แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

คู่มือการดูแลผู้สูงวัย : ไม้เท้าช่วยมอง

dc.contributor.authorพิมพา ขจรธรรมth_TH
dc.contributor.authorณุชนาฏ โต๊ะดีth_TH
dc.contributor.authorสุพิชชา สาไพรวัลย์th_TH
dc.contributor.authorอรอนงค์ สงเจริญth_TH
dc.contributor.authorจันจิรา เปี่ยมพูลth_TH
dc.date.accessioned2016-08-25T08:34:44Z
dc.date.available2016-08-25T08:34:44Z
dc.date.issued2559-07
dc.identifier.issn9789742992415
dc.identifier.otherhs2265
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4521
dc.description.abstractภาวะความบกพร่องทางการเห็นหรือพิการทางการเห็นเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงหรือความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัยหรือจากโรคภัยไข้เจ็บ เนื่องจาก “ตาและการมองเห็น” เป็นประสาทสัมผัสหลักที่ใช้ในการดำเนินชีวิต เมื่ออวัยวะนี้เสื่อมสภาพลงจนเกิดภาวะตาพร่ามัวกระทั่งมองไม่เห็น (ที่เรียกว่าตาเลือนรางหรือตาบอด) ย่อมทำให้เกิดความตระหนก ซึมเศร้า ท้อแท้หมดหวัง และเกิดความกลัว ไม่กล้าทำอะไรหรือออกไปไหน จนกลายเป็นคนที่สูญเสียสมรรถภาพ ตกอยู่ในภาวะที่ต้องพึ่งพิงผู้อื่น ทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว หรือ Orientation and Mobility (O&M) เป็นทักษะที่คิดค้นและพัฒนาโดยคนตาบอดและคนที่ทำงานกับคนตาบอด เพื่อให้คนตาบอดสามารถเดินทางไปไหนมาไหนและทำกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น ทักษะดังกล่าวได้รับการยอมรับว่ามีความสำคัญและจำเป็นกับคนตาบอดมากที่สุด มีการนำทักษะนี้มาใช้ในประเทศไทยกว่าสองทศวรรษแล้ว และได้รับการบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเห็น โดยภาครัฐต้องจัดให้มีบริการในเรื่องนี้ตามกฎหมาย ปัจจุบันประเทศไทยโดยการสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้พัฒนาบุคลากรเพื่อเป็นครูฝึกทักษะ O&M และได้จัดบริการฝึกอบรมทักษะนี้ให้กับคนพิการทางการเห็นทั่วประเทศ ผลจากการจัดบริการดังกล่าวพบว่า ผู้พิการทางการเห็นส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามหลังจากที่พวกเขาได้รับการฝึกและกลับบ้านไปแล้ว แต่ถ้าผู้ดูแลหรือคนในครอบครัวไม่เข้าใจ ไม่สนับสนุนหรือกระตุ้นให้ผู้สูงอายุนำทักษะที่ได้เรียนไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ผู้สูงอายุมักจะละเลยไม่ปฏิบัติ จนในที่สุดก็กลับไปตกอยู่ในภาวะพึ่งพิงเช่นเดิม การติดตามผลและพูดคุยกับผู้สูงอายุที่ได้รับการฝึกทักษะ O&M และผู้ดูแล ทำให้เราได้เห็นปัญหาและการปฏิบัติจริงในพื้นที่ ดังนั้นจึงได้จัดทำคู่มือนี้ให้ผู้ดูแลนำไปใช้ประโยชน์ในการทบทวนเพื่อสนับสนุนและกระตุ้นให้ผู้สูงอายุใช้ทักษะที่ได้ฝึกฝนมาในการดำเนินชีวิตประจำวัน นอกจากนั้นคู่มือเล่มนี้ยังเพิ่มเนื้อหาเรื่องการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อเอื้อให้ผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการเห็นได้ใช้ชีวิตประจำวันในบ้านและชุมชนอย่างสะดวกปลอดภัย เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการเห็นหลุดพ้นจากภาวะพึ่งพิงหรือภาวะติดบ้าน ไม่เป็นภาระให้ลูกหลาน เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณค่ามีศักดิ์ศรี และมีความภาคภูมิใจในตนเองth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ,มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--สุขภาพและอนามัยth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--การดูแลth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleคู่มือการดูแลผู้สูงวัย : ไม้เท้าช่วยมองth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoWT100 พ722ค 2559
dc.identifier.contactno58-057
.custom.citationพิมพา ขจรธรรม, ณุชนาฏ โต๊ะดี, สุพิชชา สาไพรวัลย์, อรอนงค์ สงเจริญ and จันจิรา เปี่ยมพูล. "คู่มือการดูแลผู้สูงวัย : ไม้เท้าช่วยมอง." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4521">http://hdl.handle.net/11228/4521</a>.
.custom.total_download480
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year7

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2265.pdf
ขนาด: 13.74Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย