แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบในการประเมินความคุ้มค่าของ Valganciclovir ชนิดรับประทานและ Ganciclovir ชนิดฉีดในการป้องกันและรักษาการติดเชื้อไซโตเมกะโลไวรัสในผู้ป่วยที่รับการปลูกถ่ายอวัยวะ

dc.contributor.authorพรรณนภา สังข์มาลาth_TH
dc.contributor.authorPannapa Sangmalaen_US
dc.date.accessioned2018-09-28T07:55:09Z
dc.date.available2018-09-28T07:55:09Z
dc.date.issued2561-09
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 12,3 (ก.ค.-ก.ย. 2561) : 500-514th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4945
dc.description.abstractValganciclovir ชนิดรับประทานมีประสิทธิผลและความปลอดภัยเทียบเท่ากับ ganciclovir ชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำซึ่งเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติในการป้องกันและรักษาการติดเชื้อไซโตเมกะโลไวรัส (cytomegalovirus, CMV) ในผู้ป่วยที่เข้ารับการปลูกถ่ายอวัยวะ แต่เนื่องจาก valganciclovir มีราคาสูงกว่า ganciclovir มาก การพิจารณาบรรจุ valganciclovir เข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ จึงต้องมีการศึกษาถึงความคุ้มค่า ซึ่งจากการสืบค้นวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ โดยกำหนดเกณฑ์คัดเลือกว่าเป็นนิพนธ์ต้นฉบับที่ประเมินความคุ้มค่าเต็มรูปแบบของการใช้ยา valganciclovir และ/หรือ ganciclovir ชนิดฉีด ที่ระยะเวลาต่างๆ เปรียบเทียบระหว่างตัวยา หรือเปรียบเทียบระหว่างวิธีการให้ยาเพื่อการป้องกันแบบ prophylaxis, pre-emptive หรือรักษาเมื่อเกิดโรคแล้วของยาเพียงตัวใดตัวหนึ่งในผู้ป่วยรับการปลูกถ่ายอวัยวะทุกชนิด พบว่ามีการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา 4 เรื่อง (เป็นการเปรียบเทียบการให้ยาที่ระยะเวลาต่างกันของวิธี valganciclovir prophylaxis 2 เรื่อง เป็นการเปรียบเทียบวิธีให้ prophylaxis กับ pre-emptive โดยใช้ยา valganciclovir 1 เรื่อง และเป็นการเปรียบเทียบ pre-emptive valganciclovir กับ no prevention therapy 1 เรื่อง) และมีการศึกษาในประเทศในทวีปยุโรป 3 เรื่อง (เป็นการเปรียบเทียบการให้ที่ระยะเวลาต่างๆ โดยวิธี ganciclovir prophylaxis เป็นการเปรียบเทียบ prophylaxis กับ pre-emptive ganciclovir และเป็นการเปรียบเทียบ ganciclovir prophylaxis กับ valganciclovir prophylaxis อย่างละ 1 เรื่อง) ทั้งนี้ เป็นการศึกษาในคนไข้ปลูกถ่ายไต ปอด ตับ ตับอ่อนและไขกระดูก ในมุมมองของโรงพยาบาล สังคมและระบบประกันสุขภาพ มี 5 ใน 7 การศึกษาที่ใช้แบบจำลอง Markov และ decision tree ที่กรอบระยะเวลา 5 เดือนถึง 10 ปี โดยกำหนดอัตราลด 3-5% และมี 2 ใน 7 การศึกษาที่พิจารณาต้นทุนและผลลัพธ์ในระยะไม่เกิน 1 ปีแรกหลังปลูกถ่ายอวัยวะ ผลการทบทวนวรรณกรรมพบว่า การให้ยาต้านไวรัสหลังการปลูกถ่ายอวัยวะวิธี prophylaxis นาน 200 วัน มีความคุ้มค่ามากกว่าการให้แบบ pre-emptive และวิธีการให้ยาเมื่อเกิดโรค และยังพบว่า การให้วิธี prophylaxis ในการป้องกันการเกิดภาวะ early DNAemia การเกิด CMV disease การติดเชื้อฉวยโอกาส รวมทั้งการปฏิเสธอวัยวะ เหล่านี้ให้ผลที่ดีกว่าการให้แบบ pre-emptive ด้วย ในขณะที่ต้นทุน prophylaxis และ pre-emptive สูงเทียบเท่ากันและการให้ที่ระยะเวลานานกว่าสามารถลดอุบัติการณ์การเกิด CMV disease ได้ดีกว่าในขณะที่ต้นทุนประหยัดกว่า สำหรับการเปรียบเทียบความคุ้มค่าระหว่างยา 2 ตัว สรุปได้เพียงว่าต้นทุนของการให้ ganciclovir สูงในระยะ 1 ปีแรกจาก catheter culture test การบริหารยา ค่าห้องและการจัดการอาการข้างเคียงที่เกิดจากการให้ยาทางหลอดเลือดดำ แต่ยังไม่ครอบคลุมต้นทุนและผลลัพธ์สุขภาพในระยะเวลายาวกว่านั้น การศึกษาในต่างประเทศที่พบนี้ เลือกแนวทางการรักษาและยาแตกต่างกันไป ขึ้นกับแนวทางเวชปฏิบัติและทรัพยากร การทบทวนวรรณกรรมนี้สามารถให้ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการนำไปวิเคราะห์เพิ่มเติมเพื่อประเมินความคุ้มค่าของ valganciclovir ในการพิจารณาบรรจุเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติของประเทศไทยต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการปลูกถ่ายอวัยวะth_TH
dc.subjectOrgan Transplantationen_US
dc.subjectCytomegalovirusen_US
dc.titleการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบในการประเมินความคุ้มค่าของ Valganciclovir ชนิดรับประทานและ Ganciclovir ชนิดฉีดในการป้องกันและรักษาการติดเชื้อไซโตเมกะโลไวรัสในผู้ป่วยที่รับการปลูกถ่ายอวัยวะth_TH
dc.title.alternativeThe Systematic Review of Economic Evaluation of Oral Valganciclovir and Intravenous Ganciclovir for Cytomegalovirus (CMV) Prevention and Treatment in Transplant Recipientsen_US
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeOral valganciclovir is the alternative option for prophylaxis and treatment of cytomegalovirus (CMV) disease that is widely used in transplantation due to the equivalent safety and efficacy compared with intravenous ganciclovir. So valganciclovir was proposed for the inclusion into the national list of essential drug. The systematic review criteria were the original article of the full economic evaluation for valganciclovir or intravenous ganciclovir in various durations of therapy. Prophylaxis, pre-emptive prevention regimen and wait-and-treat regimen of only one or both of these drugs for all organ transplantation recipients were included to the study. The eligible studies showed 4 studies in the US, 2 studies compared between different duration of therapy of using prophylaxis valganciclovir, 1 study compared prophylaxis with pre-emptive therapy using valganciclovir, and the other compared pre-emptive valganciclovir with no prevention therapy. In European countries, there were 3 studies: compared prophylaxis ganciclovir among durations of therapy, compared prophylaxis with pre-emptive ganciclovir, and compared prophylaxis ganciclovir with prophylaxis valganciclovir. The studies targeted in kidney, lung, liver, pancreas, and hematopoietic stem cell transplantation in hospital, societal, or health system perspective. There were 5 of 7 studies modeled the Markov and decision tree and discounted 3-5% with 5 month to 10 year horizon to estimate costs and outcome, while 2 of 7 studies considered costs and outcome in 1 year after transplantation. The results showed prophylaxis 200 days was more cost-effective than pre-emptive and wait-and-treat regimen because of the superior outcome of longer duration prophylaxis in preventing early DNAemia, CMV disease, opportunistic infection, and graft rejection, but the costs were equally high of drug for prophylaxis, and laboratory monitoring for pre-emptive therapy. To compare the cost effectiveness between ganciclovir and valganciclovir, it could be concluded only the costs of using ganciclovir were high particularly in 1 year after transplantation due to catheter culture test, drug administration, room expenses, and intravenous caused adverse event. However, there was no the long-term costs and outcome presented. The studies from other countries were differently designed of comparator approach upon their routine practice and resource concerns. This systematic review could explore the elementary information for further economic analysis and making decision included valganciclovir into the Thai national list of essential drug.en_US
dc.subject.keywordGancicloviren_US
dc.subject.keywordValgancicloviren_US
.custom.citationพรรณนภา สังข์มาลา and Pannapa Sangmala. "การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบในการประเมินความคุ้มค่าของ Valganciclovir ชนิดรับประทานและ Ganciclovir ชนิดฉีดในการป้องกันและรักษาการติดเชื้อไซโตเมกะโลไวรัสในผู้ป่วยที่รับการปลูกถ่ายอวัยวะ." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4945">http://hdl.handle.net/11228/4945</a>.
.custom.total_download2846
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month32
.custom.downloaded_this_year94
.custom.downloaded_fiscal_year303

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v12n ...
ขนาด: 407.4Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1334]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย