Show simple item record

Effectiveness Evaluation of CARE-call System on Medication Adherence and Reduction of Default Rate in Tuberculosis

dc.contributor.authorศุภเลิศ เนตรสุวรรณth_TH
dc.contributor.authorสุรัคเมธ มหาศิริมงคลth_TH
dc.contributor.authorยงยุทธ โล่ศุภกาญจน์th_TH
dc.contributor.authorรัชนิตย์ ราชกิจ เนตรสุวรรณth_TH
dc.contributor.authorกัลยาณี อัครกิตติมงคลth_TH
dc.contributor.authorวุฒิชัย สวาทนาth_TH
dc.contributor.authorบุญชัย ไชยาศิรินทร์โรจน์th_TH
dc.contributor.authorวรรัตน อิ่มสงวนth_TH
dc.contributor.authorอมรรัตน์ วิริยะประสพโชคth_TH
dc.contributor.authorอารียา ดิษรัฐกิจth_TH
dc.date.accessioned2018-04-25T06:11:27Z
dc.date.available2018-04-25T06:11:27Z
dc.date.issued2561-02
dc.identifier.otherhs2406
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4882
dc.description.abstractประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 14 ประเทศที่องค์การอนามัยโลกรายงานว่ามีปัญหาด้านวัณโรค วัณโรค/เอช-ไอวี และวัณโรคดื้อยาหลายขนาน การขาดความใส่ใจในการรักษาอย่างสม่ำเสมอ (Poor adherence) ทำให้การรักษาใช้เวลานานขึ้น มีปัญหาการดื้อยา การกลับเป็นซ้ำ และการเสียชีวิต ด้วยบริบทของประเทศไทยที่ยังขาดแคลนบุคลากร รวมถึงอุปสรรคอื่นๆ และต้นทุนในการดำเนินการที่สูง ทำให้การรักษาด้วยระบบยาระยะสั้นโดยมีผู้ดูแลกำกับ (DOTS) ยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงรับประทานยาด้วยตนเองหรือหากมีผู้กำกับดูแลก็มักจะเป็นสมาชิกในครอบครัว ซึ่งถือว่ายังเสี่ยงต่อการลืมรับประทานยา หยุดยาเองเนื่องจากอาการข้างเคียงหรือแพ้ยา หรือเมื่ออาการดีขึ้นจากการรับประทานยาไปได้สักระยะหนึ่ง การประเมินความใส่ใจของผู้ป่วยและอาการข้างเคียงหรือแพ้ยา จึงเป็นการประเมินแบบปลายทาง ณ วันที่ผู้ป่วยกลับมาตามนัดครั้งต่อไป มูลนิธิวิจัยวัณโรคและโรคเอดส์ ได้พัฒนาระบบติดตามการรับประทานยาของผู้ป่วยในแบบเรียลไทม์ ด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางระบบมือถือมาใช้ร่วมกับกล่องยาอิเล็กทรอนิกส์ที่ประดิษฐ์ขึ้น (ระบบ CARE-call) ทั้งนี้เพื่อใช้เตือนผู้ป่วยให้รับประทานยา แจ้งเจ้าหน้าที่กรณีผู้ป่วยไม่เปิดกล่อง และสร้างช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ด้วยการโทรเข้า-ออกผ่านกล่องยา เพื่อประเมินประสิทธิผลของระบบ CARE-call คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาในอาสาสมัคร 300 ราย โดยสุ่มแยกให้อยู่ในกลุ่มที่ได้ใช้ระบบ CARE-call และกลุ่มที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐานเดิมของโรงพยาบาล กลุ่มละ 150 ราย ผลการศึกษาเบื้องต้นของอาสาสมัครที่ทราบผลการรักษาแล้วนั้น พบว่า กลุ่มที่ใช้ระบบ CARE-call มีอัตราความสม่ำเสมอในการรับประทานยาสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่อัตรารักษาสำเร็จเป็นร้อยละ 88.2 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายของประเทศที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 85 และพบการขาดการรักษาเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐานเดิม ระบบ CARE-call บรรลุวัตถุประสงค์ในการสร้างช่องทางการติดต่อสื่อสาร เนื่องจากสาเหตุส่วนใหญ่ที่ผู้ป่วยโทรหาเจ้าหน้าที่ผ่านกล่องยาเป็นการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพและอาการแพ้ยา ในราคาต้นทุนเฉลี่ยต่อรายตลอดการรักษาที่ต่ำกว่าที่กองทุนโลกสนับสนุนการทำ DOT ประมาณ 4 เท่า ผลการศึกษาเชิงคุณภาพแสดงให้เห็นว่า อาสาสมัครมีความพึงพอใจในการใช้ เนื่องจากข้อดีของระบบหลายประการ เช่น การมีเสียงเตือน การมียาบรรจุใส่ซองให้รับประทานรายวัน การมีช่องทางให้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ผ่านกล่อง จากผลการศึกษาครั้งนี้ คณะผู้วิจัยมีความเชื่อมั่นว่าระบบ CARE-call จะสามารถแก้ปัญหาความไม่สม่ำเสมอในการรับประทานยา และสร้างช่องทางติดต่อสื่อสารให้แก่ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ด้วยต้นทุนที่ต่ำ ซึ่งเหมาะกับบริบทของประเทศไทยที่มีผู้ป่วยวัณโรคเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อให้อัตราการรักษาสำเร็จและอัตราการขาดยาเป็นไปตามเป้าหมายในระดับประเทศ อย่างไรก็ตาม ระบบนี้ยังคงต้องมีการพัฒนาให้มีความเสถียรและมีหน้าที่การใช้งานที่ครอบคลุม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ได้อย่างครบถ้วนยิ่งขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectวัณโรคth_TH
dc.subjectวัณโรค--ผู้ป่วยth_TH
dc.subjectวัณโรค--การรักษาด้วยยาth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.titleการประเมินประสิทธิผลการใช้ระบบ CARE-call ในการติดตามการรับประทานยาเพื่อเพิ่มความสม่ำเสมอในการรับประทานยาและลดอัตราการขาดยาวัณโรคth_TH
dc.title.alternativeEffectiveness Evaluation of CARE-call System on Medication Adherence and Reduction of Default Rate in Tuberculosisth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThailand is one of the 14 listed countries encountering TB, TB/HIV and MDR-TB burden. Poor adherence could cause longer treatment, drug resistance, relapse and death in TB patients. With limited-resources, the coverage of Directly Observed Treatment, Short Course (DOTS) is low. Most of TB patients are under self-medication or family-member DOT, which a forgetfulness to take medicine or an improperly early medicine discontinuation caused by side effects or etiological misunderstanding may exist. Most of adherence measurements performed at a next follow-up, not at real-time, is considered as an end point. Hence, TB/HIV Research Foundation has developed a CARE-call system, an ICT-based medication adherence monitoring system having an electronic pill box (CARE-box) to further function by alarming patients to take medicine, notifying a health care worker (HCW) to follow up a non-adherence patients and providing two-way communication for the patients seeking for advice from the HCW. In order to evaluate the system’s effectiveness, 300 TB patients were randomly recruited into intervention or control group. Preliminary result obtained from treatment-outcome available participants showed that statistically higher adherence rate was observed in the intervention group while treatment success rate is at 88.2%, higher than the 85% NTP target and lost to follow-up cases were found only in the control group. The CARE-call system was proved to achieve its two-way communication function under around four-time lower per capita cost compared to that of the DOT supported by the global fund. Qualitative study remarked the benefits of CARE-call system through the CARE-box including alarming system, daily pack, two-way communication by meeting the satisfactions of the all the participants invited to attend focus group discussion. From the result, it is believed that the CARE-call system could improve the TB patient’s medication adherence and provide two-way communication at low cost, which is more suitable for a high TB burden country like Thailand to achieve the NTP targets for treatment success and loss to follow-up rates. However, the stability of CARE-call should be improved and provide more useful functions to facilitate the TB treatment and care.th_TH
dc.identifier.callnoWF200 ศ715ก 2561
dc.identifier.contactno59-068
dc.subject.keywordระบบ CARE-callth_TH
.custom.citationศุภเลิศ เนตรสุวรรณ, สุรัคเมธ มหาศิริมงคล, ยงยุทธ โล่ศุภกาญจน์, รัชนิตย์ ราชกิจ เนตรสุวรรณ, กัลยาณี อัครกิตติมงคล, วุฒิชัย สวาทนา, บุญชัย ไชยาศิรินทร์โรจน์, วรรัตน อิ่มสงวน, อมรรัตน์ วิริยะประสพโชค and อารียา ดิษรัฐกิจ. "การประเมินประสิทธิผลการใช้ระบบ CARE-call ในการติดตามการรับประทานยาเพื่อเพิ่มความสม่ำเสมอในการรับประทานยาและลดอัตราการขาดยาวัณโรค." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4882">http://hdl.handle.net/11228/4882</a>.
.custom.total_download341
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year18

Fulltext
Icon
Name: hs2406.pdf
Size: 3.268Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record