Sustainable Development Goals (SDGs) ด้วยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.) สำนักงานพัฒนานโนบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการพัฒนากำลังคนth_TH
dc.subjectการพัฒนาบุคลากรth_TH
dc.subjectบุคลากรสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth manpoweren_EN
dc.subjectMedical personnelen_EN
dc.subjectกำลังคนด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subjectธรรมาภิบาลth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการทบทวนระบบธรรมาภิบาลในด้านการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeReview of Good Governance of Human Resources for Health Planning for Strengthening Health System in Thailanden_EN
dc.typeTechnical Reporten_EN
dc.identifier.callnoW76 น488ก 2559
dc.identifier.contactno58-026
.custom.citationนารีรัตน์ ผุดผ่อง and กานต์วรินต์ ก่องกุลวัฒน์. "การทบทวนระบบธรรมาภิบาลในด้านการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพของประเทศไทย." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4455">http://hdl.handle.net/11228/4455</a>.
.custom.total_download462
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year6
.custom.downloaded_fiscal_year13

Fulltext
Icon
Name: hs2261.zip
Size: 647.7Kb
Format: application/zip
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record