แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การวิจัยแผ่นเซลล์กระดูกอ่อนสำหรับการรักษาโรคเข่าเสื่อม ปีที่ 1

dc.contributor.authorขวัญชนก พสุวัตth_TH
dc.contributor.authorสารเนตร์ ไวคกุลth_TH
dc.contributor.authorโพชฌงค์ โชติญาณวงษ์th_TH
dc.date.accessioned2018-05-22T07:21:15Z
dc.date.available2018-05-22T07:21:15Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.otherhs2416
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4891
dc.description.abstractในงานวิจัยนี้ กลุ่มผู้วิจัยได้พัฒนาเทคโนโลยีการสร้างแผ่นเซลล์มาใช้กับเซลล์กระดูกอ่อนเพื่อเป็นวิธีใหม่ในการรักษาโรคข้อเสื่อมและอาการบาดเจ็บที่กระดูกอ่อน ซึ่งทางกลุ่มผู้วิจัยได้ทำการศึกษาถึงผลของการใช้แสตมป์เจลาติน ในการลอกแผ่นเซลล์กระดูกอ่อนและคุณสมบัติของแผ่นเซลล์ที่ได้โดยวัดจากยีนที่สำคัญของกระดูกอ่อน และ stress fiber กระดูกอ่อนที่ใช้ในการทดลองนี้ได้มาจากผู้ป่วยที่เข้ารับผ่าตัดข้อเข่า เซลล์กระดูกอ่อนจะนำมาย่อยแล้วเลี้ยงเพิ่มจำนวน ก่อนที่จะนำมาเลี้ยงบนภาชนะเลี้ยงเซลล์พิเศษที่ปรับสภาพตามอุณหภูมิ หลังจากนั้นจึงทำการลอกโดยใช้แสตมป์เจลาติน หรือไม่ใช้แสตมป์ ซึ่งผลที่ได้พบว่า หากใช้แสตมป์เจลาตินแล้ว แผ่นเซลล์ที่ได้จะมีขนาดใหญ่กว่า ไม่หดตัว และพบ stress fiber ปริมาณมาก แต่ว่าปริมาณคอลลาเจนชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นยีนที่สำคัญของเซลล์กระดูกอ่อนนั้นน้อยกว่า แผ่นเซลล์ที่ไม่ใช้แสตมป์เจลาติน เนื่องจากการที่ไม่ใช้แสตมป์เจลาติน แผ่นเซลล์จะมีการหดตัวมากกว่า stress fiber จะมีปริมาณน้อยกว่ามาก ทำให้คอลลาเจนชนิดที่ 2 มีมากกว่า ดังนั้นเราจึงสรุปได้ว่าการผลิต stress fiber มีผลอย่างมากต่อการสร้างคอลลาเจนชนิดที่ 2 ดังนั้นเซลล์กระดูกอ่อนในแผ่นเซลล์ที่ไม่ใช้แสตมป์เจลาตินจะรวมตัวกันแน่นกว่าเกิดเป็นโครงสร้างแบบ 3D ซึ่งเหมาะสมกับการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อมากกว่าแผ่นเซลล์ที่ลอกโดยใช้แสตมป์เจลาติน นอกจากนั้นทางกลุ่มวิจัยยังสร้างพื้นผิวในการเลี้ยงเซลล์กระดูกอ่อนแบบใหม่ ที่สามารถจะทำให้เซลล์กระดูกอ่อนไม่เปลี่ยนสภาพในการเลี้ยงเซลล์กระดูกอ่อน เซลล์สามารถเปลี่ยนเป็นเซลล์ fibroblast ได้เมื่อเลี้ยงไปเป็นระยะเวลานาน ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหานี้ทางกลุ่มวิจัยจึงได้นำ the fifth generation dendrimer-immobilized surface (G5) มาใช้ในการเลี้ยงเซลล์กระดูกอ่อน ซึ่งเซลล์กระดูกอ่อนที่ เลี้ยงบนพื้นผิวนี้จะมีลักษณะเป็นก้อน ซึ่งเป็นสภาวะแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับเซลล์ที่อยู่ในเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน จากการศึกษาพบว่าเซลล์กระดูกอ่อนที่เลี้ยงบนพื้นผิวใหม่นี้จะมีคุณสมบัติที่ดีกว่า คือมีคอลลาเจนชนิดที่ 2 และ aggrecan เยอะกว่าเซลล์ที่เลี้ยงบนภาชนะเลี้ยงเซลล์ทั่วๆไป นอกจากนั้น ยีนที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ไปเป็น fibroblast ซึ่งคือคอลลาเจนชนิดที่ 1 ก็น้อยลงด้วย ดังนั้นพื้นผิวใหม่นี้จึงเหมาะสมกับการนำไปใช้ในการเพิ่มจำนวนเซลล์กระดูกอ่อน ก่อนที่จะนำมาสร้างเป็นแผ่นเซลล์กระดูกอ่อนสำหรับงานวิจัยทางด้านนี้ในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectข้อเข่า--โรค--การรักษาth_TH
dc.subjectข้อเสื่อม--การรักษาth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.titleการวิจัยแผ่นเซลล์กระดูกอ่อนสำหรับการรักษาโรคเข่าเสื่อม ปีที่ 1th_TH
dc.title.alternativeChondrocyte Cell Sheets for the Treatment of Articular Cartilage Defectsen_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeCell sheet technology is applied to human articular chondrocytes to construct a tissue-like structure as an alternative treatment for cartilage defect. The effect of a gelatin manipulator, as a cell sheet transfer system, on the quality of the chondrocyte sheets was investigated. The changes of important chondrogenic markers and stress fibers, resulting from the cell sheet manipulation, were also studied. The chondrocyte cell sheets were constructed with patient-derived chondrocytes using a temperature-responsive polymer, and a gelatin manipulator as a transfer carrier. The properties of the cell sheets including sizes, expression levels of collagen type II and I, and the localization of the stress fibers were assessed and compared with those of the cell sheets harvested without the gelatin manipulator. Using the gelatin manipulator, the original size of the chondrocyte cell sheets was retained with abundant stress fibers and a decrease in the expression of collagen type II. Without the gelatin manipulator, although the cell shrinkage occurred, the cell sheet with suppressed stress fiber formation showed significantly high levels of collagen type II. These results supported that the changes of the stress fiber formation in the chondrocyte cell sheets affected the production of the chondrogenic markers. The densely packed tissue-like structure possessed a good chondrogenic activity, indicating its potential use in autologous chondrocyte implantation to treat cartilage defects. One of the challenges in cartilage tissue engineering is the maintenance of the chondrogenic activities during long-term culture. To overcome this problem, we proposed a new culture surface using the fifth generation dendrimer-immobilized surface (G5). Chondrocytes cultured on this surface formed various aggregates, providing desirable three-dimensional structure that closely mimicked the native environment of chondrocytes. As a result, higher chondrogenic markers (collagen type II and aggrecan) with lower de-differentiation marker (collagen type I) were observed in the cells on G5 surfaces as compared to those cultured on traditional polystyrene surfaces. This new surface would be beneficial for chondrocyte cell sheet engineering in our future study.en_US
dc.identifier.callnoWE348 ข261ก 2560
dc.identifier.contactno59-002
.custom.citationขวัญชนก พสุวัต, สารเนตร์ ไวคกุล and โพชฌงค์ โชติญาณวงษ์. "การวิจัยแผ่นเซลล์กระดูกอ่อนสำหรับการรักษาโรคเข่าเสื่อม ปีที่ 1." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4891">http://hdl.handle.net/11228/4891</a>.
.custom.total_download67
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year3

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2416.pdf
ขนาด: 2.317Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย