แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

รูปแบบการพัฒนานโยบายสาธารณะกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนอีสาน ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

dc.contributor.authorศิราณี ศรีหาภาคth_TH
dc.contributor.authorธารา รัตนอำนวยศิริth_TH
dc.contributor.authorวัชรี อมรโรจน์วรวุฒิth_TH
dc.contributor.authorปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์th_TH
dc.contributor.authorนวลละออง ทองโคตรth_TH
dc.date.accessioned2018-05-11T07:02:10Z
dc.date.available2018-05-11T07:02:10Z
dc.date.issued2561-04
dc.identifier.otherhs2411
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4888
dc.description.abstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ (Participation Health Public Policy) กองทุนระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนอีสาน ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 11,109 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 660 คน ผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ 15 คน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 264 คน และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในการจัดเวทีแลกเปลี่ยน จำนวน 28 ครั้ง ระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 – พฤศจิกายน 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ประเด็น และแจกแจงความถี่ ร้อยละ 95%CI และ Mc NeMar Test ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์ความต้องการการดูแลภาวะพึ่งพิงระยะยาวของผู้สูงอายุในชุมชนอีสาน พบผู้สูงอายุมีความชุกของการเกิดภาวะพึ่งพิงระยะยาวในผู้สูงอายุ ร้อยละ 14.14 (95% CI 13.5 – 14.8) มีภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 15.20 (95%CI 14.6 – 15.9) ในขณะที่การดำเนินตามนโยบายกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ในพื้นที่นำร่อง มีพื้นที่เพียงร้อยละ 43 เท่านั้น ที่ผู้สูงอายุซึ่งมีภาวะพึ่งพิงสามารถเข้าถึงชุดสิทธิประโยชน์ระบบบริการดูแลระยะยาว โดยปัญหาอุปสรรคที่สำคัญคือ การเตรียมความพร้อมบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่เพียงพอและระเบียบปฏิบัติกองทุนระบบการดูแลระยะยาวที่ไม่ชัดเจนในระยะเปลี่ยนผ่าน และภาระงานที่หนักเกินกำลังของผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ 2) กระบวนการขับเคลื่อนนโยบายการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวสู่การเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน สร้างองค์ความรู้เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ และบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานกำกับนโยบายในพื้นที่ สามารถนำไปสู่การผลักดันนโยบายสาธารณะสู่การปฏิบัติในพื้นที่ได้จริง และ 3) การมีส่วนร่วมของชุมชนเพิ่มขึ้นทุกองค์ประกอบ ซึ่งทำให้สามารถขับเคลื่อนกองทุนระบบการดูแลระยะยาวสู่การปฏิบัติและทำให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงสามารถเข้าถึงบริการระบบการดูแลระยะยาวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <.001) และช่วยสนับสนุนให้คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุดีขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (P-value <.001) อย่างไรก็ตามพบว่าความแตกต่างของระดับการพึ่งพิงในผู้สูงอายุที่ได้รับบริการดูแลภายใต้กองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาวก่อนและหลังการวิจัยพบว่า ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ภาวะพึ่งพิงระยะยาวเป็นสถานการณ์ปัญหาและความต้องการการดูแลระยะยาวของผู้สูงอายุ การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะกองทุนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวเป็นการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ให้สามารถขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐที่มีความสำคัญให้สามารถนำสู่การปฏิบัติในพื้นที่ และนำไปสู่การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณะth_TH
dc.subjectคุณภาพชีวิตth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--การดูแลระยะยาวth_TH
dc.subjectLong Term Careth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleรูปแบบการพัฒนานโยบายสาธารณะกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนอีสาน ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนth_TH
dc.title.alternativeA Model of Participation Health Public Policy Development of Long Term Care Fund for the Elders In E-SAN Communities by Community Participationth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis Research and Development research focused on developing the model of Participation Health Public Policy for the Elderly Care Fund in the community at Northeastern of Thailand (E – San) by community participation process. Data were collected by using both qualitative and quantitative methods including survey, observation, in-depth interview, focus group discussion, and documentation reviews. The participants consisted of 11,109 elders, 660 elderly caregivers, 15 elderly care managers, 264 involved people, and 28 observation participants. Data were collected from October 2016 to November 2017 and were analyzed by using content analysis, percentage distribution, 95%CI, and McNemar Test. The study found that: 1) the situation of long-term dependency care needs of in the elders had a prevalence of dependence in the elders 14.14% (95% CI 13.5 - 14.8), with dementia 15.20%. (95% CI 14.6 - 15.9). Only 43% of dependent elders had accessed to long-term care benefits which was followed the long-term care fund policy in the pilot area. The major obstacles were the problem of inadequate provision of personnel to local government organizations and the burden of care manager. 2) The process of driving long-term care policy into public policy to create public participation in elderly care consisted of 3 components: community involvement, creating knowledge for public policy of long term care, and integrating with the policy-making agency in the area that could lead to the public policy to practice in the area. 3) The community participation increased in every componence. This enabled the long-term care fund to be implemented and encouraged the elders with dependency be accessed to long-term care services increased significantly (p-value <.001). The quality of life of caregivers was also improved significantly (p-value <.001). However, it was found the level of disability was no statistically significant difference in the elderly who received care services under long-term care fund before and after the study. Long-term dependence is a problem and long-term care needs in the elders. Health Public Policy of the long-term care for the elderly is a social movement for the cooperation of network partners, especially local governments and primary health care, to drive important government policies, that can lead to practice in the area. This will lead to the development of long-term care for the elders in the community to support the elderly society in the future.th_TH
dc.identifier.callnoWT100 ศ444ร 2561
dc.identifier.contactno59-060
.custom.citationศิราณี ศรีหาภาค, ธารา รัตนอำนวยศิริ, วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ, ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์ and นวลละออง ทองโคตร. "รูปแบบการพัฒนานโยบายสาธารณะกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนอีสาน ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4888">http://hdl.handle.net/11228/4888</a>.
.custom.total_download504
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year6
.custom.downloaded_fiscal_year10

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2411.pdf
ขนาด: 3.570Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย