Show simple item record

Muslin Women’s Social Space and Health Empowerment through Physical Activities amid Unrest Situation in Southernmost Provinces (Phase I)

dc.contributor.authorสุรชัย ไวยวรรณจิตรth_TH
dc.contributor.authorประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะth_TH
dc.contributor.authorมูฮำหมัดราพีร์ มะเก็งth_TH
dc.contributor.authorแวนีซะ สุหลงth_TH
dc.contributor.authorซอลาฮุดดีน การิแยth_TH
dc.date.accessioned2018-04-02T02:24:09Z
dc.date.available2018-04-02T02:24:09Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.otherhs2400
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4864
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง “การมีพื้นที่ของสตรีมุสลิมกับการสร้างเสริมสุขภาพผ่านการมีกิจกรรมทางกายภายใต้บริบทสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้” มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลการมีพื้นที่ของสตรีมุสลิมกับการสร้างเสริมสุขภาพผ่านการมีกิจกรรมทางกาย 2) เพื่อศึกษาขอบข่ายความสามารถที่จะมีกิจกรรมทางกายได้ของสตรีมุสลิมตามหลักศาสนา และ3) เพื่อชี้ช่องทางในการมีกิจกรรมทางกายแก่สตรีมุสลิมในการส่งเสริมสุขภาพทางกาย ผลการวิจัยพบว่า ประเด็นที่ 1 ข้อมูลการมีพื้นที่ของสตรีมุสลิมกับการสร้างเสริมสุขภาพผ่านการมีกิจกรรมทางกาย พบว่า สตรีมุสลิมที่มีการสร้างเสริมสุขภาพด้วยวิถีปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ในการมีกิจกรรมทางกายทั้งในเรื่อง การชำระล้างร่างกายเพื่อการละหมาด การละหมาด การรดน้ำต้นไม้ในบริเวณบ้าน ปลูกต้นไม้ การถางหญ้า การเก็บผลไม้จากสวน การซักผ้าด้วยมือ พร้อมกันนี้ก็ได้มีการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยการประกอบอาชีพส่วนตัวที่ทำเป็นประจำ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วเป็นพื้นที่ของสตรีในการสร้างเสริมสุขภาพ ส่วนการมีกิจกรรมทางกายในพื้นที่สาธารณะของสตรีมุสลิมพบว่า ยังไม่มีพื้นที่สำหรับการสร้างเสริมสุขภาพโดยผ่านกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม หรือเป็นที่เฉพาะสำหรับสตรีมุสลิมที่อยู่ภายใต้กรอบศาสนาที่ตัวเองนับถือ ทั้งนี้ถึงแม้จะไม่มีพื้นที่เป็นการเฉพาะของสตรีในการมีกิจกรรมทางกาย แต่กลุ่มสตรีเหล่านี้ก็มีพื้นที่เฉพาะของกลุ่มในการพบปะพูดคุย เพื่อการผ่อนคลาย และภายในกลุ่มก็ได้มีการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อดำเนินกิจกรรมให้ตนเองและสมาชิกกลุ่ม ตามความสามารถและกำลังที่มีอยู่ โดยเฉพาะในการทำกิจกรรมจิตอาสาต่างๆ ให้เกิดประโยชน์แก่คนในชุมชน นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานภายนอกให้การสนับสนุนทั้งในเรื่องของการเยียวยา และการมีกิจกรรมทางกาย เพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจให้กำลังใจในการดำเนินชีวิตต่ออย่างมีความสุข ประเด็นที่ 2 ขอบข่ายความสามารถที่จะมีกิจกรรมทางกายของสตรีมุสลิมตามหลักศาสนา พบว่า สำหรับสตรีมุสลิมนั้นสามารถออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมทางกายได้ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ โดยการมีกิจกรรมทางกายของสตรีมุสลิมนั้นมีหลากหลายวิธีที่เหมาะสมภายใต้หลักการของศาสนา กล่าวคือ การเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดอยู่ในความพอดี มีการวางตัว และการแต่งกายที่เหมาะสม มีขอบเขตตามหลักศาสนา ไม่ปะปนระหว่างชายหญิง แต่ปัจจุบันสถานที่เหล่านั้นยังไม่มีเป็นการเฉพาะ มีเพียงพื้นที่ที่เป็นสนามสาธารณะสำหรับบุคคลทุกเพศทุกวัย ประเด็นที่ 3. ช่องทางในการมีกิจกรรมทางกายแก่สตรีมุสลิมในการส่งเสริมสุขภาพทางกาย ที่ได้จากการวิจัยมีดังนี้ 1. สถานที่จัดกิจกรรมทางกายแก่สตรีมุสลิม ควรมีสถานที่ในการออกกำลังกายในพื้นที่สาธารณะเป็นการเฉพาะ เพราะนอกจากจะมีการจัดกิจกรรมที่เน้นทางกายภาพแล้ว ยังทำให้สตรีมุสลิมโดยเฉพาะหญิงหม้ายได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เหมือนกัน พูดคุย อย่างเข้าใจซึ่งกันและกัน 2. การกำหนดนโยบายเพื่อสร้างพื้นที่ในการออกกำลังกายแก่กลุ่มสตรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น คณะกรรมการอิสลาม หน่วยงานปกครองท้องถิ่น และสถาบันฮาลาล 3. การอบรมให้ความรู้แก่สตรีมุสลิมจากหน่วยงานของภาครัฐหรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องการผ่อนคลายชีวิต การลดความกังวล และหวาดกลัว หรืออาการซึมเศร้าด้วยการจัดกิจกรรมทางกาย 4. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกลุ่มสตรีมุสลิม คือ “มามา” หรือภรรยาของโต๊ะครู ในการจัดกิจกรรมทางกายแก่กลุ่มสตรีมุสลิมที่อยู่ในชุมชนนอกเหนือจากบทบาทในเรื่องศาสนาth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectสตรีมุสลิม--ไทยth_TH
dc.subjectกิจกรรมทางกายth_TH
dc.subjectการสร้างเสริมสุขภาพth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการมีพื้นที่ของสตรีมุสลิมกับการสร้างเสริมสุขภาพผ่านการมีกิจกรรมทางกายภายใต้บริบทสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ระยะที่ 1 )th_TH
dc.title.alternativeMuslin Women’s Social Space and Health Empowerment through Physical Activities amid Unrest Situation in Southernmost Provinces (Phase I)en_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study entitled “Muslim Women’s Social Space and Health Empowerment through Physical Activities amid Unrest Situation in Southernmost Provinces, Thailand” aims i) to investigate information of the Muslim women’s social space and health empowerment through physical activities. ii) to investigate to what extent of capability of Muslim women’s physical activities according to Islamic Jurisprudence and iii) to provide channels of possible physical activities to Muslim women in strengthening physical health. The research findings are as following points: Point 1: The data regarding Muslim women’s social space and health empowerment through physical activities were found that they strengthen their physical health through daily routine activities including taking ablution for prayers, performing daily five time prayers, watering trees in housing areas, shearing grass, fruit picking from their farms and washing clothes using hands. Moreover, they still strengthen their physical health through their careers as self- employed businesses. These activities can be considered to be Muslim women’s social space in health empowerment. However, there are certain limitations regarding insufficient public places for their physical activities which are permissible according to Islamic principles. On the other hands, they have their own space for informal discussion to release stress and for the sake of entertainment. They also organize various activities among themselves based on their capability particularly, volunteering activities contributing to others in the community. Moreover, external organizations support them in terms of physical therapy and activities to encourage them to live their lives happily. Point 2: The extent of capability of Muslim women’s physical activities according to Islamic Jurisprudence shows that Muslim women are able to do exercise for strengthening their physical health through several activities under the framework of Islamic principles. In other words, the activities involved in should not much extreme, the outfits should be properly dressed under Islamic Jurisprudence. Most importantly, it is not allowed to mix between males and females in the same workout place. So far, there have no specific places for the Muslim women’s physical activities provided in all levels of age and gender. Point 3: The channels of Muslim women’s physical activities in health empowerment are proposed as follows: 1. The workout places should be specifically for women publically since there are not only the venues for their health empowerment but they are also the platforms for them specifically widowed women to exchange experiences and ideas among themselves 2. Policy makers who are in charge of building Muslim women’s social space of physical activities in the area of Southernmost provinces of Thailand should support and cooperate all organizations involved for instance, Islamic committee, local government organizations and Halal institute. 3. Training providing knowledge to Muslim women from different government and non- government organizations involved should be held to release and relieve their stress, depression, worry and the symptoms of major depressive disorder (MDD) through organizing physical activities. 4. Encouragement of participation of Mama (Pondok leader’s wife) in organizing both religious and physical activities in their own community.en_US
dc.identifier.callnoW84.1 ส847ก 2560
dc.identifier.contactno60-050
.custom.citationสุรชัย ไวยวรรณจิตร, ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ, มูฮำหมัดราพีร์ มะเก็ง, แวนีซะ สุหลง and ซอลาฮุดดีน การิแย. "การมีพื้นที่ของสตรีมุสลิมกับการสร้างเสริมสุขภาพผ่านการมีกิจกรรมทางกายภายใต้บริบทสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ระยะที่ 1 )." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4864">http://hdl.handle.net/11228/4864</a>.
.custom.total_download57
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year3

Fulltext
Icon
Name: hs2400.pdf
Size: 437.9Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record