Show simple item record

Implementation, Obstacles and Needs of Hospitals in Thailand in Preventing Tuberculosis Transmission

dc.contributor.authorอะเคื้อ อุณหเลขกะth_TH
dc.contributor.authorAkeau Unahalekhakaen_EN
dc.contributor.authorสุชาดา เหลืองอาภาพงศ์th_TH
dc.contributor.authorSuchada Lueang-a-papongen_EN
dc.contributor.authorจิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อth_TH
dc.contributor.authorJittaporn Chitreecheuren_EN
dc.date.accessioned2018-01-03T04:39:20Z
dc.date.available2018-01-03T04:39:20Z
dc.date.issued2560-12
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 11,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2560) : 529-539th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4815
dc.description.abstractการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาลส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย บุคลากรและโรงพยาบาล การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินการ อุปสรรคและความต้องการการสนับสนุนของโรงพยาบาลในประเทศไทยในการป้องกันการแพร่กระจายวัณโรคในโรงพยาบาล รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากแนวทางการป้องกันการแพร่กระจายวัณโรคในสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ให้พยาบาลควบคุมการติดเชื้อของโรงพยาบาล 524 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่งจำนวน 93 แห่ง โรงพยาบาลชุมชนจำนวน 316 แห่งซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างโรงพยาบาลชุมชนร้อยละ 45 ของโรงพยาบาลชุมชนทั้งหมด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 8 แห่ง โรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 33 แห่ง และโรงพยาบาลเอกชนจำนวน 74 แห่งที่สุ่มจากโรงพยาบาลเอกชน 111 แห่งที่มีจำนวนเตียงตั้งแต่ 100 เตียงขึ้นไปที่ตั้งอยู่ในทุกภาคของประเทศ ระยะเวลาในการวิจัยตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ได้รับแบบสอบถามกลับคืนร้อยละ 72.5 ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 93.6, 73.9 และ 47.3 ของโรงพยาบาลทั้งหมดที่ศึกษามีการดำเนินการตามมาตรการด้านการป้องกันโรคในระบบทางหายใจ ด้านการบริหารและด้านการควบคุมสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ อุปสรรคในการดำเนินการป้องกันวัณโรคของโรงพยาบาลที่พบมากที่สุด คือ ห้องแยกผู้ป่วยมีไม่เพียงพอ (ร้อยละ 80.2) รองลงมาคือไม่มีสถานที่ที่เหมาะสมในการตรวจผู้ป่วยวัณโรค (ร้อยละ 51.8) และไม่มีเวลาในการคัดกรองผู้ป่วยสงสัยวัณโรค (ร้อยละ 50.2) สิ่งที่โรงพยาบาลต้องการการสนับสนุนมากที่สุดคือ ที่ปรึกษาด้านระบบระบายอากาศ (ร้อยละ 86.3) รองลงมาคือ การอบรมบุคลากรผู้ให้การดูแลผู้ป่วยวัณโรค (ร้อยละ 76.8) แนวทางการป้องกันการแพร่กระจายวัณโรคในโรงพยาบาล (ร้อยละ 71.3) แนวทางการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคที่แผนกผู้ป่วยนอก (ร้อยละ 69.7) และแบบคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคปอด (ร้อยละ 60.2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนแนวทางการดำเนินการป้องกันการแพร่กระจายวัณโรค รวมทั้งแนวทางการให้ความรู้แก่บุคลากรของโรงพยาบาลเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยวัณโรคและการป้องกันการแพร่กระจายวัณโรคแก่โรงพยาบาลทุกแห่ง สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำปรึกษาแก่โรงพยาบาลด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะระบบระบายอากาศ เพื่อให้โรงพยาบาลสามารถดำเนินการป้องกันวัณโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectวัณโรคth_TH
dc.subjectวัณโรค--การติดเชื้อth_TH
dc.subjectวัณโรค--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectTuberculosisth_TH
dc.titleการดำเนินการ อุปสรรคและความต้องการของโรงพยาบาลในประเทศไทยในการป้องกันการแพร่กระจายวัณโรคth_TH
dc.title.alternativeImplementation, Obstacles and Needs of Hospitals in Thailand in Preventing Tuberculosis Transmissionen_EN
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeTransmission of tuberculosis (TB) has a negative impact on patients, personnel and hospitals. This descriptive study aimed to determine implementation, obstacles and supporting needs of Thai hospitals in preventing TB transmission. Data were collected by using self-administered questionnaire developed by the researchers from the Guidelines for Preventing the Transmission of Mycobacterium tuberculosis in Health-Care Settings 2005 of the US Centers for Disease Control and Prevention. The questionnaire was sent to an infection control nurse of 524 hospitals, including 93 regional and general government hospitals, 316 community hospitals randomly selected from 45% of all community government hospitals, 8 university government hospitals, 33 other government hospitals and 74 private hospitals randomly selected from 111 private hospitals with 100 beds and more in all regions of the country. The study was conducted during May to September 2009. The response rate was 72.5%. The study results revealed that 93.6%, 73.9% and 47.3% of hospitals have implemented measures of respiratory tract disease prevention, administrative controls, and environmental controls, respectively. The most important obstacle in preventing TB transmission in hospitals was an insufficient number of isolation rooms (80.2%), other obstacles were having an inappropriate area to conduct the physical examination for TB patients (51.8%) and insufficient time for screening suspected TB patients (50.2%). Most hospitals needed technical support for their ventilation system (86.3%), training for personnel in charge of TB patients (76.8%), guidelines for preventing TB transmission in hospitals (71.3%), guidelines for screening TB patients in the outpatient department (69.7%) and screening forms for TB patients (60.2%). Relevant organization should provide guidelines for preventing TB transmission, including guideline for educating hospital personnel on caring for TB patients and preventing TB transmission for every hospital and support expert consultation on hospital environment, especially ventilation system, so that the hospitals can prevent TB transmission efficiently.en_EN
.custom.citationอะเคื้อ อุณหเลขกะ, Akeau Unahalekhaka, สุชาดา เหลืองอาภาพงศ์, Suchada Lueang-a-papong, จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ and Jittaporn Chitreecheur. "การดำเนินการ อุปสรรคและความต้องการของโรงพยาบาลในประเทศไทยในการป้องกันการแพร่กระจายวัณโรค." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4815">http://hdl.handle.net/11228/4815</a>.
.custom.total_download2838
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month28
.custom.downloaded_this_year149
.custom.downloaded_fiscal_year273

Fulltext
Icon
Name: hsri_journal_v11n ...
Size: 251.8Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1334]
    บทความวิชาการ

Show simple item record