แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดในจังหวัดอุบลราชธานี

dc.contributor.authorพนัชญา ขันติจิตรth_TH
dc.contributor.authorPhanatchaya Khantichitrth_TH
dc.contributor.authorภัทระ แสนไชยสุริยาth_TH
dc.contributor.authorPattara Sanchaisuriyath_TH
dc.contributor.authorพิมพ์นิชา เทพวัลย์th_TH
dc.contributor.authorPimnicha Thepphawanth_TH
dc.date.accessioned2016-09-20T03:21:43Z
dc.date.available2016-09-20T03:21:43Z
dc.date.issued2559-09
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 10,3 (ก.ค.-ก.ย. 2559) : 277-288th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4549
dc.description.abstractการรักษาผู้ป่วยภาวะสมองขาดเลือดด้วย rtPA ในระยะเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง หรือ 180 นาทีหลังเกิดอาการ จะเพิ่มโอกาสหายหรือดีขึ้นได้ ตรงกันข้าม การมารับการรักษาช้าอาจจะนำไปสู่การเกิดความพิการถาวรหรือเสียชีวิตได้ การศึกษาเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระยะเวลาในการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดที่โรงพยาบาล และเพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการมารับการรักษาดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด จำนวน 300 ราย ที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 โดยใช้เครื่องมือ 3 ชุด ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินอาการโรคสมองขาดเลือด และ 3) แบบประเมินระยะเวลาการมารับการรักษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษา พบว่าในจำนวนผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดทั้งหมด 300 คนนั้น มีผู้ป่วยที่มาถึงโรงพยาบาลช้ากว่า 180 นาที จำนวน 229 คน (ร้อยละ 76.3) ค่ามัธยฐานของการใช้ระยะเวลาตั้งแต่เกิดอาการจนเดินทางมาถึงห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล (pre-hospital time) เท่ากับ 302.5 นาที ค่ามัธยฐานของระยะเวลาตั้งแต่มาถึงห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์จนถึงได้รับการรักษา (in-hospital time) เท่ากับ 107.5 นาที ค่ามัธยฐานของระยะเวลาตั้งแต่เริ่มเกิดอาการจนถึงได้รับการรักษา 590 นาที และพบว่า ระยะเวลาตั้งแต่เกิดอาการจนกระทั่งเดินทางมาถึงห้องฉุกเฉิน ระยะทางจากสถานที่เกิดอาการจนถึงโรงพยาบาล ระยะเวลาตั้งแต่เดินทางมาถึงห้องฉุกเฉินจนถึงได้รับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับระยะเวลาตั้งแต่เกิดอาการจนถึงได้รับการรักษา (rs = 0.661, 0.185, 0.235, p < 0.01) ส่วนระดับความรุนแรงของอาการที่ประเมินโดยใช้คะแนน NIHSS มีความสัมพันธ์ทางลบกับระยะเวลาตั้งแต่เกิดอาการจนถึงได้รับการรักษา (rs = 0.129, p < 0.05) สรุป ผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีส่วนใหญ่มารับการรักษาช้า โดยระยะ เวลาตั้งแต่เกิดอาการจนเดินทางมาถึงห้องฉุกเฉินมีค่าความสัมพันธ์สูงสุดกับการมารับการรักษาช้า การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงและญาติ ตลอดจนการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและระบบส่งต่อของโรงพยาบาล โดยลดขั้นตอนและระยะเวลาในการส่งต่อผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดนั้น มีความสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาทันเวลาth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectสมองขาดเลือดth_TH
dc.subjectหลอดเลือดสมอง, โรคth_TH
dc.subjectIschemic Stroketh_TH
dc.titleระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดในจังหวัดอุบลราชธานีth_TH
dc.title.alternativeTime-to-Treatment of Stroke Patients: Experience from Ubon Ratchathani Province, Thailand.th_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeTreating ischemic stroke patients with recombinant tissue plasminogen activator (rtPA) no more than 3 hours or 180 minutes after the stroke can increase the chance of recovery or improved condition. If, however, treatment is delayed, the potential outcome may be permanent disability or death. This descriptive study was conducted with the objective of assessing time elapsed before treatment in ischemic stroke patients and analyzing the factors influencing the amount of time elapsed before ischemic stroke patients receive hospital treatment. The sample group was composed of 300 ischemic stroke patients treated at Sanphasitthiprasong Hospital in the province of Ubon Ratchathani, Thailand. Data were collected from November 2014 to February 2015. The following three sets of instruments were employed: 1) Demographic Data Questionnaire; 2) Ischemic Stroke Evaluation Form and 3) Time to Treatment Evaluation Form. Data were analyzed by descriptive statistics and the correlations by using Spearman’s correlation coefficient. According to the research findings, 229 of the 300 ischemic stroke patients (76.3%) had pre-hospital times of more than 180 minutes. The median pre-hospital time from the occurrence of stroke to hospital arrival was equal to 302.5 min. The amount of time elapsed from arrival in the emergency room at Sapphasitthiprasong Hospital until receipt of treatment (in-hospital time) was equal to 107.5 min. Therefore, the median time from the initial presenting symptoms until treatment was equal to 590 min. Furthermore, the pre-hospital time, the distance from the site of the incident to the hospital and the in-hospital time from arrival until receiving laboratory test results were found to be positively correlated with the pre-hospital time from the initial presenting symptoms until receipt of treatment (rs = 0.661, 0.185, 0.235, p < 0.01). The severity of symptoms evaluated with National Institute of Health Stroke Scale (NIHSS) scores was found to be negatively correlated with pre-hospital time (rs = - 0.129, p < 0.05). In summary, most ischemic stroke patients within the boundaries of Ubon Ratchathani receive delayed treatment in which the pre-hospital time has the highest correlation with receipt of treatment and instructing patients, people at risk for ischemic stroke and their relatives. Moreover, the development of an emergency medical service provision system and a hospital referral system that minimizes procedures and time in transferring ischemic stroke patients is vital to helping ischemic stroke patients receive timely treatment.th_TH
.custom.citationพนัชญา ขันติจิตร, Phanatchaya Khantichitr, ภัทระ แสนไชยสุริยา, Pattara Sanchaisuriya, พิมพ์นิชา เทพวัลย์ and Pimnicha Thepphawan. "ระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดในจังหวัดอุบลราชธานี." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4549">http://hdl.handle.net/11228/4549</a>.
.custom.total_download860
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month7
.custom.downloaded_this_year26
.custom.downloaded_fiscal_year42

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri_journal_v10n ...
ขนาด: 176.8Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1326]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย