แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ผลกระทบของโปรแกรมดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยทีมหมอครอบครัวในอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

dc.contributor.authorสุรศักดิ์ ไชยสงค์th_TH
dc.contributor.authorSurasak Chaiyasongth_TH
dc.contributor.authorนวลจันทร์ แสนกองth_TH
dc.contributor.authorNuanchan Saenkongth_TH
dc.contributor.authorกฤษณี สระมุณีth_TH
dc.contributor.authorKritsanee Saramuneeth_TH
dc.contributor.authorขวัญดาว มาลาสายth_TH
dc.contributor.authorKhuandao Malasaith_TH
dc.contributor.authorร่มตะวัน กาลพัฒน์th_TH
dc.contributor.authorRomtawan Kalapatth_TH
dc.date.accessioned2021-02-17T02:52:13Z
dc.date.available2021-02-17T02:52:13Z
dc.date.issued2563-09
dc.identifier.otherhs2637
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5309
dc.description.abstractประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในปี 2559 รัฐบาลมีนโยบายขับเคลื่อนระบบการดูแลระยะยาว (long-term care: LTC) สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีการจัดบริการ LTC โดยมีทีมหมอครอบครัวและศูนย์ดูแลระยะยาว ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2560 แต่ยังไม่มีการประเมินผล โดยเฉพาะผลกระทบต่อสังคม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อศึกษารูปแบบการจัดบริการ ผลลัพธ์ ผลตอบแทนทางสังคม ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยทีมหมอครอบครัวในอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น การศึกษานี้ใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสาน (mixed methods) เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในพื้นที่ Primary Care Cluster (PCC) ตำบลสะอาด ซึ่งมีการเยี่ยมบ้านโดยทีมหมอครอบครัวและมีการจัดตั้งศูนย์ มีกิจกรรมดูแลผู้สูงอายุระยะยาวโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้สูงอายุ คุณภาพชีวิตและค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ซึ่งได้มีการเปรียบเทียบกับผู้สูงอายุตำบลหนองกุง ซึ่งไม่มีโปรแกรมดังกล่าว ค่าใช้จ่ายในการจัดบริการในมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลกระทบต่อต้นทุนทางสังคมในมุมมองของผู้ป่วยและญาติ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวกับการจัดบริการในพื้นที่ การสัมภาษณ์และอภิปรายกลุ่มในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก เพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมของโปรแกรมฯ และการสัมภาษณ์เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในการพัฒนาโปรแกรมต่อไป ผลการศึกษาแต่ละส่วน ดังนี้ รูปแบบของโปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงฯ ตำบลสะอาดมีการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยบริการของโรงพยาบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยพื้นที่ PCC ตำบลสะอาด เป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมในการจัดโปรแกรมการให้บริการดูแลแบบบูรณาการทั้งที่บ้านและศูนย์ดูแล (integrated day care and home care services program) มีทีมหมอครอบครัวที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและบุคลากรสหวิชาชีพ (family care team) ที่ออกเยี่ยมบ้านทุกสัปดาห์ (home care) มีศูนย์ผู้สูงอายุระยะยาว (ศูนย์ day care หรือที่เรียกว่า LTOP) ที่มีพยาบาลชุมชนเป็นผู้จัดการแผนการดูแล (care manager) มีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรมอย่างเป็นทางการ (trained care giver) ประจำที่ศูนย์ รวมทั้งมีการสนับสนุนอาสาสมัครจากองค์กร JICA ประเทศญี่ปุ่น ร่วมด้วย โปรแกรมดูแลผู้สูงอายุฯ ตำบลสะอาด มีการสำรวจข้อมูลและจัดทำแผนการดูแลผู้สูงอายุ (care plan) ตามลักษณะของผู้สูงอายุ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ติดสังคม ติดบ้าน และติดเตียง แผนการดูแลจัดทำขึ้นเฉพาะรายเพื่อให้ได้รับบริการที่ศูนย์หรือการดูแลที่บ้าน 1 - 2 ครั้งต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ชุมชนมีการจัดทำกองทุนช่วยเหลือผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงและจัดกิจกรรมส่งเสริมการประกอบอาชีพและการดูแลในรูปแบบต่างๆ ผลลัพธ์ของโปรแกรมดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงฯ ผลของโปรแกรมดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทำการประเมิน 3 ส่วน ได้แก่ ผลลัพธ์ทางคลินิกที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุฯ เปรียบเทียบก่อน (1 พฤษภาคม 2559 – 31 กรกฎาคม 2560) และหลัง (1 สิงหาคม 2560 – 31 ตุลาคม 2561) การเข้าร่วมโปรแกรม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้สูงอายุฯ ในพื้นที่ที่มีโปรแกรมและไม่มีโปรแกรม และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ดูแลผู้สูงอายุฯ ซึ่งพบว่า ผลลัพธ์ทางคลินิกที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุฯ หลังจากที่เข้าร่วมโปรแกรมอย่างชัดเจน คือ การมีเพิ่มการพึ่งพิงตัวเองได้มากขึ้น จาก Barthel ADL 6.78 ± 3.20 ในช่วงก่อนเข้าร่วมโปรแกรม เป็น 10.68 ± 6.08 ในช่วงหลังเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้สูงอายุฯ ในพื้นที่ที่มีโปรแกรมฯ และผู้สูงอายุฯ ในพื้นที่ที่ไม่มีโปรแกรมฯ ไม่พบความแตกต่างกันระหว่างผลลัพธ์ทางคลินิก คุณภาพชีวิต และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งเมื่อทำการวิเคราะห์แบบหลายตัวแปรเพื่อควบคุมปัจจัยร่วมต่างๆ แล้ว ก็ไม่พบความแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ที่มีและไม่โปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง สำหรับผลกระทบต่อผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พบว่า มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในระดับน้อยถึงปานกลาง และภาระการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในผู้ดูแลอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลางเช่นกัน ผลตอบแทนทางสังคมของโปรแกรมดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงฯ การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (social return on investment หรือ SROI) ของโปรแกรมนี้ ใช้กรอบเวลา 1 ปี ผลลัพธ์ของโปรแกรมเกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักหลายกลุ่มตั้งแต่ผู้สูงอายุฯ ผู้ดูแล ผู้ปฏิบัติงาน ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสังคมโดยรวม ผลลัพธ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพและภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุฯ เป็นผลลัพธ์สำคัญของโปรแกรมนี้ ซึ่งจากการประเมินค่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโปรแกรมนี้ในผู้สูงอายุฯ จำนวน 37 คน เป็นตัวเงินมีมูลค่าเท่ากับ 15,853,919 บาท การลงทุนของโปรแกรมนี้เท่ากับ 2,138,704 บาท และอัตราส่วน SROI ของโปรแกรมดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลสะอาด เท่ากับ 7.4 ซึ่งแปลความหมายได้ว่า ทุก 1 บาท ที่ลงทุนในโปรแกรมนี้จะมีผลตอบแทนทางสังคม มูลค่า 7.4 บาท การวิเคราะห์ความไวทำให้ผลตอบแทนทางสังคมอยู่ในช่วง 2.9 - 20.5 เท่า ความสนใจเข้าร่วมและความยินดีจ่ายสำหรับโปรแกรมดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงฯ จากการสำรวจข้อมูลในประชาชนทั่วไป พบว่า มีผู้ที่สนใจเข้าร่วมโปรแกรมฯ ร้อยละ 92.06 มีความยินดีจ่าย ร้อยละ 91.35 และค่าเฉลี่ยของจำนวนเงินที่ยินดีจ่ายต่อการรับริการแต่ละครั้งเท่ากับ 443.12 ± 427.42 บาท (ค่ามัธยฐาน 300 บาท) หากประมาณการจำนวนเงินสนับสนุนการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในภาพรวมทั้งตำบล จากสัดส่วนของผู้ที่สนใจเข้าร่วมและมีความยินดีจ่ายสำหรับโปรแกรม จะมีงบประมาณสนับสนุนเข้ากองทุนได้ถึง 3 ล้านบาท เพื่อใช้ในการพัฒนาโปรแกรมและดูแลผู้สูงอายุในตำบล ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อโปรแกรมดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงฯ ทั้งจากผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ ประชาชนทั่วไปและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ล้วนเห็นถึงความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง ซึ่งรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุฯ ในพื้นที่ตำบลสะอาดเป็นต้นแบบในการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่อื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามยังจุดที่ควรพัฒนาเพิ่มเติมในการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุฯ และอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุฯ ในระยะยาว การจัดสวัสดิการเพื่อดูแลสวัสดิภาพและความปลอดภัยของบุคลากรที่ทำงานในพื้นที่ดังกล่าว รวมทั้งการจัดหางบประมาณและทรัพยากรในการดำเนินงานเพื่อดูแลผู้สูงอายุและผู้ที่จำเป็นต้องเข้ารับบริการที่ศูนย์ฯ รายอื่นๆ เพิ่มเติม โดยสรุป ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงทำให้เกิดผลลัพธ์ต่อผู้สูงอายุฯ และผู้ดูแลฯ โดยตรง ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่มีคุณค่าทางสังคม มีอัตราส่วนผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนของโปรแกรมนี้สูงถึง 7.4 เท่า จึงควรมีการสนับสนุนโปรแกรมนี้ให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและขยายผลไปยังพื้นที่อื่นเพื่อให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--การดูแลระยะยาวth_TH
dc.subjectหมอครอบครัวth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)en_US
dc.titleผลกระทบของโปรแกรมดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยทีมหมอครอบครัวในอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่นth_TH
dc.title.alternativeImpacts of Dependent Elderly Care Program by Family Care Team in Namphong District, Khon Kean Provinceth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThailand becomes ageing society. The Thai government officially implemented long-term care (LTC) for dependent elderly in 2016. Sa-ard sub-district of Namphong, Khon Kean has provided LTC services program by family care team and LTC center since August 2017. However, impacts of this program particularly social impact have not been assessed. This study aimed to examine the impacts of dependent elderly care program by the family care team, Nampong district, Khon Kaen province. Specific objectives include; describing elderly care delivery, examining program outcomes, and social return on investment (SROI), exploring opinions and recommendations to improve the program in the future. A mixed-method was used: both quantitative and qualitative. The Sa-ad sub-district's primary care cluster (PCC) was a study setting, where the dependent elderly care program is well established and managed by the local council and the community. Quantitative data include: clinical outcomes and cost due to geriatric care provided by the program; cost of the program delivery from provider’s perspective; impacts on social cost from elderly and caregivers’ perspectives. We compared clinical, humanistic and economic outcomes using the data of Nong-Kung sub-district where no program was provided. Qualitative data include: documentary review of the program delivery; stakeholder’s interviews and focus groups to investigate the social impacts of the program; stakeholder interviews to identify recommendations for future development. Findings are as follow: The dependent elderly care program by family care team (the program) Sa-ad sub-district has the dependent elderly care program, which is collaboratively managed by the community hospital and the local council. Sa-ad sub-district has great potential in providing an integrated day care and home care services program. The family care team, composed of a family doctor and other health professionals, provides a home visit to home-bound patients every week. There is a day care center (or called LTOP) located at the community center. Here, a community nurse is acting as a care manager and some trained care givers assisting in elderly care daily service. A Japanese organization, JICA also supports this program. Dependent elderly patients are divided into three groups: social-bound, home-bound, and bedridden. Two options of the care plan are possible: home-care or walk-in center, for each individual depending on the patient’s conditions. Moreover, the community involves running this service by raising funding to advocate the elderly and dependent people to get jobs and thus earn money. Program outcomes Outcomes of the dependent elderly care program were evaluated by three methods: first, comparing clinical outcomes of elderly living in Sa-ad sub-district – the program group and Nong-Kung sub-district – the comparison group. The pre-program data collection time was during May 1, 2016 – July 31, 2017, and the post-program was during August 1, 2017 – October 31, 2018. The comparison within the program group shows a significant improvement in increasing Barthel ADL from 6.78±3.20 to 10.68±6.08 (p<0.01), indicating the program can promote elderly independence. No difference was observed in clinical outcomes, quality of life, and healthcare cost, compared between the program and the control groups. The multivariate regression analysis reiterates no difference between groups. Being in aging health conditions similarly affects the elderly themselves and their care givers in a low to moderate level. Social return on investment of the program The social return on investment (SROI) analysis was performed for a one-year time frame. The dependent elderly care program impacted multiple stakeholders such as older people, care givers, staff, community residents, relevant organizations, and society. However, changes in health and independent status were the program highlight. The monetary value impacted by this program was 15,853,919 Baht, proposed by 37 patients. The program was invested by 2,138,704 Baht. Therefore, the program's SROI ratio equates to 7.4 which means every one Baht of program investment can return 7.4 Baht to society. In sensitivity analysis, SROI ratios ranged between 2.9 and 20.5. Willingness-to-Participation and Willingness-to-Pay for the program General population survey revealed proportion of willingness to participation in the program (92.06%), willingness to pay for the program (91.35%) and average wiliness to pay for one service at 443.12 ± 427.416 Baht (median 300 Baht). From this willingness to participation and willingness to pay information, there would be pooling money to the LTC fund around 3 million bath per sub-district. Opinions and recommendations to the program development Opinions toward the dependent elderly care program were drawn from various stakeholders; patients, care providers, the general public, relevant organizations, and stakeholders. All had prioritized the importance of elderly health, mainly the bedridden group. The program set up in the Sa-ad sub-district has been seen as the best model and should be shared with other localities. However, several points have been raised that still needs further work: 1. Long term support to the day care center and care givers should be discussed. 2. Local authorities or other relevant organization should guarantee that appropriate welfare and safety during work hours are provided for care givers. 3. Financials and other resources should be sought to support this program. In conclusion, this study indicates that the dependent elderly care program directly impacts the elderly and care givers, which is valuable to society. The program has 7.4 times the return to the investment. Therefore, it should be supported continuously and expanded to other areas.th_TH
dc.identifier.callnoWT20 ส854ผ 2563
dc.identifier.contactno62-039
dc.subject.keywordทีมหมอครอบครัวth_TH
.custom.citationสุรศักดิ์ ไชยสงค์, Surasak Chaiyasong, นวลจันทร์ แสนกอง, Nuanchan Saenkong, กฤษณี สระมุณี, Kritsanee Saramunee, ขวัญดาว มาลาสาย, Khuandao Malasai, ร่มตะวัน กาลพัฒน์ and Romtawan Kalapat. "ผลกระทบของโปรแกรมดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยทีมหมอครอบครัวในอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5309">http://hdl.handle.net/11228/5309</a>.
.custom.total_download201
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year13
.custom.downloaded_fiscal_year29

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2637.pdf
ขนาด: 2.037Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย