แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การตอบสนองของนโยบายและผลลัพธ์ของบัตรประกันสุขภาพคนต่างด้าวและผู้ติดตามในประเทศไทย

dc.contributor.authorระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์th_TH
dc.contributor.authorวีระศักดิ์ พุทธาศรีth_TH
dc.contributor.authorคนางค์ คันธมธุรพจน์th_TH
dc.date.accessioned2017-04-03T06:48:04Z
dc.date.available2017-04-03T06:48:04Z
dc.date.issued2559-08-30
dc.identifier.otherhs2323
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4684
dc.description.abstractปัญหาเรื่องสุขภาพของคนต่างด้าวเป็นประเด็นที่สำคัญในหลายประเทศ เนื่องด้วยในปัจจุบันการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีทำให้การเคลื่อนย้ายถิ่นของประชากรทำได้สะดวกมากขึ้น ประเทศไทยก็มีความต้องการแรงงานต่างด้าวมากเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ ทำให้ปัญหาเรื่องสุขภาพคนต่างด้าวเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากทุกรัฐบาล รัฐบาลจึงดำเนินนโยบายขายบัตรประกันสุขภาพแก่แรงงานต่างด้าวที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 และบริหารจัดการระบบโดยกลุ่มประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ควบคู่กับกระบวนการการพิสูจน์สัญชาติของกระทรวงมหาดไทยและการขอใบอนุญาตทำงานของกระทรวงแรงงาน ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนถึงการประเมินผลการดำเนินงานและการตอบสนองของนโยบายดังกล่าว เหตุผลดังกล่าวจึงนับเป็นวัตถุประสงค์หลักของการศึกษานี้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลัก 4 ข้อคือ (1) เพื่อทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับรูปแบบการจัดประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าวและทัศนคติของผู้ให้บริการสุขภาพแก่คนต่างด้าวในวรรณกรรมต่างประเทศ (2) เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ทัศนคติของผู้ให้บริการและทัศนคติของคนต่างด้าวต่อการดำเนินการนโยบายบัตรประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าวในพื้นที่จริง (3) เพื่อประเมินปริมาณการใช้บริการของผู้มีบัตรประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าวและจำนวนเงินที่ผู้ป่วยต้องจ่ายจากการใช้บริการ และ (4) เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการพัฒนาและปรับปรุงนโยบายบัตรประกันสุขภาพในอนาคต ระเบียบวิธีวิจัย ผู้วิจัยเลือกจังหวัดระนองเป็นพื้นที่ศึกษา และใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยวิธีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้บริการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน 24 คนและคนต่างด้าว 11 คน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากข้อมูลการใช้บริการของผู้ป่วยซึ่งเก็บที่สถานพยาบาลการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการแก่นสาระ (thematic analysis) การวิจัยเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโมเดลทางเศรษฐมิติ ผลการศึกษาพบว่าระบบประกันสุขภาพคนต่างด้าวในประเทศไทยมีความซับซ้อนและค่อนข้างเปิดกว้างเมื่อเทียบกับการประกันสุขภาพคนต่างด้าวในหลายประเทศ เนื่องจากไม่จำกัดเฉพาะแรงงานต่างด้าวแต่รวมถึงคนต่างด้าวและผู้ติดตามทั้งหมด อย่างไรก็ตามการดำเนินนโยบายยังพบปัญหาและความท้าทายในการปฏิบัติการมาก ความซับซ้อนนี้เนื่องจาก (1) นโยบายบัตรประกันสุขภาพมีเงื่อนไขเรื่องการขึ้นทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทยและการขอใบอนุญาตทำงานจากกระทรวงแรงงาน แต่โดยข้อเท็จจริงการบังคับใช้นโยบายการขึ้นทะเบียนก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพจริง คนต่างด้าวจำนวนมากไม่ได้อยู่ในระบบการจ้างงาน และนโยบายเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง (2) บริบทของจังหวัดระนองซึ่งมีพรมแดนติดต่อกับประเทศพม่าเป็นระยะทางยาวไกล ทำให้มีคนต่างด้าวเข้าออกในพื้นที่ได้ตลอดเวลา ซึ่งจำนวนมากไม่ได้เข้ามาเพื่อเป็นแรงงาน คนต่างด้าวจำนวนหนึ่งจึงต้องอาศัยระบบนายหน้าช่วยรับรองการเป็นนายจ้างเพื่อจะได้มีโอกาสขึ้นทะเบียนและเข้าถึงบัตรประกันสุขภาพ (3) กระทรวงสาธารณสุขเองก็มีศักยภาพไม่เพียงพอในการติดตามและประเมินผลการดำเนินนโยบายและทำให้การสื่อสารนโยบายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (4) สถานพยาบาลเองมีทัศนคติว่าการประกันสุขภาพคนต่างด้าวไม่คุ้มทุน เนื่องด้วยมักมีเฉพาะคนป่วยมาซื้อบัตร และรายได้จากการขายบัตรรวมที่สถานพยาบาลเป็นรายๆ ไป ไม่ได้กระจายความเสี่ยงในระดับประเทศสถานพยาบาลในพื้นที่จึงมีการปรับตัวในลักษณะต่างๆ เช่น อนุญาตให้เฉพาะคนที่แข็งแรงเท่านั้นที่ซื้อบัตรได้ หรือกำหนดช่วงเวลาที่บัตรจะมีผลนำมาใช้ได้หลังจากซื้อบัตรแล้ว (5) การปรับตัวที่สำคัญประการหนึ่งของสถานพยาบาลในพื้นที่มาตรการหนึ่งคือ การจ้างคนต่างด้าวมาทำงานในลักษณะพนักงานสาธารณสุขต่างด้าว เพื่อช่วยประสานระหว่างผู้ให้บริการกับคนต่างด้าวในชุมชน แต่ความยั่งยืนของนโยบายยังมีปัญหามาก เนื่องจากติดขัดในข้อกฎหมายเรื่องการจ้างคนต่างด้าวให้เป็นพนักงานในหน่วยงานของรัฐได้ ในปัจจุบันจึงใช้วิธีการขึ้นทะเบียนพนักงานสาธารณสุขต่างด้าวเสมือนเป็นลูกจ้างคนรับใช้ในบ้านแทน และใช้งบประมาณในลักษณะการจัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันโรค การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณพบว่าอัตราการใช้บริการของผู้ที่บัตรประกันสุขภาพคนต่างด้าวต่ำกว่าสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประมาณ 3-4 เท่า และผลของการมีบัตรประกันสุขภาพไม่ได้เพิ่มอัตราการใช้บริการสำหรับผู้ที่เคยมารับการรักษาพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยที่เพิ่มการใช้บริการที่สำคัญ คือปัจจัยทางคลินิกนั่นคือ ภาวะการเจ็บป่วยของผู้ป่วยเอง นอกจากนั้นยังพบว่าบัตรประกันสุขภาพคนต่างด้าวช่วยลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยจากการใช้บริการได้อย่างมีนัยสำคัญ ประมาณ 157-756 บาทต่อครั้ง สำหรับบริการผู้ป่วยนอก และประมาณ 2,706 บาทต่อครั้งสำหรับการบริการผู้ป่วยในth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectคนต่างด้าว--สุขภาพและอนามัยth_TH
dc.subjectคนต่างด้าว--แง่อนามัยth_TH
dc.subjectระบบประกันสุขภาพth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการตอบสนองของนโยบายและผลลัพธ์ของบัตรประกันสุขภาพคนต่างด้าวและผู้ติดตามในประเทศไทยth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeAt the present age, health of migrants is an issue on a spotlight in many countries. This is due to a rapid economic growth and a swift change in communication and transportation technology around the globe. Thailand also has a huge demand on migrant labour, and the recent governments always paid much attention on this matter. In 2004, the government introduced 'Health Insurance Card' for cross policy for cross-border migrants, who were not covered by the Social Health Insurance (SHI). The insurance was regulated by the Health Insurance Group (HIG) under the Ministry of Public Health (MOPH), and was tied with the nationality verification process (managed by the Ministry of Interior (MOI)) and the registration for legitimate work permit (managed by the Ministry of Labour (MOL)). So far, there has been very few studies exploring the management and performance of the insurance. The aforementioned reason thus becomes the objectives of this study. Study objectives The study ahas 4 main objectives: (1) to systematically review evidence of the management of health insurance and the attitudes of healthcare providers in healthcare practice for migrants from international literature, (2) to explore attitudes of local healthcare providers and migrant patients on the operation of health insurance policy for migrants in the real setting, (3) to assess the effect of the insurance on volume of use and out of pocket payment (OOP) of migrants, relative to the uninsured migrants and Thai beneficiaries, and (4) to synthesise policy recommendations for better management of the health insurance policy for migrants in the future. Methodology Ranong province was served as study site. The study employed both qualitative and quantitative methods. Data collection techniques were composed of: (1) a systematic review, (2) in-depth interviews with 24 local healthcare providers and 11 migrant patients, and (3) the investigation of routine faciliy-based data. Thematic analysis was used for qualitative data analysis and econometric models were used for quantitative data analysis. Results The management of health insurance policy for cross-border migrants in Thailand was quite complex. The policy was also open to all types of migrants. However, there has been a number of operational problems and challenges because: (1) In theory, the process of buying the insurance card is tightly linked with the acquisition of legitimate residence permit, managed by the MOI, and the registration of work permit, regulated by the MOL. In fact, the enforcement of such regulation is ineffective. A large number of migrants were not registered for the work permit. In addition, the registration policies (by the three ministries) were inconsistent and frequently changed over time, (2) The policy does not fir the local context of Ranong province since the province has a long border connecting to Myanmar, which renders the cross-border control difficult. Many migrants enter the country for various purposes rather than seeking for jobs. Thus, some migrants relied on "brokers" to make them accessible to the registration process (in order to acquire the work permit and then be eligible to buy the insurance card), (3) The MOPH does not have sufficient institutional capacity in regulating, and monitoring the performance of each facility in implementing the insurance scheme. This problem is intermingled with inadequate communication between the MOPH and the local authorities, (4) Many healthcare providers viewed that the insurance is always running deficit. This is because the healthy migrants are not willing to buy the card, and the pooling size is too small (the card revenue is collected at each individual facility). Accordingly, some health facilities adapt the policy by various means, such as allowing only healthy migrants to buy the card, andimposing a lag time between the starting valid day and the time of buying the card, (5) One of adaptive measures of health facility is hiring migrants to work as 'migrant health workers (MHW)', serving as bridging personnel between migrants in nearby communities and the local providers. However, the sustainability of this measure is questionable due to the limitation of law on the work of migrants, which still disallows official authorities to hire migrants as official employees. Many healthcare providers hence finds a way out by hiring migrants as their house maids, but in fact these migrant employees are still working as MHWs. The quantitative analysis shows that the utilisation rate of migrants was about 3-4 folds was low as the Thai beneficiaries, covered by the Universal Coverage (UC) scheme. The absolute effect of having the card (after adjusting all covariates) did not significantly increase the volume of use of the patients, who ever visited a facility. The key factor of increasing the use is clinical factor that is a patient's disease status per se. Moreover, the card was proved to reduce the OOP of migrants at point of care by 157-756 Baht per outpatient visit and 2,706 Baht per inpatient visit.th_TH
dc.identifier.callnoW160 ร243ก 2559
.custom.citationระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์, วีระศักดิ์ พุทธาศรี and คนางค์ คันธมธุรพจน์. "การตอบสนองของนโยบายและผลลัพธ์ของบัตรประกันสุขภาพคนต่างด้าวและผู้ติดตามในประเทศไทย." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4684">http://hdl.handle.net/11228/4684</a>.
.custom.total_download368
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year12

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2323.pdf
ขนาด: 5.955Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย