แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การวิจัยเพื่อติดตามผลกระทบจากสารอาร์เซนิก แมงกานีส ไซยาไนด์ และฟื้นฟูภาวะบกพร่องทางสติปัญญา กระบวนการรู้คิด และการเรียนรู้ในเด็กประถมศึกษาปีที่ 4-6

dc.contributor.authorนุชนาฎ รักษีth_TH
dc.contributor.authorNootchanart Rukseeth_TH
dc.contributor.authorอดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์th_TH
dc.contributor.authorAdisak Plitponkarnpimth_TH
dc.contributor.authorธีรตา ขำนองth_TH
dc.contributor.authorThirata Khamnongth_TH
dc.contributor.authorศรัล ขุนวิทยาth_TH
dc.contributor.authorSarun Kunwittayath_TH
dc.contributor.authorอธิวัฒน์ เจี่ยวิวรรธน์กุลth_TH
dc.contributor.authorAthiwat Jiawiwatkulth_TH
dc.contributor.authorวสุนันท์ ชุ่มเชื้อth_TH
dc.contributor.authorVasunun Chumchuath_TH
dc.contributor.authorพิไลวรรณวดี หุตะเมขลินth_TH
dc.contributor.authorPilaiwanwadee Hutamekalinth_TH
dc.contributor.authorกันนิกา เพิ่มพูนพัฒนาth_TH
dc.contributor.authorKannika Permpoonputtanath_TH
dc.contributor.authorนนทสรวง กลีบผึ้งth_TH
dc.contributor.authorNonthasruang Kleebpungth_TH
dc.contributor.authorอรพินท์ เลิศอวัสดาตระกูลth_TH
dc.contributor.authorOrapin Lertawasdatrakulth_TH
dc.contributor.authorกรณัฐ โรจน์ไพรินทร์th_TH
dc.contributor.authorKaranat Rodpairinth_TH
dc.contributor.authorกนกพร ดอนเจดีย์th_TH
dc.contributor.authorKhanokporn Donjdeeth_TH
dc.contributor.authorนันทนัช สงศิริth_TH
dc.contributor.authorNanthanat Songsirith_TH
dc.contributor.authorสาลินี จันทร์เจริญth_TH
dc.contributor.authorSalinee Janjaroenth_TH
dc.contributor.authorวินันดา ดีสวัสดิ์th_TH
dc.contributor.authorWinanda Deesawasth_TH
dc.contributor.authorศิวลี โกศลศศิธรth_TH
dc.contributor.authorSiwalee Kosonsasitornth_TH
dc.date.accessioned2021-03-10T05:31:13Z
dc.date.available2021-03-10T05:31:13Z
dc.date.issued2564-02
dc.identifier.otherhs2645
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5316
dc.description.abstractยุทธศาสตร์การศึกษาของชาติเน้นการพัฒนาศักยภาพเด็กไทยทุกคนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 หมายรวมถึงเด็กในพื้นที่เสี่ยงจากอุตสาหกรรมโลหะหนัก จากการศึกษาในปี พ.ศ. 2559 พบมีอุบัติการณ์การรับสัมผัสสารหนูอนินทรีย์ในปัสสาวะในเด็ก ร้อยละ 36.1 ซึ่งโลหะหนัก เช่น สารหนู เป็นสารพิษที่มีฤทธิ์ต่อความผิดปกติทางสติปัญญา จึงนำมาสู่วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อติดตามสถานการณ์ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา กระบวนการรู้คิด และการเรียนรู้ของเด็ก รวมทั้งศึกษาปัจจัยทางด้านครอบครัวและสังคมที่มีความสัมพันธ์กับภาวะบกพร่องดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การฟื้นฟูภาวะบกพร่องทางสติปัญญา กระบวนการรู้คิด และการเรียนรู้ของเด็กโดยการมีส่วนร่วมของครู รวมทั้งให้เด็กตระหนักและมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากสารพิษ ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ใน 6 โรงเรียนเดิมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงอุตสาหกรรมโลหะหนักของจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ซึ่งโครงการวิจัยนี้ประกอบด้วย 3 โครงการย่อย ได้แก่ โครงการย่อยที่ 1 โครงการประเมินและฟื้นฟูภาวะบกพร่องทางสติปัญญา กระบวนการรู้คิด และการเรียนรู้ในเด็กประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่ได้รับผลกระทบจากสารอาร์เซนิก แมงกานีส และไซยาไนด์ โครงการย่อยที่ 2 โครงการศึกษาปัจจัยทางด้านครอบครัวและสังคมที่มีความสัมพันธ์กับภาวะบกพร่องทางสติปัญญา กระบวนการรู้คิด และการเรียนรู้ของเด็กประถมศึกษาปีที่ 4-6 และ โครงการย่อยที่ 3 โครงการตรวจวิเคราะห์ผลกระทบทางสุขภาพของสารอาร์เซนิก แมงกานีส และไซยาไนด์ในเด็กประถมศึกษาปีที่ 4-6 ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะของครอบครัวที่เด็กอาศัยอยู่ด้วยเป็นครอบครัวแหว่งกลางที่พ่อแม่เด็กไม่ได้อาศัยอยู่กับเด็กในหมู่บ้านเนื่องจากไปทำงานนอกหมู่บ้านถึง ร้อยละ 82.60 เด็กได้รับการเลี้ยงดูจากปู่ย่าตายายถึง ร้อยละ 38.70 ส่วนใหญ่พ่อและแม่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาตอนปลาย และครอบครัวยากจนมีรายได้ต่อเดือนที่ 5,000-10,000 บาท ร้อยละ 49.60 ด้านการใช้สื่อของเด็ก เด็กเล่นโทรศัพท์มือถือวันละ 1 ชั่วโมงขึ้นไปร้อยละ 67.10 และพบว่าเมื่อเด็กดีใจ เสียใจ หรือมีปัญหาเรื่องการเรียน เพื่อน ครู เด็กมักจะไม่มาบอกเล่าหรือปรึกษาพ่อแม่ถึงร้อยละ 34.30 นอกจากนี้ ร้อยละ 45.80 ผู้ปกครองตอบว่า สภาพแวดล้อมในบริเวณบ้านและในชุมชนที่อาศัยอยู่มีการใช้สารเคมี สารพิษหรือสารโลหะหนัก จากการตรวจสุขภาพเด็กทั้ง 199 คน ในปี พ.ศ. 2562 พบว่า เด็กมีภาวะโภชนาการปกติร้อยละ 63.3 และพบมีภาวะโรคอ้วนถึงร้อยละ 25.2 ส่วนการตรวจปริมาณสารโลหะหนักในร่างกายเด็ก พบว่า มีอุบัติการณ์การรับสัมผัสสารหนูอนินทรีย์ในปัสสาวะมากกว่าเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 4.5 ซึ่งลดลงเกือบ 12 เท่าตัว ทั้งเด็กชายและเด็กหญิง ทุกระดับชั้นและในทุกโรงเรียน เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในปี พ.ศ. 2559 พบว่า อุบัติการณ์การรับสัมผัสสารแมงกานีสในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติร้อยละ 41.2 ส่วนสารไซยาไนด์ในเลือดไม่พบในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ในปี พ.ศ. 2562 พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างการรับสัมผัสสารหนูอนินทรีย์และแมงกานีสกับภาวะบกพร่องสติปัญญา กระบวนการรู้คิด และการเรียนรู้ (P-value>0.05) จากการประเมินทักษะสติปัญญาและการเรียนรู้ของเด็กทั้งหมด จำนวน 212 คน พบว่า เด็กมีความบกพร่องทางการเรียนใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการอ่านคำ ด้านการสะกดคำ ด้านความเข้าใจประโยค ด้านการคำนวณทางคณิตศาสตร์ โดยมีปัญหาการเรียนรู้ ตั้งแต่ 1 ด้านขึ้นไปถึงร้อยละ 81.60 และในกลุ่มเด็กที่มีระดับสติปัญญา (IQ) ปกติ (IQ≥ 90) จำนวน 126 คน พบว่า เด็กมีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ร้อยละ 22.22 (28 คนใน 126 คน) พบว่ามีความบกพร่องทางการเรียนรู้ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการอ่านคำ ด้านการสะกดคำ ด้านความเข้าใจประโยค ด้านการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ถึงร้อยละ 50.0 ส่วนการสำรวจในปี พ.ศ. 2559 พบภาวะบกพร่องทางการเรียนอยู่ที่ร้อยละ 38.9 ซึ่งสูงกว่าปี 2562 ผลหลังการฟื้นฟูเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนโดยเมื่อเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการฟื้นฟู พบว่า เด็กที่ได้รับการฟื้นฟูมีทักษะด้านการอ่านคำ ด้านการสะกดคำ ด้านความเข้าใจประโยค ด้านการคำนวณทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการประเมินระดับสติปัญญา พบว่า เด็กมีระดับสติปัญญาปกติ (เกณฑ์เฉลี่ย) ร้อยละ 59.4 และพบว่า เด็กมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ปกติถึงร้อยละ 40.6 และผลหลังการฟื้นฟูเด็กนักเรียน จำนวน 106 คน พบว่า ก่อนการฟื้นฟูเด็กมีคะแนนเฉลี่ยของระดับสติปัญญา เท่ากับ 85.43 ซึ่งอยู่ในระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย แต่หลังจากเด็กเข้าร่วมกิจกรรมการฟื้นฟู พบว่า เด็กมีคะแนนเฉลี่ยของระดับสติปัญญา เท่ากับ 90.11 ซึ่งอยู่ในระดับสติปัญญาปกติ เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่าง พบว่า เด็กมีคะแนนเฉลี่ยระดับสติปัญญาหลังการฟื้นฟูสูงขึ้นแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการประเมินพฤติกรรมทักษะการเรียนรู้คิดเชิงบริหารของเด็กโดยครู พบว่า มีเด็กที่ควรได้รับการส่งเสริมร้อยละ 68.2 และจากการฟื้นฟู พบว่า ความสามารถทักษะการเรียนรู้คิดเชิงบริหารของเด็กอยู่ในระดับปกติเพิ่มขึ้นทั้งด้านความจำที่ทำได้ถูกต้อง ด้านสมาธิจดจ่อ และความเร็วในการตอบสนองในงานที่ทำ ส่วนการประเมินการรับรู้ทางสายตาและการเคลื่อนไหว (Visual-Motor) นั้นอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ร้อยละ 58.49 และต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 41.51 เมื่อเปรียบเทียบก่อน-หลัง การฟื้นฟู พบว่า ไม่แตกต่างกัน นอกจากนั้น จากการสอบถามเด็กด้านความรู้ในการป้องกันตนเองจากสารพิษในสิ่งแวดล้อม พบว่าเด็กส่วนใหญ่ร้อยละ 64.2 มีระดับความรู้ในการป้องกันตนเองจากสารพิษอาร์เซนิก แมงกานีส และไซยาไนด์ อยู่ในระดับน้อย หลังการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมทักษะการรู้เท่าทันด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า กลุ่มตัวอย่างเด็กนักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ 41.9 มีระดับความรู้ในการป้องกันตนเองจากสารพิษเพิ่มขึ้น อยู่ในระดับปานกลาง และหลังฟื้นฟูมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากสารพิษ พบว่าเปลี่ยนจาก “ไม่แน่ใจ” มาเป็นระดับ “เห็นด้วย” มากขึ้น นอกจากนั้นโครงการยังได้เผยแพร่งานวิจัยและขยายผลแก่สังคมในวงกว้าง โดยได้มีการจัดเวทีแถลงข่าวผลการวิจัย และจัดเวทีคืนข้อมูลในพื้นที่ เพื่อนำเสนอข้อมูลสำคัญจากการติดตามภาวะบกพร่องทางสติปัญญา กระบวนการรู้คิด และการเรียนรู้ในเด็ก รวมทั้งประเมินประสิทธิผลการส่งเสริมการเรียนรู้ และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก ซึ่งในเวทีมีการระดมความคิดเห็นจากผู้แทนครูและผู้ปกครองจากโรงเรียนในพื้นที่ ผู้นำชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ภาคการศึกษาจังหวัด ศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ เพื่อกำหนดทิศทางการจัดกิจกรรมฟื้นฟูพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ นับเป็นการต่อยอดผลวิจัยสู่การใช้ประโยชน์บนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน นอกจากนั้นได้ส่งสรุปผลงานวิจัยเบื้องต้นแก่ 15 หน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งภาคสังคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำใช้ขับเคลื่อนงานระดับนโยบายและสังคม อันจะนำไปสู่การติดตาม ป้องกัน แก้ไขปัญหาและฟื้นฟูทักษะสติปัญญา การเรียนรู้ในเด็กได้ทันท่วงที ซึ่งทำให้เด็กมีความตระหนัก รู้เท่าทันในการป้องกัน ดูแลตนเองอันจะเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเด็กปฐมวัยth_TH
dc.subjectพัฒนาการของเด็กth_TH
dc.subjectสมอง--พัฒนาการth_TH
dc.subjectExecutive Functionth_TH
dc.subjectArsenicth_TH
dc.subjectManganeseth_TH
dc.subjectCyanidesth_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleการวิจัยเพื่อติดตามผลกระทบจากสารอาร์เซนิก แมงกานีส ไซยาไนด์ และฟื้นฟูภาวะบกพร่องทางสติปัญญา กระบวนการรู้คิด และการเรียนรู้ในเด็กประถมศึกษาปีที่ 4-6th_TH
dc.title.alternativeResearch Project for Follow up the Effect of Arsenic, Manganese, Cyanide and Promotion of Cognitive and Learning Disability in Elementary School Grade 4-6th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThailand’s education strategy focuses on developing all Thai children to have skills in the 21st century, including children in areas at risk due to the effects of heavy metal industries. A study in 2016 found the incidence of non-organic arsenic in children’s urine to be 36.1%. Heavy metals such as arsenic are toxic substances with effects causing intellectual impairment, which led to the objective of this study to monitor the situation of intellectual, cognitive and learning impairments among children in addition to studying familial and social factors related to the aforementioned impairments in order to lead to rehabilitation of children’s intellectual and learning impairments with teacher participation in addition to raising awareness and knowledge about self-protection from toxins among children in Grade 4-6 from 6 schools which were originally located in risk areas with heavy metal industries of Pichit, Phitsanulok and Phetchaboon. The findings revealed the children’s family characteristics to be medium-sized families with parents not living with children in the village because the parents worked outside the village (82.60%). Most of the children were raised by grandparents (38.70%) and most of the parents had primary education levels. The families were in poverty with a mean monthly income of 5,000 – 10,000 baht (49.60%). In the area of media use, the children played with mobile phones for more than 1 hour per day (67.10%). When the children were happy, sad or had problems with learning, friends or teachers, the children were found to neither reveal nor consult parents (34.30%). Furthermore, the parents (45.80%) responded that the environments of homes and communities included the use of chemicals, toxins or heavy metals. From health examinations of 199 children, the incidence of contact with non-organic arsenic in the urine was found to be higher than usual (4.5%), a reduction by nearly 12 times in boys and girls of every class and school when compared to a previous survey in 2016. Furthermore, incidence of contact with manganese in blood was higher than normal criteria (41.2%). Cyanide was not found in the sample’s blood and no association was found between contact with non-organic arsenic, manganese and intellectual, cognitive and learning impairments (P-value > 0.05). According to assessment of cognitive and learning skills in 212 students, students were found to have learning impairments in 4 areas, namely reading, spelling, sentence comprehension and mathematic calculations. The sample had learning impairments in one or more areas (81.60%). Of 126 children with normal intelligence quotients (IQ) (IQ > 90), 28 children were found to have learning impairments (22.22%) in 4 areas, namely reading, spelling, sentence comprehension and mathematical calculations (50.0%). Survey results in 2016 found learning impairments at a rate of 38.9%, which was higher than in 2019. When the results following rehabilitation among children with learning impairments were compared before and after rehabilitation, the children who had rehabilitated were found to have higher reading, spelling, sentence comprehension and mathematical calculation skills with statistical significance. In the area of intelligence assessment, the children were found to have normal intelligence (average criteria) (59.4%) and lower intelligence than normal criteria (40.6%). After the rehabilitation of 106 students, students were found to have a mean score of 85.43 for intelligence before rehabilitation, which was below average. After rehabilitation, however, the children were found to have higher mean scores for intelligence with statistical significance. According to assessments of executive function behaviors and skills among children by teachers, the children were found to be in need of promotion (68.2%). From rehabilitation, the executive function skills of more children were found to be normal in the areas of accurate memory, concentration and speed of response in tasks. Results from the assessment of visual-motor perception showed the sample to meet criteria (58.49%) with some of the sample having results lower than criteria (41.51%). When results were compared before and after rehabilitation, no differences were found. Furthermore, in asking the children about knowledge on self-protection from toxins in the environment, most of the children (64.2%) were found to have low knowledge about self-protection from arsenic, manganese and cyanide. After participation in environmental awareness skill promotion activities, most of the sample (41.9%) was found to have higher knowledge on self-protection from toxins at a medium level. After rehabilitation, the sample had significantly different levels of knowledge. Concerning attitude about self-protection from toxins, more of the sample was found to have changed from “Not Sure” to “Agree”. Furthermore, the project disseminated research findings and expanded effects for society on a broad scale with announcements of news, research findings and conclusions of preliminary research findings for 15 government agencies and the societal sector in order to push work at the policy and social levels, which will lead to monitoring, prevention, problem-solving, rehabilitation of intellectual skills and learning in children, thereby giving children awareness about self-care and protection, which will solve problems with sustainability.en_US
dc.identifier.callnoWS105 น724ก 2564
dc.identifier.contactno62-038
dc.subject.keywordการคิดเชิงบริหารth_TH
.custom.citationนุชนาฎ รักษี, Nootchanart Ruksee, อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์, Adisak Plitponkarnpim, ธีรตา ขำนอง, Thirata Khamnong, ศรัล ขุนวิทยา, Sarun Kunwittaya, อธิวัฒน์ เจี่ยวิวรรธน์กุล, Athiwat Jiawiwatkul, วสุนันท์ ชุ่มเชื้อ, Vasunun Chumchua, พิไลวรรณวดี หุตะเมขลิน, Pilaiwanwadee Hutamekalin, กันนิกา เพิ่มพูนพัฒนา, Kannika Permpoonputtana, นนทสรวง กลีบผึ้ง, Nonthasruang Kleebpung, อรพินท์ เลิศอวัสดาตระกูล, Orapin Lertawasdatrakul, กรณัฐ โรจน์ไพรินทร์, Karanat Rodpairin, กนกพร ดอนเจดีย์, Khanokporn Donjdee, นันทนัช สงศิริ, Nanthanat Songsiri, สาลินี จันทร์เจริญ, Salinee Janjaroen, วินันดา ดีสวัสดิ์, Winanda Deesawas, ศิวลี โกศลศศิธร and Siwalee Kosonsasitorn. "การวิจัยเพื่อติดตามผลกระทบจากสารอาร์เซนิก แมงกานีส ไซยาไนด์ และฟื้นฟูภาวะบกพร่องทางสติปัญญา กระบวนการรู้คิด และการเรียนรู้ในเด็กประถมศึกษาปีที่ 4-6." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5316">http://hdl.handle.net/11228/5316</a>.
.custom.total_download39
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year5

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2645.pdf
ขนาด: 5.211Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย