Show simple item record

Study of health situations, aging society and travel problems for health services; A case of the urban community surround Sirinthorn Hospital, Bangkok

dc.contributor.authorพัสตราภรณ์ ทิพยโสธรth_TH
dc.contributor.authorPastraporn Thipayasothornth_TH
dc.contributor.authorอมรช้ย ชัยชนะth_TH
dc.contributor.authorAmornchai Chaichanath_TH
dc.contributor.authorทิพวัลย์ เรืองฤทธิ์th_TH
dc.contributor.authorThipawan Ruangritth_TH
dc.contributor.authorเอื้อมอัมพร เพชรสินจรth_TH
dc.contributor.authorAueamaumporn Phetsinchornth_TH
dc.contributor.authorประทุม มั่นคงth_TH
dc.contributor.authorPrathum Monkhongth_TH
dc.date.accessioned2020-01-13T06:36:13Z
dc.date.available2020-01-13T06:36:13Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.otherhs2526
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5141
dc.description.abstractสถานการณ์สุขภาพสังคมสูงวัยและปัญหาการเดินทางในกลุ่มคนสูงวัยในชุมชนเมือง กรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในการกำหนดการศึกษากิจกรรมสุขภาพสังคมสูงวัย กับรูปแบบการเดินทางในชุมชนเมือง กรุงเทพมหานคร จากปัญหาจากความบกพร่องเสื่อมของของร่างกายตามวัยและจากโรคตามอายุ ทำให้ผู้สูงวัยมีความจำเป็นต้องการเข้ารับบริการด้านสุขภาพ เพื่อรักษา ส่งเสริมป้องกัน และฟื้นฟูสมรรถภาพให้ผู้สูงวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการเข้ารับบริการสุขภาพของผู้สูงวัย มีหลายปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งระบบการให้บริการของสถานพยาบาล การเข้าถึงสถานพยาบาลหรือจุดบริการสุขภาพ ระบบการเดินทางขนส่งสาธารณะ และพาหนะส่วนบุคคลของผู้สูงวัยเอง วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษากิจกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ กับรูปแบบการเดินทางในชุมชนเมือง ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางรับบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงวัยในชุมชนเมือง นำไปสู่การรายงานสถานการณ์สุขภาพสังคมสูงวัยและปัญหาการเดินทางมารับบริการสุขภาพในชุมชนเมือง เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในการพัฒนาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วิธีดำเนินการศึกษาใช้กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงวัย อายุ 60 ปี ขึ้นไป ด้วยแบบสอบถามการเดินทางจากที่พักมารับบริการสุขภาพ ณ โรงพยาบาลสิรินธร กรุงเทพมหานคร จำนวน 407 ตัวอย่าง โดยแบ่งกลุ่มข้อมูล 1) กลุ่มเดินได้สะดวกดี 2) กลุ่มนั่งรถเข็น และ 3) กลุ่มนอนติดเตียง ขั้นตอนที่ 2 คัดเลือกอาสาสมัครผู้สูงวัยจากการตอบแบบสอบถามในขั้นตอนที่ 1 มาสัมภาษณ์การเดินทางจากบ้านมาโรงพยาบาลสิรินธร โดยใช้แผนที่ประกอบการอธิบาย จำนวน 154 ตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 3 คัดเลือกอาสาสมัครผู้สูงวัยจากการสัมภาษณ์ แผนที่การเดินทางในขั้นตอนที่ 2 เพื่อร่วมเดินทางมาโรงพยาบาลกับกลุ่มตัวอย่างผู้สูงวัยและใช้การสำรวจสังเกตการณ์รูปแบบการเดินทางของผู้สูงวัย เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางมารับบริการสุขภาพ ณ โรงพยาบาลสิรินธร ผลการวิจัยสถานการณ์สุขภาพสังคมสูงวัยและปัญหาการเดินทางมารับบริการสุขภาพ สรุปได้ว่า 1. กิจกรรมสุขภาพสังคมสูงวัย เป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิดการเดินทางไปโรงพยาบาลตามกำหนดการ มากกว่าการเดินทางประเภทอื่นๆ โดยกลุ่มผู้สูงวัยส่วนใหญ่ มีผู้ร่วมเดินทางมารับบริการสุขภาพ ซึ่งกลุ่มผู้เดินทางรับรู้เส้นทางการมาโรงพยาบาลอยู่แล้ว จึงใช้เวลาเดินทางในช่วง 30-59 นาที เป็นส่วนใหญ่ จากผลการสำรวจกิจกรรมสุขภาพสังคมสูงวัยและรูปแบบการเดินทางในชุมชนเมือง นำไปสู่การวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางรับบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงวัย ตามเป้าหมายวัตถุประสงค์การวิจัย ข้อ 1. ด้านการศึกษากิจกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ กับรูปแบบการเดินทางในชุมชนเมือง กรุงเทพมหานคร 2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางมารับบริการสุขภาพ สำหรับผู้สูงวัยส่วนใหญ่ คือ การรับข้อมูลเพื่อดูแลสุขภาพ โดยผู้สูงวัยรับฟังการแจ้งด้วยตนเองและรองลงมาคือรับฟังผ่านผู้ดูแล โดยกลุ่มที่นอนติดเตียงใช้เวลาเตรียมตัวเพื่อการเดินทางนานที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มนั่งรถเข็น และกลุ่มเดินได้สะดวกดีใช้เวลาเตรียมตัวก่อนเดินทางน้อยที่สุด เป็นการตัดสินใจเดินทางด้วยรูปแบบที่หลากหลาย วิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์การวิจัย ข้อ 2. การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางรับบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงวัยในชุมชนเมืองรอบโรงพยาบาลสิรินธร กรุงเทพมหานคร โดยแสดงให้เห็นรูปแบบการเดินทางรับบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงวัยในชุมชนเมืองของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) ข้อมูลการเดินทางมารับบริการสุขภาพจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงวัยประเภทเดินได้สะดวกดี 2) ข้อมูลการเดินทางมารับบริการสุขภาพจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงวัยประเภทนั่งรถเข็น 3) ข้อมูลการเดินทางมารับบริการสุขภาพจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงวัยประเภทนอนติดเตียง การประเมินสถานการณ์เดินทางมารับบริการสุขภาพผู้สูงวัย วิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์การวิจัย ข้อ 3. ด้านการรายงานสถานการณ์สุขภาพสังคมสูงวัยและปัญหาการเดินทางมารับบริการสุขภาพในชุมชนเมืองรอบ โรงพยาบาลสิรินธร กรุงเทพมหานคร นำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะในการพัฒนารูปแบบการเดินทางมารับบริการสุขภาพ 1)การออกแบบกิจกรรมกลุ่มสูงวัยตามกำหนดการรับบริการสุขภาพ และมีการประชาสัมพันธ์สร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วมในชุมชน 2)การสร้างปัจจัยสนับสนุนการเดินทางไปรับบริการสุขภาพ โดยเฉพาะข้อมูลสารสนเทศช่วยการเดินทางให้เกิดการเข้าถึงพื้นที่จุดบริการสุขภาพอย่างสะดวกและปลอดภัยต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีส่งเสริมดูแลสุขภาพผู้สูงวัย โดยมีข้อมูลพื้นฐานที่มีมาตรฐานจะทำให้การออกแบบปัจจัยสนับสนุนการเดินทางมีความสะดวกและมีประสิทธิภาพสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิเคราะห์แผนที่ในระบบสารสนเทศเพื่อการเดินทางที่สะดวก ประหยัดเวลาการสัญจรและสามารถสื่อสารข้อมูลสุขภาพเบื้องต้นของผู้สูงวัยให้กับสถานพยาบาลปลายทางได้เตรียมการบริหารจัดการพื้นที่รองรับและการบริการสุขภาพที่เหมาะสมตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้สูงวัยมากที่สุดth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectElderlyth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--สุขภาพและอนามัยth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--การดูแลth_TH
dc.subjectAge Groupsth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์th_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการศึกษาสถานการณ์สุขภาพสังคมสูงวัยและปัญหาการเดินทางมารับบริการสุขภาพในชุมชนเมืองรอบโรงพยาบาลสิรินธร กรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeStudy of health situations, aging society and travel problems for health services; A case of the urban community surround Sirinthorn Hospital, Bangkokth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeStudy of health situations, aging society and travel problems for health services; A case of the urban community surround Sirinthorn Hospital, Bangkok has relationships with the environment in determining education, social health activities of the elderly with travel patterns in urban communities, Bangkok. From problems due to deficiencies of the body according to age and from diseases with age making the elderly need to get health services to maintain, promote, prevent and rehabilitation for the elderly to have a good quality of life. By attending health services for the elderly There are many factors involved both the hospital's service system Access to hospitals or health services, public transport travel system and personal vehicles for the elderly. Objective of the research was to study the health activities of the elderly. With travel patterns in urban communities. To study the factors related to traveling to receive health services for the elderly in the urban community lead to the reporting of health situations, social aging and travel problems for health services. In the urban community in order to make recommendations for development to relevant agencies. The methods of the study were quantitative and qualitative research, which is divided into 3 steps; Step 1: Survey data from a sample of aged 60 and over with a questionnaire traveling from the accommodation to receive health services at Sirindhorn Hospital Bangkok. The amount of 407 samples, divided by data groups 1) Good walking group, 2) Group sitting in a wheelchair and 3) Group lying on the bed. Step 2. Select the elderly volunteers from the questionnaire responses in Step 1 to interview, traveling from home to Sirindhorn Hospital by using the accompanying map to explain 154 examples. Step 3. Selection of elderly volunteers from interviews Map of the journey in step 2 in order to travel to the hospital with a sample of the elderly and use the survey to observe the travel patterns of the elderly. To study factors related to traveling to receive health services at Sirindhorn Hospital. Situation research results Elderly social health and travel problems to get health services. In conclusion; 1. Elderly social health activities Scheduled to travel to the hospital as scheduled More than other types of travel. By the majority of the elderly, there are participants traveling to receive health services. In which the traveling group already knows the route to the hospital. Therefore most travel times are between 30-59 minutes. From the survey of elderly social health activities and traveling patterns in urban communities contribute to the analysis of factors related to traveling to receive health services for the elderly. According to the research objectives, item 1. The study of health activities of the elderly with travel patterns in urban communities Bangkok. 2. Factors related to traveling to receive health services for most of the elderly รs receiving information for health care, in which the elderly listen to their own notifications. And followed by listening through the caretaker, in which the bedding group takes the time to prepare for the longest journey. Next is the wheelchair group and the group was able to walk conveniently, taking the least time to prepare before traveling. It is a decision to travel in a variety of ways. Analyze according to research objectives, item 2. The study of factors related to traveling to receive health services for the elderly in the surrounding urban community Sirindhorn Hospital Bangkok. By showing travel patterns for health services, for the elderly in the urban community, the sample consisted of 1) Travel information to receive health services from a sample of elderly people in the category of walking easily 2) Travel information to receive health services from a group of elderly people in a wheelchair 3) Travel information to receive health services from a group of elderly people in bed. Assessing the situation of traveling to receive health services for the elderly analyze according to research objectives article 3. Reporting of health situations, elderly society and problems of traveling to receive health services in the surrounding town community. Sirindhorn Hospital Bangkok lead to make suggestions for development to the relevant departments for the development of a technology model to promote health care for the elderly 1) Design of Activities for the elderly group according to the schedule of health services and public relations creates a community participation 2) Establishing supporting factors for traveling to receive health services. With basic information that is standard, will make the design of travel factors convenient and high efficiency. Especially map analysis, in a convenient travel information system save time for traveling and able to communicate basic health information of the elderly to the destination hospitals to prepare the management of appropriate areas and health services, meets the needs of the elderly most.th_TH
dc.identifier.callnoWT20 พ587ก 2562
dc.identifier.contactno62-052
.custom.citationพัสตราภรณ์ ทิพยโสธร, Pastraporn Thipayasothorn, อมรช้ย ชัยชนะ, Amornchai Chaichana, ทิพวัลย์ เรืองฤทธิ์, Thipawan Ruangrit, เอื้อมอัมพร เพชรสินจร, Aueamaumporn Phetsinchorn, ประทุม มั่นคง and Prathum Monkhong. "การศึกษาสถานการณ์สุขภาพสังคมสูงวัยและปัญหาการเดินทางมารับบริการสุขภาพในชุมชนเมืองรอบโรงพยาบาลสิรินธร กรุงเทพมหานคร." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5141">http://hdl.handle.net/11228/5141</a>.
.custom.total_download181
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month7
.custom.downloaded_this_year13
.custom.downloaded_fiscal_year23

Fulltext
Icon
Name: hs2526.pdf
Size: 15.58Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record