แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การวิจัยเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับชุมชนในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพชุมชนที่มีความเสี่ยงจากโครงการพัฒนาในพื้นที่ชายแดน: กรณีผลกระทบจากโรงไฟฟ้าหงสา ในจังหวัดน่าน

dc.contributor.authorดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุลth_TH
dc.contributor.authorนัทมน คงเจริญth_TH
dc.contributor.authorสงกรานต์ ป้องบุญจันทร์th_TH
dc.contributor.authorลมิตา เขตขันth_TH
dc.contributor.authorเขมชาติ ตนบุญth_TH
dc.contributor.authorสมพร เพ็งค่ำth_TH
dc.date.accessioned2018-09-11T04:58:46Z
dc.date.available2018-09-11T04:58:46Z
dc.date.issued2561-08
dc.identifier.otherhs2440
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4928
dc.description.abstractงานศึกษาวิจัยฉบับนี้เกิดจากผลการประเมินสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งได้แก่ “ความเสี่ยงข้ามพรมแดนที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม” จากการดำเนินงานของโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ศึกษากรณีโรงไฟฟ้าหงสา โดยออกแบบงานวิจัยให้ประกอบไปด้วยเนื้อหา 2 ส่วนคือ ส่วนแรก การพัฒนาระบบติดตามผลกระทบต่อสุขภาพชุมชน (self-monitoring system) โดยใช้กระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน (Community Health Impact Assessment – CHIA) หรือเอชไอเอชุมชน เป็นเครื่องมือ โดยมี ลมิตา เขตขัน ผู้ช่วยวิจัย เก็บข้อมูลในชุมชน และในส่วนที่สองเป็นการศึกษาทบทวนกฎหมายนโยบายของประเทศไทย และสปป.ลาวในแง่การกำกับดูแลจัดการผลกระทบ (มลพิษ) ข้ามแดน โดย อ.สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ และกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดย ดร.นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทีมวิจัยพบว่า สิ่งที่ชาวบ้านกังวลมากที่สุด คือผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตรเกรงว่าผลผลิตทางการเกษตรจะเสียหายหรือลดลงจากเดิม ทำให้สูญเสียรายได้ เพราะการเกษตร คือรายได้หลักในการดำรงชีพ ข้อกังวลรองลงมา คือผลกระทบต่อสุขภาพที่การปนเปื้อนมลพิษสะสมในดิน น้ำ อากาศ ตลอดจนพืชอาหาร เช่น ข้าว ผัก อาจจะทำให้ชาวบ้านเจ็บป่วยเรื้อรัง และเป็นโรครุนแรงในอนาคต แม้ว่าชาวบ้านส่วนใหญ่จะมีสิทธิหลักประกันสุขภาพ และมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในหมู่บ้าน แต่ก็เป็นเพียงระบบบริการปฐมภูมิให้การรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น หากมีการเจ็บป่วยที่รุนแรง ฉุกเฉิน ดังนั้น การจัดทำแผนที่ความเสี่ยงของชุมชน จึงเป็นงานต่อไปที่จำเป็น โดยแผนที่ดังกล่าว จะครอบคลุมทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยเฉพาะความผิดปกติในพืชผลทางการเกษตร กลุ่มเปราะบางทางสุขภาพที่มีภาวะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและหลอดเลือด รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ (แม่และเด็ก) ที่อาจจะได้รับผลกระทบทางสุขภาพมากกว่าคนปกติที่ร่างกายแข็งแรง เพื่อนำมาออกแบบระบบเฝ้าระวังผลกระทบต่อชุมชนต่อไป โดยเห็นว่าเรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน ควรจะมีการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานรัฐกับประชาชน หน่วยงานที่ควรเข้ามาร่วมในการรับทราบข้อมูลและหาทางป้องกันร่วมกันคือ หน่วยงานด้านเกษตร หน่วยงานด้านสาธารณสุข หน่วยงานด้านชลประทาน และองค์กรปกครองส่วนต่างๆ เพราะเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Impact Assessmenten_US
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Policyen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleการวิจัยเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับชุมชนในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพชุมชนที่มีความเสี่ยงจากโครงการพัฒนาในพื้นที่ชายแดน: กรณีผลกระทบจากโรงไฟฟ้าหงสา ในจังหวัดน่านth_TH
dc.title.alternativePreparedness of Participatory Community’s health impact assessment from development project locating in borderlands: a case study of Hongsa Coal project in Nan provinceen_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research has been initiated and emerged from the results of baseline assessment conducted, towards “the trans-border risks with impacts to health and environment” of the mega project carried out, in case of the Hong Sa power plant. The research methodologies comprises two main components, as: (i) the first – the research for development of self-monitoring system through the Community Health Impact Assessment (CHIA) as a tool; (ii) the second – the review of laws and policies of Thailand and of Laos PDR in aspects of supervision and management of trans-border impact (pollution); and (iii) the recommendations made. It could be summarized with finding as follows. The research team also identified that the most serious concern of villagers was the impacts incurred to their cash crops, as the agricultural products might be damaged and declined and causing of the economic loss, since they would be principal incomes gained for their necessities. The second serious concern of villagers was the health impacts incurred from the contamination of poisonous substances and pollutions accumulated in soils, water and air including food crops, e.g. rice and vegetable. These would cause the chronic and emerging sicknesses and diseases with harm induced in the long run. And although the majority of villagers were entitled to the healthcare schemes with social security and with accessibility to sub-district healthcare services centers and hospitals nearby the villages, but these were only for the basic and primary healthcare services provided with first aids or emergency incidents. Thus, the making of risk map of communities, it would be the vital work with further backing-up and supportive needs and such map would cover aspects of environment and health, especially towards the abnormality with agricultural productivity; the vulnerable groups with health problems and those with respiratory system and blood vessels, including those with pregnancy and maternity (mother and infant) whom might be more sensitive than people in general for the design of impact monitoring system toward the community furthermore. And this was relating to multi-sector entities and it deems expedient to cooperate among the government agencies and people. The agencies shall take part with information received and sharing for finding solutions are: those in charge with agriculture, health, irrigation and local administration, as this would be necessary for having more and wide cooperation with all sectors.en_US
dc.identifier.callnoWA754 ด135ก 2561
dc.identifier.contactno60-041
dc.subject.keywordCommunity Health Impact Assessmenten_US
.custom.citationดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล, นัทมน คงเจริญ, สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์, ลมิตา เขตขัน, เขมชาติ ตนบุญ and สมพร เพ็งค่ำ. "การวิจัยเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับชุมชนในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพชุมชนที่มีความเสี่ยงจากโครงการพัฒนาในพื้นที่ชายแดน: กรณีผลกระทบจากโรงไฟฟ้าหงสา ในจังหวัดน่าน." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4928">http://hdl.handle.net/11228/4928</a>.
.custom.total_download185
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year20

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2440.pdf
ขนาด: 5.389Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย