แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาอุบัติการณ์ของการเกิดวัณโรคในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีซีดีสี่ที่ต่างกันหลังได้รับยาต้านไวรัสและนวัตกรรมการอ่านผลการทดสอบทูเบอร์คูลินทางผิวหนังด้วยตัวเองเพื่อคัดกรองหาวัณโรคแฝงในผู้ป่วยเอชไอวี

dc.contributor.authorกำพล สุวรรณพิมลกุลth_TH
dc.contributor.authorGompol Suwanpimolkulth_TH
dc.contributor.authorกมล แก้วกิติณรงค์th_TH
dc.contributor.authorKamon Kawkitinarongth_TH
dc.contributor.authorศิวะพร เกตุจุมพลth_TH
dc.contributor.authorSivaporn Gatechompolth_TH
dc.contributor.authorอัญชลี อวิหิงสานนท์th_TH
dc.contributor.authorAnchalee Avihingsanonth_TH
dc.contributor.authorวรรษมน จันทรเบญจกุลth_TH
dc.contributor.authorWatsamon Jantarabenjakulth_TH
dc.date.accessioned2021-02-09T02:06:26Z
dc.date.available2021-02-09T02:06:26Z
dc.date.issued2563-06
dc.identifier.otherhs2632
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5304
dc.description.abstractบทนำ: การให้ยารักษาวัณโรคระยะแฝงในผู้ป่วยเอชไอวีในประเทศไทยยังไม่ได้มีการใช้อย่างแพร่หลายน่าจะเกิดจากสาเหตุหลายปัจจัย แต่หนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ แพทย์ส่วนใหญ่คิดว่า การให้ยาต้านไวรัสเพียงอย่างเดียวจะสามารถลดอุบัติการณ์การป่วยเป็นวัณโรคได้ให้เหลือเท่ากับประชากรปกติทั่วไปในประเทศ การศึกษานี้จึงต้องการเปรียบเทียบและให้ทราบอุบัติการณ์ของการเกิดวัณโรคในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีระดับซีดีสี่ที่ต่างกันถึงแม้จะได้รับยาต้านไวรัสไปแล้ว เพื่อจะได้เห็นความสำคัญของการพิจารณาให้ยารักษาวัณโรคระยะแฝงในผู้ป่วยเอชไอวีเพิ่มมากขึ้น วิธีการวิจัย: งานวิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 14 โรงพยาบาล ที่วินิจฉัยว่าติดเชื้อเอชไอวี ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2561 โดยเปรียบเทียบอุบัติการณ์ของการเกิดวัณโรคในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีระดับซีดีสี่แรกเริ่มที่ต่างกันหลังได้รับยาต้านไวรัส ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่รวบรวมเข้ามาในการศึกษามีทั้งหมด 9,179 คน ที่วินิจฉัยว่าติดเชื้อเอชไอวี โดยมี 442 คน (ร้อยละ 4.8) ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคหลังจากได้รับยาต้านไวรัส และ 8,738 คน ติดเชื้อเอชไอวีโดยไม่เป็นวัณโรค ปัจจัยเสี่ยงที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการเกิดวัณโรคหลังได้รับยาต้านไวรัส ได้แก่ ผู้ป่วยเพศชาย มีระดับซีดีสี่แรกเริ่มที่น้อยกว่า 350 มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 50 กิโลกรัม และการมีประวัติเคยเป็นวัณโรคมาก่อน อุบัติการณ์การเกิดวัณโรคหลังได้รับยาต้านไวรัสจะยิ่งสูงถ้าระดับซีดีสี่แรกเริ่มอยู่ในระดับต่ำ ตามตารางแสดง ถึงแม้ว่าระดับซีดีสี่แรกเริ่มจะสูงเกินกว่า 500 ก็ยังพบว่า อุบัติการณ์การเกิดวัณโรคยังสูงถึง 394 ต่อประชากร 100,000 คนต่อปี สูงมากกว่าประชากรปกติทั่วเป็น 2-3 เท่า (ในระหว่างปีที่เก็บอุบัติการณ์การเป็นวัณโรคโดยเฉลี่ยของประเทศไทยประมาณ 150-200 ต่อประชากร 100,000 คนต่อปี) อุบัติการณ์การเกิดวัณโรคจะสูงมากในช่วงปีแรกๆ และจะค่อยๆ ลดต่ำลงหลังได้ยาต้านไวรัส แต่ก็ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประชากรทั่วไปอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วง 2-5 ปีแรกหลังได้รับยาต้านไวรัส อุบัติการณ์ของการเกิดวัณโรคคิดเป็น 7,251, 4,083, 2,661 และ 1,957 ต่อประชากร 100,000 คนต่อปี ตามลำดับ สรุปผล: ถึงแม้จะได้รับยาต้านไวรัสแล้วแต่อุบัติการณ์การเกิดวัณโรคยังสูงมากกว่าปกติในทุกระดับซีดีสี่แรกเริ่ม ดังนั้น ประโยชน์ของตรวจวัณโรคในระยะแฝง และการให้การรักษาวัณโรคระยะแฝงในผู้ป่วยเอชไอวีที่มี TST หรือ IGRA ให้ผลเป็นบวก น่าจะเป็นประโยชน์ในการลดอุบัติการณ์ของการป่วยเป็นวัณโรคในผู้ป่วยเอชไอวีหลังได้รับยาต้านไวรัสth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectวัณโรค--ผู้ป่วยth_TH
dc.subjectTuberculosis--Patientsth_TH
dc.subjectTuberculosis--Prevention & Controlth_TH
dc.subjectยารักษาวัณโรคth_TH
dc.subjectยาต้านไวรัสth_TH
dc.subjectผู้ติดเชื้อเอชไอวีth_TH
dc.subjectHIV/AIDSth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการศึกษาอุบัติการณ์ของการเกิดวัณโรคในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีซีดีสี่ที่ต่างกันหลังได้รับยาต้านไวรัสและนวัตกรรมการอ่านผลการทดสอบทูเบอร์คูลินทางผิวหนังด้วยตัวเองเพื่อคัดกรองหาวัณโรคแฝงในผู้ป่วยเอชไอวีth_TH
dc.title.alternativeIncidence of tuberculosis in difference of CD4 cell count among HIV infected patients receiving antiretroviral treatment and innovative of self-assessment tuberculin skin test for latent TB screening in resource limited settingsth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground: Tuberculosis preventive therapy (TPT) among HIV-infected patients are not well established in Thailand and may be due to multifactorial reasons. One of the most crucial reasons is because most physicians are convinced that antiretroviral therapy (ART) alone can decrease the incidence rate of active tuberculosis (TB) to the incidence rate of the general population. However, the incidence of TB data among Thai HIV-infected patients on ART is also scant. This information is very important because HIV-infected patients can have latent tuberculosis infection (LTBI) which can later progress to active TB. Therefore, TPT is crucial among HIV-infected patients to prevent active TB. Method: We conducted a cross-sectional, multi-center study in HIV-infected patients from 14 hospitals throughout Thailand between 2009 and 2018. This study compared the incidence of active TB among HIV-infected patients with different CD4 cell count after ART has been initiated. Results: A total of 9,179 HIV-infected patients were enrolled; 442 (4.8%) were diagnosed with active TB after ART was initiated and 8,738 had HIV mono-infection. According to the multivariate analysis, the significant risk factors associated with active TB post ART initiation were the male sex, CD4 less than 350, body weight less than 50 kg and have a prior history of active TB. When ART was initiated at low CD4 cell count, the incidence of active TB was high (Table) compared to the general population (about 150-200 per 100,000 persons-year). Furthermore, when ART was started when the CD4 count was more than 500, the incidence rate of active TB was 2-3 times higher than the general population (394 per 100,000 persons-year). The incidence of TB for the first 2-5 years after ART was initiated decreased to 7,251, 4,083, 2,661 and 1,957 per 100,000 persons-year, respectively. However, these numbers were much higher than the general population in Thailand even when these patients were on ART for many years. Conclusions: The incidence of TB among HIV-infected patients with various CD4 cell count and on ART were high. The incidence of active TB was 2.5 times higher than the general population even when ART was initiated when CD4 was more than 500. For this reason, HIV-infected patients who have had TB infection should benefit from TPT which can decrease the incidence and mortality rate of TB.th_TH
dc.identifier.callnoWF200 ก134ก 2563
dc.identifier.contactno62-067
.custom.citationกำพล สุวรรณพิมลกุล, Gompol Suwanpimolkul, กมล แก้วกิติณรงค์, Kamon Kawkitinarong, ศิวะพร เกตุจุมพล, Sivaporn Gatechompol, อัญชลี อวิหิงสานนท์, Anchalee Avihingsanon, วรรษมน จันทรเบญจกุล and Watsamon Jantarabenjakul. "การศึกษาอุบัติการณ์ของการเกิดวัณโรคในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีซีดีสี่ที่ต่างกันหลังได้รับยาต้านไวรัสและนวัตกรรมการอ่านผลการทดสอบทูเบอร์คูลินทางผิวหนังด้วยตัวเองเพื่อคัดกรองหาวัณโรคแฝงในผู้ป่วยเอชไอวี." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5304">http://hdl.handle.net/11228/5304</a>.
.custom.total_download48
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year6

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2632.pdf
ขนาด: 1.281Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย