แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยใช้อุปกรณ์ฟื้นฟูและอุปกรณ์ช่วยเหลือจากต้นทุนภูมิปัญญาชุมชน

dc.contributor.authorศิวิไลช์ วนรัตน์วิจิตรth_TH
dc.contributor.authorCivilaiz Wanaratwichiten_EN
dc.contributor.authorอรวรรณ กีรติสิโรจน์th_TH
dc.contributor.authorOrawan Keeratisirojen_EN
dc.date.accessioned2017-09-12T03:09:22Z
dc.date.available2017-09-12T03:09:22Z
dc.date.issued2560-07
dc.identifier.otherhs2355
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4769
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาและเผยแพร่ต้นทุนความรู้ภูมิปัญญาชุมชนด้านอุปกรณ์สำหรับคนพิการที่บ้าน และพัฒนาระบบการดูแลคนพิการโดยใช้อุปกรณ์ต้นทุนความรู้ภูมิปัญญาในชุมชน การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ค้นหา รวบรวม วิเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลด้านอุปกรณ์คนพิการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามคุณภาพชีวิตและความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน แบบบันทึกข้อมูลอุปกรณ์ และแบบสัมภาษณ์ จากคนพิการ และครอบครัวคนพิการ รวม 70 คน ในจังหวัดพิษณุโลก ระยะที่ 2 พัฒนาระบบการดูแลโดยใช้อุปกรณ์ต้นทุนความรู้ภูมิปัญญาในชุมชน โดยใช้รูปแบบของวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตและแบบประเมินสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวใช้แนวทางสัมภาษณ์ สนทนากลุ่มและการระดมสมอง เก็บรวบรวมข้อมูล จาก 1) ผู้บริหารสาธารณสุขระดับอำเภอ 2) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขปฏิบัติการระดับตำบล 3) ผู้นำชุมชน 4) เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล 5) จิตอาสาสร้างอุปกรณ์ 6) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 7) คนพิการ และ8) ครอบครัวคนพิการ รวมทั้งหมด จำนวน 48 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน และ Paired t-test ผลการศึกษา 1) ผลการค้นหาต้นทุนความรู้ภูมิปัญญาชุมชนด้านอุปกรณ์สำหรับคนพิการที่บ้าน พบอุปกรณ์จากภูมิปัญญาชุมชน จำนวน 53 ชิ้น ได้รับข้อเสนอแนะในเชิงวิชาการ ด้านความปลอดภัยและข้อระวังในวิธีการใช้อุปกรณ์ 2) ผลการพัฒนาระบบการดูแลคนพิการ โดยใช้อุปกรณ์ต้นทุนความรู้ภูมิปัญญาในชุมชน พบว่าระบบฯ ประกอบด้วย 2 ระดับ คือ การสนับสนุนของระดับอำเภอ ได้แก่ 1) การกำหนดวิสัยทัศน์ และเป้าหมาย 2)กำหนดให้มีศูนย์การจัดการ 3) พัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านการดูแลคนพิการ 4) สนับสนุนงบประมาณ 5) ศูนย์อุปกรณ์เพื่อคนพิการได้รับจากภาครัฐและบริจาค 6) จัดช่องทางการให้คำปรึกษา สื่อสารตลอด 24 ชั่วโมง 7) ผู้บริหารระดับสูงของสาธารณสุข และนายอำเภอให้การสนับสนุน และขวัญกำลังใจส่วนกระบวนการดูแลคนพิการฯในระดับตำบลและชุมชนนั้น ประกอบด้วย 1) ประเมินสภาวะความพิการและศักยภาพความพิการ เพื่อหาความต้องการที่จำเป็น (Need) 2) ประสานงานกับศูนย์สุขภาพชุมชนของโรงพยาบาล เพื่อจัดทำแผน และการสนับสนุนจากแหล่งอื่น 3) คิดและออกแบบการผลิตอุปกรณ์ในการดูแลคนพิการ 4) นักกายภาพบำบัดตรวจยืนยันความถูกต้องเชิงวิชาการและความปลอดภัย 5) ร่วมดูแลคนพิการที่บ้านทุกภาคส่วน 6) พัฒนาความรู้ระหว่างดำเนินการแก่ผู้ดูแล 7) ร่วมเผยแพร่ผลงานทางกลุ่มไลน์ 8) ประเมินผลการใช้อุปกรณ์ ผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบ พบว่า คุณภาพชีวิตของคนพิการดีขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectคนพิการth_TH
dc.subjectภูมิปัญญาท้องถิ่นth_TH
dc.subjectอุปกรณ์สำหรับคนพิการth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยใช้อุปกรณ์ฟื้นฟูและอุปกรณ์ช่วยเหลือจากต้นทุนภูมิปัญญาชุมชนth_TH
dc.title.alternativeImproving the quality of life of people with disabilities by using the rehabilitative devices and assistive devices from local wisdomen_EN
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aims to identify and disseminate the local wisdom knowledge on equipment for people with disabilities and develop care systems for people with disabilities by using the rehabilitative devices and assistive devices from local wisdom. There were 2 phases in this research; phase 1: find, collect, analyze and disseminate information on the disabled equipment. The data was collected by quality of life questionnaire, the Barthel Activities of Daily Living, data recorder, and interview guideline with 70 disabled people and families with disabilities in Phitsanulok Province. Phase 2: development of care systems for people with disabilities by using the rehabilitative devices and assistive devices from local wisdom within stages of action research. The data was collected by quality of life questionnaire, Barthel ADL index, group discussion, interview, and brainstorming guideline from 48 of 1) District Health Officers 2) District Sub District Health Officers 3) Community Leaders 4) Sub District Administration Officers 5) Volunteers 6) Village Health Volunteers 7) Disabled People And 8) families of PWDs. Content analysis was used analysis in qualitative data. Frequency, mean, percentage, median, deviations, and Paired t-test were used analysis quantitative data. The results found that 1) there were 53 the rehabilitative devices and assistive devices from local wisdom. The security and be careful in how to use the device were advised. 2) The development of care systems for people with disabilities by using the rehabilitative devices and assistive devices from local wisdom was found that the system consisted of two levels, namely, the support of the district level, 1) vision and goals, 2) the management center, and 3) the development of human resources for the care of the disabled. 4) supporting budget 5) The Disability Resource Center 6) providing 24-hour for counseling 7) supporting by health organization administrator and the prefect. The process of caring for people with disabilities at the sub-district and community level consisted of: 1) assessment of disability condition and ability for finding the need 2) coordinate with the community health center of the hospital for plan 3) think and design the production of equipment to care for people with disabilities; 4) physiotherapists to verify academic accuracy and safety; 5) take care of people with disabilities at home; 6) develop knowledge between carry out of caregiver. 7) publish the work on the line group and 8) evaluate the use of the equipment. The results of the development of the system found that the quality of life of the disabled and the movement of people with disabilities improved.en_EN
dc.identifier.callnoHV1568 ศ557ก 2560
dc.identifier.contactno59-038
dc.subject.keywordภูมิปัญญาชุมชนth_TH
.custom.citationศิวิไลช์ วนรัตน์วิจิตร, Civilaiz Wanaratwichit, อรวรรณ กีรติสิโรจน์ and Orawan Keeratisiroj. "การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยใช้อุปกรณ์ฟื้นฟูและอุปกรณ์ช่วยเหลือจากต้นทุนภูมิปัญญาชุมชน." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4769">http://hdl.handle.net/11228/4769</a>.
.custom.total_download363
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year5

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2355.pdf
ขนาด: 3.355Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย