Show simple item record

The application of (1->3)-β-D-glucan: a surrogate biomarker for therapeutic monitoring in pythiosis patients

dc.contributor.authorอริยา จินดามพรth_TH
dc.contributor.authorอัษฎาศ์ ลีฬหวนิชกุลth_TH
dc.contributor.authorรังสิมา เหรียญตระกูลth_TH
dc.contributor.authorนวพร วรศิลป์ชัยth_TH
dc.contributor.authorAriya Chindampornth_TH
dc.contributor.authorAsada Leelahavanichkulth_TH
dc.contributor.authorRungsima Reantragoonth_TH
dc.contributor.authorNavaporn Worasilchaith_TH
dc.date.accessioned2018-01-30T06:18:13Z
dc.date.available2018-01-30T06:18:13Z
dc.date.issued2560-10
dc.identifier.otherhs2384
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4838
dc.description.abstractพิเทียม อินซิดิโอซุ่ม เป็นเชื้อก่อโรคพิทิโอซิสซึ่งมีอันตรายถึงแก่ชีวิต พยาธิสภาพในหลอดเลือดแดงและกระจกตาเป็นลักษณะอาการทางคลินิกที่พบได้บ่อย โดยกลุ่มที่ติดเชื้อในหลอดเลือดแดงส่วนใหญ่มีโรคทาลัสซีเมียเป็นโรคประจำตัว การตรวจหาแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อพิเทียม อินซิดิโอซุ่ม ในน้ำเหลือง เป็นวิธีที่ใช้กันและมีความแม่นยำสูงมาก อย่างไรก็ตามก็มีวิธี computer tomography เป็นการวินิจฉัยโรคในหลอดเลือดอีกวิธีหนึ่งที่แพทย์สามารถเห็นตำแหน่งที่หลอดเลือดตีบได้ แต่มีขีดจำกัดเรื่องค่าใช้จ่ายที่สูงมากและมีบริการเฉพาะในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิเท่านั้น ปัจจุบันการรักษายังไม่มีวิธีมาตรฐาน อาศัยการรักษาแบบผสมผสานด้วยการผ่าตัด การให้ยาปฏิชีวนะต้านเชื้อราและการรักษาด้วยวิธีอิมมิวโนเทอราปีโดยใช้โปรตีนแอนติเจนที่สกัดจากเชื้อพิเทียม อินซิดิโอซุ่ม (Pythium insidiosum antigen, PIA) ซึ่งเป็นแอนติเจนในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ด้วยความเข้มข้น 2 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และฉีดใต้ผิวหนัง นำร่อง 1 ครั้ง หลังการวินิจฉัย ตามด้วยการฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันอีก 6 ครั้งในเวลา 1 ปี ปัจจุบันการติดตามการดำเนินของโรคและการรักษาอาศัยการเป็นแบบ subjective คือสังเกตรอยโรคและสอบถามจากผู้ป่วย ยังไม่มีเครื่องมือชี้วัดทางชีวภาพที่มีความถูกต้องและติดตามได้ จากเหตุนี้จึงจำเป็นยิ่งที่ต้องหาเครื่องมือดังกล่าว การตรวจหาแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อพิเทียม อินซิดิโอซุ่ม เป็นการศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย และการตรวจวัดปริมาณสาร (1->3)-เบต้า-ดี-กลูแคน (BG) ที่ผนังเซลล์เชื้อพิเทียม อินซิดิโอซุ่ม ซึ่งพบในและราบางชนิดในกระแสเลือด น่าจะเป็นเครื่องมือที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง คณะผู้วิจัยจึงมีสมมติฐานว่า หลังจากการรักษาแบบผสมผสาน ระดับแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อพิเทียม อินซิดิโอซุ่ม และปริมาณสาร (1->3)-เบต้า-ดี-กลูแคน ในกระแสเลือดน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงและสามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการตรวจติดตามการดำเนินโรคและการรักษาได้อย่างน่าเชื่อถือ วิธีการทดสอบ ตรวจวัดระดับแอนติเจน BG และระดับสารไซโตคายน์ชนิด IFN-γ, IL-17 ในตัวอย่างน้ำเหลืองจากผู้ป่วยโรคพิทิโอซิสที่ติดเชื้อในหลอดเลือดแดงและติดเชื้อบริเวณดวงตา จำนวนกลุ่มละ 20 ราย โดยตัวอย่างที่ใช้เป็นตัวอย่างที่เก็บจากก่อนให้ PIA ณ ช่วงเวลาต่างๆ ตามตารางการให้ โดยกลุ่มควบคุมเป็นตัวอย่างน้ำเหลืองจากผู้ป่วยทาลัสซีเมียที่ไม่มีประวัติการติดเชื้อและจากอาสาสมัครสุขภาพดีกลุ่มละ 20 ราย สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อในหลอดเลือดแดงและบริเวณกระจกตาตาตามลำดับ และวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลผู้ป่วยในกลุ่มมีชีวิตรอดและเสียชีวิต การสูญเสียและไม่สูญเสียการมองเห็น ผลการทดลอง ระดับของสาร BG ของผู้ป่วยกลุ่มติดเชื้อในหลอดเลือดแดงที่มีชีวิตอยู่ได้เกินกว่า 1 ปีหลังเริ่มให้ PIA ทุกคน ลดลงตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ค่าความเชื่อมั่น 95% ในขณะที่กลุ่มผู้ป่วยที่เสียชีวิตก่อน 1 ปีหลังเริ่มการรักษาด้วย PIA immunotherapy (PIAI) นั้น สาร BG มีระดับที่สูงและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติจนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต โดยระดับเริ่มต้นที่วัดได้ของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีค่าอยู่ในช่วงที่ไม่แตกต่างกัน คือ มากกว่า 523.40 พิโครกรัม/มิลลิลิตร ซึ่งตรงกันข้ามกับระดับสารไซโตไคน์ทั้งชนิด IFN-γ และ IL-17 ผู้ป่วยกลุ่มที่รอดชีวิตนั้นมีระดับของสาร IFN-γ เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ค่าความเชื่อมั่น 95% ในขณะที่กลุ่มผู้ป่วยที่เสียชีวิตก่อน 1 ปี สาร IFN-γ มีแนวโน้มลดต่ำลงอภิปรายผลการทดลอง รูปแบบการเปลี่ยนแปลงของระดับสาร BG และระดับไซโตคายน์ ทั้งชนิด IFN-γ และชนิด IL-17 นี้เป็นหนึ่งในเครื่องมือชีวภาพ ที่สามารถประยุกต์ใช้ในการตรวจติดตามผลการรักษาและทำนายการดำเนินไปของโรคที่มีหลักฐานชัดเจน สามารถประเมินค่าได้ในเชิงปริมาณ แต่อย่างไรก็ตามสารดังกล่าวมีข้อจำกัดอยู่ที่ความจำเพาะ การเปลี่ยนแปลงของสารเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่นๆ เช่น การติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียที่มีสาร BG เป็นองค์ประกอบ ดังนั้นการพัฒนาหาสารที่มีความจำเพาะต่อเชื้อ P. insidiosum เพื่อใช้ตรวจควบคู่ไปด้วยจึงเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาต่อไปในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.subjectPythium insidiosumth_TH
dc.subjectPythium--diagnosisth_TH
dc.subjectไพเทียม--การวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.titleการประยุกต์ใช้สาร (1->3)-เบต้า-ดี-กลูแคน: ตัวชี้วัดทางชีวภาพเพื่อการตรวจติดตามโรคพิทิโอซิสในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบ immunotherapyth_TH
dc.title.alternativeThe application of (1->3)-β-D-glucan: a surrogate biomarker for therapeutic monitoring in pythiosis patientsth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativePythium insidosum is the causative agent of the life threatening pythiosis. The main clinical manifestations are often found in artery (vascular type) and cornea (ocular or corneal type). Among the vascular type, thalassemia is the common underlying disease. The investigation of specific P. insidiosum antibody in serum is practical tool and provides high accuracy for diagnosis. Using the high technology, computer tomography angiogram to indicate the occlusion point in artery is another protocol that physicians often requested. However, with the high cost and availability only in tertiary care hospital are the limitation. Presently, the combination treatment, surgery, antifungal agents, and immunotherapy, has been applied since standard treatment has been established yet. Regarding the immunotherapy, 2 mg/ml protein antigen extracted from P. insidiosum (PIA) to stimulate host immune response, via subcutaneous route has been performed. The protocol is one prime dose, after diagnosis, and 6 boosters in one year period. To follow up and monitor the patients’ illnesses, the physicians investigate by observing and asking the patient directly about the lesion without any biological markers. In addition, no reliable markers regarding the patients’s previous symptom for the next visit was shown. Thus, it is dispensable to find the biological evidence base. To examine the specific antibody is to study the host immune response to the specific pathogen. Regarding the pathogen side, the presence of (13)-β-D-glucan (BG) is found in the cell wall of P. insidiosum and PIA, similar to certain kind of fungi. Therefore BG level monitoring is another attractive marker. We hypothesized that after the combination treatment, the level of both specific antibody against P. insidiosum and the BG would change and possible to apply as the monitoring surrogate markers for pythiosis. Materials and Methods The levels of BG and cytokines: IFN-γ, IL-17 in the sera prior PIA immunotherapy (PIAI) at each time point through out the 1 year regimen from vascular and corneal pythiosis patients (n=20 of each) were examined. The control sera were collected from healthy with thalassemia (n=20) and without thalassemia (n=20) for vascular pythiosis and corneal pythiosis investigation, in order. All results including the patients’ data from survivor and death groups for vascular type; visible and invisible from ocular type will be analyzed. Results All patients who survived more than 1 year after PIA immunotherapy showed the significant declining trend of serum BG (p-value<0.05) whereas the ones who died before 1 year demonstrated the high level of BG with non-significant changing (p-value<0.05) despites both group presented the non-significant difference of >423.4 picogram/ml prior PIA injection. In contrast to the cytokine level: IFN-γ and IL-17, all patients who survived more than 1 year after PIA immunotherapy showed the significant increased trend of cytokines (p-value<0.05) whereas the ones who died before 1 year demonstrated the decreased trend of cytokines’ level. Discussion The pattern of BG and cytokines: IFN-γ and IL-17 are ones of the biological markers (quantitative scale) which can be applied for the disease monitoring and prognosis. However, these biological markers have some limitation in term of their specificity. The pattern of their levels can be presented by several factors such as fungal or bacterial infection which compose of BG. Thus, the development of P. insidiosum specific biological marker for testing in parallel need to be investigated in the future.th_TH
dc.identifier.callnoQW180 อ298ก 2560
dc.identifier.contactno60-003
dc.subject.keywordโรคพิทิโอซิสth_TH
dc.subject.keywordPythiosisth_TH
.custom.citationอริยา จินดามพร, อัษฎาศ์ ลีฬหวนิชกุล, รังสิมา เหรียญตระกูล, นวพร วรศิลป์ชัย, Ariya Chindamporn, Asada Leelahavanichkul, Rungsima Reantragoon and Navaporn Worasilchai. "การประยุกต์ใช้สาร (1->3)-เบต้า-ดี-กลูแคน: ตัวชี้วัดทางชีวภาพเพื่อการตรวจติดตามโรคพิทิโอซิสในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบ immunotherapy." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4838">http://hdl.handle.net/11228/4838</a>.
.custom.total_download29
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs2384.pdf
Size: 1.142Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record