แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การทบทวนกระบวนการพัฒนายุทธศาสตร์สุขภาพโลก และกลไกการติดตามและการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์สุขภาพโลก ประสบการณ์จาก 8 ประเทศ

dc.contributor.authorวิไลลักษณ์ แสงศรีth_TH
dc.contributor.authorWilailak Saengsrith_TH
dc.contributor.authorจอมขวัญ โยธาสมุทรth_TH
dc.contributor.authorJomkwan Yothasamutth_TH
dc.date.accessioned2020-06-30T04:51:51Z
dc.date.available2020-06-30T04:51:51Z
dc.date.issued2563-06-30
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 14,2 (เม.ย. - มิ.ย. 2563) : 105-124th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5223
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการคัดเลือกประเด็นสุขภาพโลกมาเป็นเป้าหมายการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์สุขภาพโลก รวมถึงการประเมินและการบริหารจัดการยุทธศาสตร์ฯ ในประเทศต่างๆ และเพื่อให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนายุทธศาสตร์สุขภาพโลกของประเทศไทยในอนาคต โดยใช้วิธีการทบทวนเอกสารยุทธศาสตร์สุขภาพโลกของประเทศต่างๆ ผู้วิจัยได้ทบทวนเอกสารตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 และได้มีการตรวจสอบความเป็นปัจจุบันของข้อมูลอีกครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 จากนั้นได้คัดเลือกยุทธศาสตร์สุขภาพโลกของ 8 ประเทศมาเพื่อทบทวนเป็นกรณีศึกษา ได้แก่ แคนาดา ญี่ปุ่น นอร์เวย์ สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ ออสเตรเลีย และไทย ผลการทบทวนเอกสารพบว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนายุทธศาสตร์สุขภาพโลก และการติดตามและประเมินผลเป็นกระทรวงการต่างประเทศเป็นหลัก หลักการคัดเลือกประเด็นสุขภาพโลกที่สำคัญที่ประเทศส่วนใหญ่ใช้พิจารณา คือ ปัญหาสุขภาพโลกที่คุกคามประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศผู้พัฒนายุทธศาสตร์ด้วย และนโยบายสาธารณสุขและนโยบายต่างประเทศของประเทศผู้พัฒนายุทธศาสตร์ฯ ส่วนกระบวนการคัดเลือกประเด็นยุทธศาสตร์ ใช้การอภิปรายและปรึกษาหารือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในวงกว้าง โดยไม่พบว่ามีการใช้เกณฑ์การคัดเลือกเชิงปริมาณและการถ่วงน้ำหนัก แนวคิดและหลักการที่ใช้ในการติดตามและประเมินผล ได้แก่ (1) ให้การประเมินเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ โดยมีการวางกรอบการประเมินผลไว้ตั้งแต่เริ่มพัฒนายุทธศาสตร์ (2) หากเป็นไปได้จะประเมินทั้งผลลัพธ์และผลกระทบ และ (3) กำหนดกระบวนการติดตามและประเมินผลให้เหมาะสมกับยุทธศาสตร์th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการประเมินสุขภาพทางการแพทย์th_TH
dc.subjectยุทธศาสตร์ระบบสุขภาพth_TH
dc.subjectสุขภาพ--การประเมินth_TH
dc.titleการทบทวนกระบวนการพัฒนายุทธศาสตร์สุขภาพโลก และกลไกการติดตามและการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์สุขภาพโลก ประสบการณ์จาก 8 ประเทศth_TH
dc.title.alternativeThe Review of Country’s Global Health Strategy Development Process and the Monitoring and Evaluation Mechanism of Global Health Strategy in Eight Countriesth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to explore process for the selection of global health issues, frameworks for monitoring and evaluation (M&E) activities, and the management of global health strategies internationally, and to provide recommendations on future development process of Thailand’s global health strategy. This study collected data through descriptive literature search and document reviews. Literature search was conducted from July to August 2017 and was updated in August 2019. Global health strategies of eight countries were selected as case studies, namely Canada, Japan, Norway, the USA, Switzerland, England, Australia, and Thailand. This study found that in most countries, the ministries of foreign affairs were responsible for the development and the monitoring and evaluation (M&E) of global health strategy. The widely used principles for the selection of global health issues comprised: (1) the globally threathening health problems which also threatened own country, and (2) the country’s public health and foreign policies. Deliberative discussion and consultation with stakeholders were the methods that all eight countries employed to select global health issues for the development of their global health strategic framework. There was no evidence of using quantitative methods or weighting methods for selection of global health issues. The main principles underpinning the M&E activities focused on: (1) incorporating the M&E activities as an integral part of the global health strategic framework at the beginning of the process; (2) evaluating both outcomes and impacts (if possible) and (3) appropriately designing the M&E process that fits with the implementation of the strategic framework.th_TH
.custom.citationวิไลลักษณ์ แสงศรี, Wilailak Saengsri, จอมขวัญ โยธาสมุทร and Jomkwan Yothasamut. "การทบทวนกระบวนการพัฒนายุทธศาสตร์สุขภาพโลก และกลไกการติดตามและการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์สุขภาพโลก ประสบการณ์จาก 8 ประเทศ." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5223">http://hdl.handle.net/11228/5223</a>.
.custom.total_download2461
.custom.downloaded_today4
.custom.downloaded_this_month40
.custom.downloaded_this_year163
.custom.downloaded_fiscal_year438

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v14n ...
ขนาด: 583.8Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1326]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย