แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ปัจจัยจากระบบสุขภาพที่ส่งผลต่อการเข้าถึง ความเข้าใจและการประเมินข้อมูลสุขภาพของพนักงานและอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวภายใต้การบริการที่เป็นมิตรสำหรับคนต่างด้าว

dc.contributor.authorหทัยรัตน์ โกษียาภรณ์th_TH
dc.contributor.authorHathairat Kosiyapornth_TH
dc.contributor.authorระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์th_TH
dc.contributor.authorRapeepong Suphanchaimatth_TH
dc.contributor.authorสตพร จุลชูth_TH
dc.contributor.authorSataporn Julchooth_TH
dc.contributor.authorพิกุลแก้ว ศรีนามth_TH
dc.contributor.authorPigunkaew Sinamth_TH
dc.date.accessioned2020-02-06T09:09:52Z
dc.date.available2020-02-06T09:09:52Z
dc.date.issued2562-11
dc.identifier.isbn9786168019177
dc.identifier.otherhs2534
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5164
dc.description.abstractปัญหาสุขภาพของคนต่างด้าวเป็นสิ่งที่หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยคนต่างด้าวมักมีปัญหาในการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพและการได้รับการบริการสุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากปัจจัยทางด้านความแตกต่างด้านภาษาและวัฒนธรรม ประเทศไทยมีการดำเนินการโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาการบริการสุขภาพแรงงานต่างด้าวที่เป็นมิตร (migrant-friendly service) มาอย่างยาวนาน ซึ่งประกอบด้วยการดำเนินการพนักงานสาธารณสุขต่างด้าว (พสต.) และอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) ให้เป็นบุคลากรหลักในการสื่อสารข้อมูลสุขภาพไปยังคนต่างด้าวและสามารถทำให้เกิดการพัฒนาสถานะสุขภาพคนต่างด้าวได้ ความรอบรู้ทางสุขภาพจึงเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญในการปฏิบัติงานของพสต.และอสต. แต่ทว่าการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อระดับความรอบรู้สุขภาพของแรงงานต่างด้าว ส่วนใหญ่เป็นวิจัยในต่างประเทศและไม่ได้เจาะจงเฉพาะกลุ่ม พสต. และอสต. ด้วยเหตุนี้คณะผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรอบรู้สุขภาพในกลุ่มพสต. และอสต. โดยเฉพาะการเข้าถึง ความเข้าใจและการประเมินข้อมูลสุขภาพ เพื่อให้พสต. และอสต. เป็นบุคลากรที่มีความรอบรู้สุขภาพ นำไปสู่การพัฒนาสถานะสุขภาพในประชากรต่างด้าวได้ต่อไป งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมคู่ขนาน (parallel mixed method design) ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดระนอง การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) และวิธีสโนว์บอล (snowball sampling) ในกลุ่มพสต. และอสต. เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่ดูแลพสต. และอสต. ทั้งจากภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน ผู้บริหารหน่วยบริการสาธารณสุขและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และผู้กำหนดนโยบายจากกระทรวง ร่วมกับการทบทวนเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้วิธีแก่นสาระแบบนิรนัย (deductive thematic analysis) ส่วนการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจะใช้แบบสอบถามสำรวจในกลุ่ม พสต. และอสต. รวมถึงแรงงานต่างด้าวทั่วไป จำนวน 235 คน ใช้วิธีการสำรวจพสต. ทุกคนในพื้นที่ ส่วนอสต. ในจังหวัดสมุทรสาคร เน้นกลุ่มที่อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานภาครัฐ ส่วนจังหวัดระนอง เน้นกลุ่มที่อยู่ภายใต้การดูแลขององค์กรพัฒนาเอกชน และสุ่มเลือกคนต่างด้าวทั่วไปในละแวกบ้านของพสต.และอสต. อย่างน้อยหนึ่งคนในแต่ละพื้นที่ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test, ANOVA และ multiple regression ผลการศึกษา พบว่า พสต. มีความรอบรู้สุขภาพมากกว่าแรงงานต่างด้าวทั่วไป ซึ่งน่าจะมาจากการมีกระบวนการอบรมและดูแลติดตามที่เข้มข้นกว่า รวมถึงโอกาสในการได้รับข้อมูลสุขภาพจากเจ้าหน้าที่มากกว่า การดำเนินการที่ผ่านมามีจุดเด่นในเรื่องของการมีหลักสูตรกลางที่เป็นมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุขและการสนับสนุนสื่อในการพัฒนาขีดความสามารถของพสต. และ อสต. ในบางหน่วยงานกระบวนการคัดเลือกก็จะเลือกพสต. และ อสต. จากแรงจูงใจในการทำงานที่ไม่ใช่ตัวเงินร่วมด้วย เช่น ความเป็นจิตอาสาและความต้องการที่จะมีความรู้ด้านสุขภาพ สำหรับจุดที่ต้องพัฒนาในการดำเนินการ คือ ความไม่แน่นอนของงบประมาณในการสนับสนุนการทำงานของพสต.และอสต. และการขาดระบบการติดตามและประเมินผลขีดความสามารถของพสต.และ อสต. ข้อสรุปเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญ คือ ประการแรก ภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขพึงกำหนดให้มีความชัดเจนในเรื่องของแหล่งงบประมาณในการจ้างพสต. และการพัฒนาขีดความสามารถของพสต. และอสต. ประการที่สอง คือ กำหนดขีดความสามารถขั้นพื้นฐานที่พสต. และอสต. ควรมี เช่น ทักษะด้านภาษาความเข้าใจศัพท์ทางการแพทย์ ทักษะการสื่อสาร ความเข้าใจความแตกต่างเรื่องสังคมวัฒนธรรม และความรอบรู้สุขภาพ ซึ่งจะนำไปสู่วิธีการคัดเลือกบุคลากรเข้าสู่ระบบ การพัฒนากระบวนการอบรม รวมถึงติดตามเป็นพี่เลี้ยงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้ได้บุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการ ช่วยลดปัญหาการขาดแคลน พสต. และเพิ่มความยั่งยืนของระบบ เช่น สนับสนุนการจ้างงานพสต. ที่เป็นบุคลากรทักษะสูงจากประเทศต้นทางและประการสุดท้ายควรให้ความสำคัญกับแรงจูงใจที่ไม่ใช่ตัวเงิน ในการจูงใจให้พสต. และอสต. อยู่ในระบบ เช่น การได้รับการยอมรับในชุมชน การให้สิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพและสวัสดิการ และการส่งเสริมให้พัฒนาขีดความสามารถตนเองได้ เช่น การเปิดโอกาสให้พสต. และอสต. เข้ารับการอบรมต่อ จนพัฒนาเป็นบุคลากรสุขภาพในระดับสูงขึ้นไปได้ เพื่อให้บุคลากรสามารถอยู่ในระบบได้มั่นคงขึ้นและลดช่องว่างในการสื่อสารข้อมูลสุขภาพ นำไปสู่การพัฒนาสถานะสุขภาพของแรงงานต่างด้าวth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectประชากรข้ามชาติth_TH
dc.subjectMigrantsth_TH
dc.subjectแรงงานข้ามชาติth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Workerth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.titleปัจจัยจากระบบสุขภาพที่ส่งผลต่อการเข้าถึง ความเข้าใจและการประเมินข้อมูลสุขภาพของพนักงานและอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวภายใต้การบริการที่เป็นมิตรสำหรับคนต่างด้าวth_TH
dc.title.alternativeHealth system’s factors affecting accessibility, understanding and appraisal of health information in migrant health workers and migrant health volunteers in light of migrant-friendly services: a case study in Samut sakhon and Ranong, Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeMigrant friendly health services including interpreting services have been implemented worldwide with an aim to reduce language and cultural barriers between healthcare personnel and migrants. Thailand has implemented migrant-friendly service initiative which includes migrant health worker (MHW) and migrant health volunteer (MHV) programs. MHWs and MHVs are expected to serve as key personnel that help relay health message to the wider migrant population. According to this role, health literacy is an essential skill of MHWs and MHVs. However, previous evidence about factors affecting health literacy of migrant workers were not specific to MHWs and MHVs and the evidence in Thailand was quite sparse. This research therefore sought to explore factors affecting health literacy of MHWs and MHVs especially in the angles of health-information access, understanding and appraisal. The researchers applied a parallel mixed method design in Samut Sakhon and Ranong, Thailand. In qualitative part, we conducted in-depth interviews with various stakeholders. The interviewees, selected by purposive and snowballing samplings, comprised MHWs, MHVs, healthcare staff in public health sectors and non-governmental organizations (NGOs) and policymakers. Document review was also employed. Data were analyzed by deductive thematic analysis technique. In quantitative part, primary survey was conducted on 235 participants (MHWs, MHVs and general migrants combined). All MHWs in each study site, MHVs under MOPH provision in Samut Sakhon and MHVs under NGO provision in Ranong were included in the survey. General migrants in the neighborhood area of MHWs and MHVs were randomly selected by a factor of one. Quantitative data analysis was composed of descriptive statistics, t-test, ANOVA, and multiple regression. The study revealed that MHWs had higher health literacy level than general migrant workers due to participating more in intensive training course, and having greater opportunities to receive health information from public health personnel. The strengths of MHW/MHV program were a support of standardized training curriculum and instructional media from the Ministry of Public Health (MOPH). Some organizations used nonfinancial incentives, such as volunteerism and health knowledge seeking behavior as selection criteria for recruiting MHWs and MHVs. However, there were rooms to be improved--including uncertainty of the budget used for employing MHWs and MHVs and a lack of monitoring and evaluation system on MHWs and MHVs. With all accounts above, three key policy recommendations came out. Firstly, the MOPH should make clear of the budget used for for MHW/MHV employment and capacity building. Required capacities for MHWs should be set up; such as communication skills, medical-term understanding, cultural competency, and health literacy. This will also shape the selection process of MHWs. For example, MHWs might be recruited from high-skilled migrant workers before entering Thailand. Secondly, the training courses and monitoring and evaluation processes should be systematically developed based on mutual agreement from all stakeholders. Lastly, non-financial incentives should be focused such as social recognition, healthcare privilege and fringe benefits regarding capacity development should be in place. This will help maintain MHWs and MHVs in the system.th_TH
dc.identifier.callnoW76 ห136ป 2562
dc.identifier.contactno61-062
dc.subject.keywordพนักงานสาธารณสุขต่างด้าวth_TH
dc.subject.keywordอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวth_TH
.custom.citationหทัยรัตน์ โกษียาภรณ์, Hathairat Kosiyaporn, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์, Rapeepong Suphanchaimat, สตพร จุลชู, Sataporn Julchoo, พิกุลแก้ว ศรีนาม and Pigunkaew Sinam. "ปัจจัยจากระบบสุขภาพที่ส่งผลต่อการเข้าถึง ความเข้าใจและการประเมินข้อมูลสุขภาพของพนักงานและอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวภายใต้การบริการที่เป็นมิตรสำหรับคนต่างด้าว." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5164">http://hdl.handle.net/11228/5164</a>.
.custom.total_download244
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month4
.custom.downloaded_this_year7
.custom.downloaded_fiscal_year15

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2534.pdf
ขนาด: 2.215Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย