แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ค่าบริการวิชาชีพที่ให้บริการแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินของสถานพยาบาลเอกชนภายใต้โครงการพัฒนาข้อเสนอ UCEP ด้านการเงินการคลัง

dc.contributor.authorภาสกร สวนเรืองth_TH
dc.contributor.authorPassakorn Suanrueangen_EN
dc.contributor.authorอุทุมพร วงษ์ศิลป์th_TH
dc.contributor.authorUtoomporn Wongsinen_EN
dc.date.accessioned2019-03-28T12:29:43Z
dc.date.available2019-03-28T12:29:43Z
dc.date.issued2562-03
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 13,1 (ม.ค.-มี.ค. 2562) : 47-62th_TH
dc.identifier.issn26729415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5036
dc.description.abstractค่าบริการวิชาชีพ (professional fee) เป็นหนึ่งในกลุ่มรายการที่กำหนดให้มีการเบิกจ่ายให้กับสถานพยาบาลที่ให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ามีมูลค่าเรียกเก็บรวมสูงกว่า 88 ล้านบาท สูงเป็นอันดับหนึ่งของมูลค่าเรียกเก็บในแต่ละกลุ่มรายการ การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นวิเคราะห์รายการ จำนวนครั้งและมูลค่าเรียกเก็บค่าบริการวิชาชีพของสถานพยาบาลเอกชนภายใต้นโยบายรัฐบาล “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่” หรือ “UCEP” (Universal Coverage for Emergency Patients) การศึกษานี้ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของสถานพยาบาลเอกชนต่างๆ ที่ให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มดำเนินนโยบายดังกล่าว คือวันที่ 1 เมษายน 2560 ถึงวันที่ 27 ธันวาคม 2560 ผลการศึกษา พบว่า รายการค่าบริการวิชาชีพที่เป็นการตรวจวินิจฉัยและทำหัตถการโดยแพทย์ในบริการการแพทย์ฉุกเฉินมีจำนวนทั้งหมด 512 รายการ โดย 508 รายการ ตรงกับคู่มือค่าธรรมเนียมแพทย์ของแพทยสภาที่มีรายการทั้งสิ้น 4,389 รายการ และกำหนดรายการเพิ่มนอกคู่มือค่าธรรมเนียมแพทย์อีก 4 รายการ โดยรายการจาก Chapter 10 (Obstetrical procedures) มีสัดส่วนที่ตรงกับรายการในคู่มือฯ มากที่สุด (ร้อยละ 34.4) ค่าบริการทางการแพทย์ มีจำนวนรายการเรียกเก็บ คิดเป็นร้อยละ 51.4 จาก 512 รายการ โดยมีจำนวนเรียกเก็บ 30,944 ครั้ง หรือร้อยละ 36.2 และมูลค่าเรียกเก็บประมาณ 4.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 53.6 จากมูลค่าค่าบริการวิชาชีพทั้งหมด รายการที่มีจำนวนการเรียกเก็บรวมสูงสุด คือ รหัส 59009 การตรวจรักษา-กรณีผู้ป่วยใน-ครั้งต่อไป สูงถึง 5,465 ครั้ง หรือร้อยละ 17.7 รายการที่มีมูลค่าเรียกเก็บรวมสูงสุด คือ รหัส 83786 Initial inpatient evaluation and management (การตรวจรักษา-กรณีผู้ป่วยใน-ครั้งแรก) มีมูลค่าเรียกเก็บสูงกว่า 3.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 8 จากมูลค่าทั้งหมด กลุ่มที่มีมูลค่าเรียกเก็บรวมสูงสุด คือ Chapter 1 Procedures of the head and maxillo-facial area เท่ากับ 12.3 ล้านบาท หรือร้อยละ 26.0 จากมูลค่าทั้งหมด ด้านรายการที่มีมูลค่าเรียกเก็บรวมสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่ม Initial inpatient evaluation and management กลุ่ม Coronary artery และกลุ่ม Medical examination คิดเป็นร้อยละ 13.8, 11.2 และ 10.0 ตามลำดับ บัญชีอัตราค่าบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (UCEP Fee Schedules) ครอบคลุมรายการค่าตรวจวินิจฉัยและทำหัตถการโดยแพทย์ที่ให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินของสถานพยาบาลเอกชน อย่างไรก็ตาม พบว่า สถานพยาบาลเอกชนเรียกเก็บรายการดังกล่าวเพียงประมาณครึ่งหนึ่งจากรายการทั้งหมด เหตุที่รายการเรียกเก็บน้อย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะข้อจำกัดในการบันทึกข้อมูลส่งเบิก ดังนั้น หน่วยงานที่ดูแลการเบิกจ่ายควรกำหนดนิยามและความหมายของแต่ละรายการให้ชัดเจนและสอดคล้องกับการให้บริการ สำหรับสถานพยาบาลควรจัดการอบรมบุคลากรในสถานพยาบาลให้เข้าใจคำนิยามรายการบริการเพื่อให้บันทึกรายการข้อมูลเรียกเก็บที่ถูกต้อง นอกจากนี้ ควรมีหน่วยงานเฉพาะภายใต้การดูแลของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ในการปรับปรุงรายการให้สอดคล้องกับรายการที่มีการให้บริการของสถานพยาบาล รวมทั้งเพิ่มเติมรายการค่าบริการบางประเภทที่ยังไม่มีในอัตราค่าบริการการแพทย์ฉุกเฉินด้วยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectค่าบริการทางแพทย์th_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์th_TH
dc.subjectMedical careth_TH
dc.subjectบริการการแพทย์ฉุกเฉินth_TH
dc.subjectEmergency Medical Servicesth_TH
dc.titleค่าบริการวิชาชีพที่ให้บริการแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินของสถานพยาบาลเอกชนภายใต้โครงการพัฒนาข้อเสนอ UCEP ด้านการเงินการคลังth_TH
dc.title.alternativeProfessional Fee in the Private Hospital Disbursement of the Universal Coveragefor Emergency Patients (UCEP)en_EN
dc.description.abstractalternativeProfessional fee is one of the emergency medical service disbursement lists that private hospitals can submit for compensation. The recent data showed that the professional fee was the highest item disbursed accounted for approximately THB 88 million. The objective of this study, therefore, was to examine the detailed lists, the amount and disbursement of professional fees made by private hospitals under the Universal Coverage for Emergency Patients (UCEP). The disbursement data from private hospitals providing emergency medical services between 1 April and 27 December 2017 were analyzed by descriptive statistics. The findings illustrated that from the list of UCEP professional fees, there were 512 items made by medical doctors (508 items matched with 4,389 items of the Thai Medical Council’s doctors’ fees handbook, and 4 items outside of the handbook). The items of UCEP disbursement procedures in Chapter 10 Obstetrical procedures covered 34.4% of the TMC doctors’ fees list. The proportion of doctors’ fees disbursement accounted for over a half of 512 items (51.4%), disbursing 30,944 times or 36.2% of total transactions, with approximately THB 47 million or 53.7% of total professional fees. The Item on the next treatment for inpatient (code 59009) incurred the highest transactions at 5,465 (17.7%), while the initial inpatient evaluation and management (code 83786) incurred the highest disbursement of over THB 3.8 million (8% of total fee). Chapter 1 Procedures of the head and maxillo-facial area disbursed over THB 12.3 million or a quarter of the total fee. The top three doctors’ fees were the initial inpatient evaluation and management (13.8%), followed by the coronary artery procedure (11.2%) and the medical examination (10%). Doctors’ fees disbursement of emergency medical services from private hospitals covered just approximately a half of total items. Disbursement agencies should, therefore, explicitly define meaning of individual items related to current services in hospitals. In case of hospitals, they should promote training of personnel to correctly entry disbursement information. Moreover, a specific agency within the National Institute for Emergency Medicine should actively update the list of procedures to cover unavailable items.en_EN
dc.subject.keywordUniversal Health Coverage for Emergency Patientsen_EN
dc.subject.keywordค่าบริการวิชาชีพth_TH
dc.subject.keywordProfessional feeth_TH
.custom.citationภาสกร สวนเรือง, Passakorn Suanrueang, อุทุมพร วงษ์ศิลป์ and Utoomporn Wongsin. "ค่าบริการวิชาชีพที่ให้บริการแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินของสถานพยาบาลเอกชนภายใต้โครงการพัฒนาข้อเสนอ UCEP ด้านการเงินการคลัง." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5036">http://hdl.handle.net/11228/5036</a>.
.custom.total_download879
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month18
.custom.downloaded_this_year44
.custom.downloaded_fiscal_year99

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v13n ...
ขนาด: 313.7Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1326]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย