แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ความเสี่ยงและความปลอดภัย: การโดยสารรถตู้สาธารณะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

dc.contributor.authorอมราพร สุรการth_TH
dc.contributor.authorAmaraporn Surakarnth_TH
dc.contributor.authorณภัทรรัตน์ ไชยอัครกัลป์th_TH
dc.contributor.authorNapattararat Chaiakkarakanth_TH
dc.date.accessioned2020-05-15T07:10:16Z
dc.date.available2020-05-15T07:10:16Z
dc.date.issued2563-05
dc.identifier.otherhs2566
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5207
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทำความเข้าใจธรรมชาติของสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการโดยสารรถตู้สาธารณะในชีวิตประจำวัน ผ่านมุมมองของผู้โดยสารและคนขับรถตู้โดยสารสาธารณะ 2) ค้นหาแนวทางในการป้องกันอันตรายของการโดยสารรถตู้ในชีวิตประจำวันผ่านมุมมองของผู้ที่เกี่ยวข้อง และ 3) ศึกษานโยบายและผลการดำเนินนโยบายในอดีตของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการโดยสารรถตู้สาธารณะ ตลอดจนวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลว แบ่งขั้นตอนการดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 และข้อที่ 3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลใน 3 พื้นที่ ได้แก่ วินรถตู้ กรุงเทพ-ชลบุรี กรุงเทพ-เพชรบุรีและกรุงเทพ-นครนายก จากคนขับรถตู้โดยสารสาธารณะ 45 คน ผู้โดยสารรถตู้โดยสารสาธารณะ 210 คน ผู้ประกอบการรถตู้โดยสารสาธารณะ 6 คน เจ้าหน้าที่กรมขนส่งทางบก 3 คน ตำรวจจราจร 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อค้นหาแนวทางในการป้องกันอันตรายของการโดยสารรถตู้ในชีวิตประจำวัน โดยนำผลการวิเคราะห์ระยะที่ 1 มาคืนข้อมูลให้แก่กลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัย ได้แก่ เจ้าหน้าที่กรมขนส่งทางบก เจ้าหน้าที่ตำรวจและตัวแทนจากศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน 3 คน คนขับรถตู้โดยสารสาธารณะ 30 คน ผู้โดยสารรถตู้โดยสารสาธารณะ 30 คน ผู้ประกอบการรถตู้โดยสารสาธารณะ 2 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยการโดยสารรถตู้สาธารณะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล คือ ปัจจัยด้านความรู้และทัศนคติต่อความปลอดภัยมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยการโดยสารรถตู้สาธารณะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยสามารถทำนายได้ร้อยละ 29 2) มุมมองของผู้โดยสารและคนขับรถตู้โดยสารสาธารณะที่มีต่อสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการโดยสารรถตู้สาธารณะในชีวิตประจำวัน แบ่งเป็นมุมมองจากคนขับ พบว่าคนขับมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการขับรถตู้สาธารณะ ได้แก่ วิธีการขับรถของผู้ร่วมใช้ถนน อุบัติเหตุทำให้เสียเวลา เสียรายได้ เสียชีวิต สภาพถนน สภาพที่ไม่พร้อมของรถตู้ การพักผ่อนไม่เพียงพอ บรรทุกเกินและปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยง คือ ครอบครัวและการแย่งผู้โดยสาร ด้านมุมมองจากผู้โดยสารรถตู้สาธารณะ พบว่ามีการเลือกใช้รถตู้ทั้งที่รู้ว่ามีความเสี่ยง ความเสี่ยงที่ยังคงอยู่และเกิดขึ้นจนเป็นเรื่องปกติ 3) การดำเนินการตามนโยบายและปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของความปลอดภัยในการโดยสารรถตู้สาธารณะ ได้แก่ การมีความเข้าใจสภาพปัญหารถตู้โดยสารสาธารณะ การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ การทำความเข้าใจและการนำนโยบายไปใช้ การใช้เทคโนโลยีโซเชียลมีเดียและแอพพลิเคชั่นในการร้องเรียน ปัญหาอุปสรรคที่พบ ได้แก่ พรบ.เก่า ค่าปรับถูก ความไม่ต่อเนื่อง/ตรวจเฉพาะเทศกาล ทัศนคติ/ผลประโยชน์ของผู้ประกอบการ รถตู้เถื่อน แนวทางในการแก้ไข ได้แก่ การปรับใช้ราชกิจจานุเบกษาที่เหมาะสม มีระบบการตรวจสอบความปลอดภัยที่ต่อเนื่องมากขึ้น การเห็นประโยชน์และความปลอดภัยของผู้โดยสารมากขึ้น และ 4) เกิดแนวทางการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในกลุ่มคนขับรถตู้โดยสารสาธารณะ ด้วยการพัฒนาความรู้ในเรื่องพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยง การฝึกปฏิบัติการตามหลักการจัดการอารมณ์ด้านความโกรธและทักษะการสื่อสารเชิงบวกและในกลุ่มผู้โดยสารมีการให้ความรู้ในเรื่องการโดยสารที่ถูกวิธี การฝึกทักษะการโดยสารรถตู้เพื่อความปลอดภัยอย่างถูกต้องและฝึกทักษะการสื่อสารเชิงบวกth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectรถตู้โดยสารth_TH
dc.subjectความเสี่ยงth_TH
dc.subjectRiskth_TH
dc.subjectความปลอดภัยth_TH
dc.subjectSafetyth_TH
dc.subjectอุบัติเหตุทางถนนth_TH
dc.subjectอุบัติเหตุทางถนน--ปัจจัยเสี่ยงth_TH
dc.subjectการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถth_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleความเสี่ยงและความปลอดภัย: การโดยสารรถตู้สาธารณะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลth_TH
dc.title.alternativeRisk and Safety: Commuting in Public Van in Bangkok and Vicinityth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aims to 1) attain a better understanding in the nature of the situation related to the safety of daily commute via public passenger vans through the perception of commuters and van drivers 2) explore possible measures to prevent the danger of the daily commute via public passenger vans through the perception of the involved parties, and 3) study past policies and outcomes of the implemented policies by different working bodies related to the safety of daily commute via public passenger vans and analyze the factors affecting both the success and failure. The research procedure is divided into two phases. The first phase utilizes qualitative and quantitative research methods to achieve the first and third objective. Data collection is conducted in 3 van stations (Bangkok-Chonburi route, Chonburi – Bangkok route and Bangkok-Nakhonnayok route) with the subjects being 45 van drivers and 210 passengers, 6 business operators, 3 officers from the Land Transport Department, 6 traffic polices. The data analysis is done using content analysis and Multiple Recession method. The second phase employs the participative action research to help develop for the most effective measures to prevent the danger caused by daily commute via public passenger vans. The analyzed data from phase one is provided back to the research participants (3 officers from the Land Transport Department, police officers and representatives from Road Safety Group Thailand (RSG), 30 van drivers, and 2 operators of public passenger van business). The findings reveal the following: 1. The factors affecting the behaviors and safety of the commute via public passenger vans in Bangkok Metropolitan Region are people’s knowledge and attitudes towards safety. Such factors have significant statistical impact on the safety behaviors of the commuters at .001 with the predictable rate of 29%. 2. The driver’s perceptions towards situations related to the safety of daily commute via public passenger vans reveal that the drivers are aware of the risks of driving public vans caused by other road users. They are also aware that accidents can cost them not only, their time and income, but also their lives. Other risks include poor conditions of the roads and operating vans, drivers’ insufficient sleep and excessive passenger capacity. The risk factors are derived from families and business operators competing for clients. From the passengers’ point of view, the finding discloses the passengers’ realization in the risks of commuting via public passenger vans, which are still ongoing and somewhat normalized. 3.Compliance with implemented policies and factors affecting the success of the developing greater safety for public passenger vans encompass the understanding in the problems of the service, strict enforcement of the laws, collaborations between government agencies and understanding in the implementation of policies as well as the use of technology, social media platforms and applications to make opinions heard and complaints resolved. The problems include expired Compulsory Motor Insurance, relatively small fines, inconsistent/only occasional inspection, and problematic mindset/conflicted benefits of illegally operated vans. The solutions include the revision of Government Gazette to appropriately enable a system where safety measures can be continually and effectively monitored, as well as creating a greater acknowledgement in the passengers’ benefits and safety. 4. Conceived is a participative action approach adopted among public van drivers, which aims to develop greater knowledge in the prevention of risky behaviors, proper training that follows anger management principles, and positive communication skills. The passengers must also be properly educated about appropriate commuting behaviors and skills to ensure their own safety as well as the public’s, while the development of positive communication skills should also be encouraged.th_TH
dc.identifier.callnoWA275 อ293ค 2563
dc.identifier.contactno61-060
dc.subject.keywordรถตู้โดยสารสาธารณะth_TH
dc.subject.keywordPublic Vanth_TH
.custom.citationอมราพร สุรการ, Amaraporn Surakarn, ณภัทรรัตน์ ไชยอัครกัลป์ and Napattararat Chaiakkarakan. "ความเสี่ยงและความปลอดภัย: การโดยสารรถตู้สาธารณะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5207">http://hdl.handle.net/11228/5207</a>.
.custom.total_download50
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2566.pdf
ขนาด: 8.422Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย