Show simple item record

Health System Development for Screening, Early Diagnosis and Management of Cholangiocarcinoma in Northeast, Thailand

dc.contributor.authorณรงค์ ขันตีแก้วth_TH
dc.contributor.authorนิตยา ฉมาดลth_TH
dc.contributor.authorพวงรัตน์ ยงวณิชย์th_TH
dc.contributor.authorไพบูลย์ สิทธิถาวรth_TH
dc.contributor.authorบัณฑิต ถิ่นคำรพth_TH
dc.contributor.authorวัชรินทร์ ลอยลมth_TH
dc.contributor.authorNarong Khuntikeoth_TH
dc.contributor.authorNittaya Chamadolth_TH
dc.contributor.authorPuangrat Youngvanitth_TH
dc.contributor.authorPaiboon Sithithawornth_TH
dc.contributor.authorBandit Thinkhamropth_TH
dc.contributor.authorWatcharin Loilometh_TH
dc.date.accessioned2018-01-30T06:30:16Z
dc.date.available2018-01-30T06:30:16Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.otherhs2386
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4839
dc.description.abstractมะเร็งท่อน้ำดี (cholangiocarcinoma) คือ มะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุน้ำดีทั้งในและ นอกตับพบคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งท่อน้ำดีและตับจำนวนประมาณ 10,000 – 20,000 รายต่อปี โดยกว่าครึ่งหนึ่งเป็นคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือองค์การอนามัยโลกได้จัดให้โรคพยาธิใบไม้ตับเป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็งชนิดนี้ ได้มีการนำความรู้จากผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นไปป้องกัน ค้นหา เฝ้าระวัง เพื่อหาผู้ป่วยมะเร็งระยะแรก เพื่อจะได้รับการรักษาให้หายได้ทันการณ์ เพราะประมาณร้อยละ 55 เกิดขึ้นกับประชากรวัยทำงานที่เป็นหัวหน้าครอบครัวอายุระหว่าง 40-60 ปี ซึ่งถือเป็นโรคที่รุนแรงและก่อให้ เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิตของคนในสังคมเป็นอย่างมาก ดังนั้นโครงการวิจัยการพัฒนาระบบสาธารณสุขเพื่อการตรวจคัดกรอง ตรวจวินิจฉัยและบริหารจัดการ ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Health System Development for Screening, Early Diagnosis and Management of Cholangiocarcinoma in Northeast, Thailand) โดยการสนับสนุนของ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และได้รับทุนสนับสนุนเพิ่มเติมในการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิ ใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Cholangiocarcinoma Screening and Care Program: CASCAP) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และโครงการวิจัยท้าทายไทย : ประเทศไทยไร้พยาธิใบไม้ตับ (Grand Challenges Thailand: Fluke Free Thailand) จากสภาวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยการดำเนินงานในครั้งนี้เป็นการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีแบบครบวงจรตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ โดยระดับปฐมภูมิ และจากการทำงานที่ผ่านมาผลักดันให้รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขประกาศแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2559 – 2568 และทำให้เกิดนวัตกรรมที่สำคัญอันจะไปสู่การแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีให้กับประเทศอย่างยั่งยืนดังนี้ 1. เกิด Isan Cohort ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลเพื่อติดตามการทำงานในการคัดกรอง เฝ้าระวังและรักษาทั้งกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี โดยถือว่าเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ที่เกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีอันแรกและหนึ่งเดียวในโลก ซึ่งในปัจจุบัน Isan Cohort เป็นซอฟต์แวร์หลักที่หน่วยงานต่างๆโดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขใช้ในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งจะสามารถตอบปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหานี้จากการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data นี้ในอนาคต 2. เกิดระบบ Teleradiology Consultation System ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงมะเร็งท่อน้ำดีโดยมีการลงทะเบียนกลุ่มเสี่ยงมาจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลและทำอัลตร้าซาวด์จากโรงพยาบาลชุมชนโดยแพทย์ที่ได้รับการอบรมหลักสูตรการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงมะเร็งท่อน้ำดีโดยเครื่องอัลตร้าซาวด์โดยเฉพาะ ซึ่งภาพของการตรวจอัลตร้าซาวด์แต่ละครั้งจะถูกส่งเข้าระบบ cloud และสามารถตรวจสอบและยืนยันผลการตรวจโดยแพทย์เฉพาะทางรังสีวิทยา ซึ่งระบบนี้จะช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและลดค่าใช้จ่ายของคนไข้ในการที่จะเดินทางมารับการตรวจทางรังสีวิทยาที่ไม่จำเป็น 3. เกิดเทคโนโลยีการตรวจพยาธิใบไม้ตับแบบใหม่ โดยเป็นการตรวจหาแอนติเจนของพยาธิในปัสสาวะไปใช้ในพื้นที่ดำเนินการ ซึ่งมีความไวและความจำเพาะมากกว่าการตรวจหาไข่พยาธิในอุจจาระ และได้มีการผลิตเป็นชุดตรวจสำเร็จรูป ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับอย่างแท้จริง และจะนำไปสู่การเข้าถึงการวินิจฉัยและรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับในประชาชนได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุม 4. เกิดโรงพยาบาลเครือข่ายในการคัดกรอง เฝ้าระวัง รวมทั้งการวินิจฉัยและรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับและผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีโดยมีหน่วยบริการของกระทรวงสาธารณสุขเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการดำเนินงานประมาณ 3,626 แห่ง ทั้งนี้รวมที่เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชนโรงพบาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ และในจำนวนนี้มีโรงพยาลที่สามารถผ่าตัดเพื่อรักษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีจำนวน 7 แห่ง และมางโครงการได้ดำเนินการเปิดหลักสูตรการฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านคลินิกอนุสาขาศัลยศาสตร์ตับ ทางเดินน้ำดีและตับอ่อน เพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนศัลยแพทย์ที่สามารถผ่าตัดผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีอีกด้วย ดังนั้นการทำงานในโครงการนี้จะเป็นตัวอย่างของการทำงานวิจัยและการนำผลจากการวิจัยมาพัฒนาและนำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาให้กับประเทศอย่างแท้จริงและทำให้ “ประชาชนเข้าถึงการบริการที่เกี่ยวข้องกับพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีทั้งในระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ อย่างทันเวลา เท่าเทียม มีคุณภาพ และสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.subjectมะเร็งท่อน้ำดีth_TH
dc.subjectพยาธิใบไม้ตับth_TH
dc.subjectการตรวจคัดกรองth_TH
dc.subjectCholangiocarcinomath_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนาระบบสาธารณสุขเพื่อการตรวจคัดกรอง ตรวจวินิจฉัยและบริหารจัดการผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือth_TH
dc.title.alternativeHealth System Development for Screening, Early Diagnosis and Management of Cholangiocarcinoma in Northeast, Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBile duct cancer (cholangiocarcinoma) is a cancer caused by abnormalities of the lining of the bile duct inside and outside the liver. Thai people die of cholangiocarcinoma and liver cancer in the number of 10,000 - 20,000 cases per year, with more than half of the population being northeastern. The World Health Organization has made liver fluke a major cause of this type of cancer. The knowledge gained from the research from Khon Kaen University has been applied to prevent and search for the first stage of cancer patients in order to accomplish curative treatment. Importantly, about 55 percent of the working-age population is a head of household between the ages of 40-60 years, which is a serious disease and causes loss of economic, social, quality of life of people in the society. Therefore, the Health System Development for Screening, Early Diagnosis and Management of Cholangiocarcinoma in Northeast, Thailand) by the support of the Health Systems Research Institute (HSRI) with the co-funding with Khon Kaen University through the Cholangiocarcinoma Screening and Care Program (CASCAP) and The National Research Council of Thailand via the Grand Challenges Thailand: Fluke Free Thailand is running the project with the aim of establishing a comprehensive program for the long-term control and elimination liver fluke infection and CCA in Thailand in all aspects. There are 11 interrelated projects running under this program in Thailand, which provide a holistic approach covering primary-, secondary-, and tertiary prevention of liver fluke and cholangiocarcinoma. The program has successfully negotiated with the Thai government to launch a 10 years strategic plan for the elimination of the liver fluke and CCA running from 2016-2026. In addition to the Ministry of Public Health, this policy involves several other ministries including the Ministry of Education, the Ministry of Agriculture, the Ministry of the Interior, the Ministry of Communication and the Ministry of Foreign Affairs. The data obtained and fed into the Isan Cohort database are being used for monitoring and evaluating the policy’s progress. In addition, there are 4 innovations have been established in order to solve liver fluke and cholangiocarcinoma problem as followings. 1. The Isan Cohort software (https://cloud.cascap.in.th/) which is an online and real-time database system used for nation-wide at risk population registration, data recording, monitoring, evaluation and reporting to the Thailand Ministry of Health as well as the general public was established. The registration and inclusion of the high-risk population takes place at primary health care hospitals. The at-risk people are then transferred for ultrasound screening to district hospitals and suspected CCA cases are referred for further investigation and treatment to super-tertiary care hospitals. Screening is performed simultaneously with at the risk members of the local population at the primary health care units. Some initial data have been published in the BMC Cancer (Khuntikeo et al. 2015) 2. An ultrasound screening system has been developed (Chamadol et al. EMSO open 2017), composed of ultrasound machines with mini-PACS, which allow the transfer of ultrasound images through the internet into the Isan Cohort database. This system also includes online-based consultation where the images can be reviewed by an expert radiologist for confirmatory diagnosis (Figure 3). In addition to increasing the screening capability, hepatobiliary ultrasonography training courses are offered for radiologists and general practitioners. 3. A new technology to detect the liver fluke antigen in urine has been developed (Worasith et al. 2015). The new method id more sensitive and specific than the detection of parasitic eggs in feces. Interestingly, the Ov antigen detection kit is now under mass production 4. Network Hospitals for Screening, Surveillance, Diagnosis and Treatment of Liver Fluke Disease and Cholangiocarcinoma Patients. The Ministry of Public Health's service units are involved in about 3,626 health units, including the District Health Promotion Hospital, Community Hospital, General and Center hospital. Network hospitals are designated for the diagnosis and treatment of cholangiocarcinoma and for further management of the suspected CCA cases identified by ultrasound screening. This network comprises all 7 super-tertiary care hospitals in the northeast of Thailand. Moreover, hepatobiliary and pancreatic surgery training courses are provided to increase the number of the specialist surgeons available to perform potentially curative surgery Therefore, the successfully this project is an example of the results of research and development to solve the problem of the country. Importantly, the people could access services related to liver fluke and cholangiocarcinoma in all level including primary, secondary and tertiary level in timely manner with high quality.th_TH
dc.identifier.callnoWI765 ณ221ก 2561
dc.identifier.contactno59-076
.custom.citationณรงค์ ขันตีแก้ว, นิตยา ฉมาดล, พวงรัตน์ ยงวณิชย์, ไพบูลย์ สิทธิถาวร, บัณฑิต ถิ่นคำรพ, วัชรินทร์ ลอยลม, Narong Khuntikeo, Nittaya Chamadol, Puangrat Youngvanit, Paiboon Sithithaworn, Bandit Thinkhamrop and Watcharin Loilome. "การพัฒนาระบบสาธารณสุขเพื่อการตรวจคัดกรอง ตรวจวินิจฉัยและบริหารจัดการผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4839">http://hdl.handle.net/11228/4839</a>.
.custom.total_download559
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year19
.custom.downloaded_fiscal_year32

Fulltext
Icon
Name: hs2386.pdf
Size: 2.430Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record