แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

กรณีศึกษา : การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

dc.contributor.authorกานต์นะรัตน์ จรามรth_TH
dc.contributor.authorKarnnarut Jaramornen_EN
dc.contributor.authorนันทวดี เนียมนุ้ยth_TH
dc.contributor.authorNunthawadee Niamnuyen_EN
dc.contributor.authorไพโรจน์ เสาน่วมth_TH
dc.contributor.authorPairoj Saonuamen_EN
dc.date.accessioned2017-06-28T05:38:11Z
dc.date.available2017-06-28T05:38:11Z
dc.date.issued2560-06-30
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 11,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2560) : 268-276th_TH
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4726
dc.description.abstractการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นับเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทย มีการกำหนดมาตรการเพื่อลดการบริโภคทั้งมาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางสังคม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการลดพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) แบ่งออกเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 ทบทวนเอกสารและศึกษาบริบทของชุมชน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการดำเนินงานที่ชุมชนมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบเสริมสร้างพลังอำนาจ (empowerment evaluation) และระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการดำเนินงานโดยวิธีการประเมินแบบผสมผสาน (mixed evaluation method) โดยชุมชนมีส่วนร่วมเพื่อลดพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ ผู้นำชุมชนและผู้เกี่ยวข้องจำนวน 30 คน ประกอบด้วยกำนัน (1 คน), ผู้ใหญ่บ้าน (1 คน), อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (7 คน), ครู (1 คน), บุคลากรสาธารณสุขจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (2 คน), สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ (5 คน), สมาชิกอาสาสมัครพัฒนาสังคม (1 คน), สมาชิกเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (4 คน) และแกนนำเยาวชน (8 คน) จัดแบ่งเป็น 2 กลุ่มแบบสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) และจากการสนทนากลุ่ม (focus group discussion) ผลการวิจัยพบว่า ในขั้นตอนของการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานนั้น กลุ่มตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 80 เข้าร่วมกระบวนการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานในระดับสูงสุด หมายถึงกลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพ และในขั้นตอนการศึกษาผลการใช้รูปแบบการดำเนินงาน พบว่า ชุมชนมีการดำเนินมาตรการทางสังคม เช่น การสำรวจผู้ที่ดื่มสุราในชุมชน, ผู้นำชุมชนเป็นต้นแบบในการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, การขอความร่วมมือจากเจ้าภาพงานบุญหรืองานประเพณีให้จัดเป็นเขตปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมาตรการทางสังคมส่งผลให้ชุมชนและเครือข่ายมีความเข้มแข็ง หน่วยงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลง โดยประเมินได้จากการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ วัด โรงเรียนและหน่วยงานเป็นเขตปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประชาชนมีความรู้เรื่องโทษหรือพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเกิดนวัตกรรมชุมชนเพื่อลดพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ โครงการรักเพื่อนต้องชวนเพื่อน และโครงการคนใหม่หัวใจแกร่ง สรุปได้ว่า การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการลดพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น สามารถลดพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectแอลกอฮอล์th_TH
dc.subjectการดื่มสุราth_TH
dc.titleกรณีศึกษา : การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์th_TH
dc.title.alternativeCase Study: Community Participation Development Model to Reduce Alcohol Consumptionen_EN
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeAlcohol consumption is an important problem of Thailand which law and social measures for reducing alcohol consumption have been provided. The purpose of this research was to develop community participation model to reduce alcohol consumption behavior and study the effects of this model. It was a research and development study, included 3 phases: the first phase was reviewing documents and studying community context, the second phase was developing community participation model and the final phase was studying the effects of the community participation model in reducing alcohol consumption behavior. The sample size of 30 persons consisted of community leaders and relevant persons. They were one village headman, one subdistrict headman, seven health volunteers, one teacher, two health officers, five members of elderly club, one social development volunteer, four members of Stopdrink network and eight young leaders, divided into two groups by simple random sampling. Data were collected from in-depth interview and focus group discussion and analyzed by content analysis. The results showed that more than 80% of the sample had extensively participated in the process of model development, that is, they participated in every step of health promotion activity. The results of the model included social measures by the community, such as surveying drinking people in community, the community leaders acted as role models to reduce alcohol consumption, asking for alcohol free zone in the religious ceremony and the festival. The social measures highly empowered the community and the network. The relevant agencies participated in the health promotion activities. The people’s alcohol consumption behavior reduced, evaluated from sales in the community. Temples, schools, and public offices were alcohol free zones. The people knew more about toxicity of alcohol and they created innovation of reducing alcohol consumption behavior in the community such as “Love friends, suggest friends” and “New people with strong heart” projects. It could be concluded that the development of community participation model could reduce alcohol consumption behavior.en_EN
.custom.citationกานต์นะรัตน์ จรามร, Karnnarut Jaramorn, นันทวดี เนียมนุ้ย, Nunthawadee Niamnuy, ไพโรจน์ เสาน่วม and Pairoj Saonuam. "กรณีศึกษา : การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4726">http://hdl.handle.net/11228/4726</a>.
.custom.total_download3043
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month27
.custom.downloaded_this_year98
.custom.downloaded_fiscal_year193

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri_journal_v11n ...
ขนาด: 246.0Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1326]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย