แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การวิจัยประเมินผลกระทบจากนโยบายกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย ระยะที่ 1

dc.contributor.authorบัณฑิต ศรไพศาลth_TH
dc.contributor.authorBundit Sornpaisarnth_TH
dc.contributor.authorวรานิษฐ์ ลำใยth_TH
dc.contributor.authorWiaranist Lamyaith_TH
dc.contributor.authorเชษฐ รัชดาพรรณาธิกุลth_TH
dc.contributor.authorChet Ratchadapunnathikulth_TH
dc.contributor.authorชัยสิริ อังกุระวรานนท์th_TH
dc.contributor.authorChaisiri Angkurawaranonth_TH
dc.contributor.authorนิศาชล เดชเกรียงไกรกุลth_TH
dc.contributor.authorNisachol Dejkriengkraikulth_TH
dc.contributor.authorJürgen Rehmth_TH
dc.date.accessioned2021-04-28T03:35:40Z
dc.date.available2021-04-28T03:35:40Z
dc.date.issued2564
dc.identifier.otherhs2661
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5348
dc.description.abstractด้วยมีความจำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลประเมินผลนโยบายที่ดี หลังจากที่ประเทศไทยมีระบบกัญชาทางการแพทย์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2562 (ฉบับที่ 7) โครงการวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาเพื่อหาคำถามการวิจัยที่สำคัญที่เกี่ยวกับการปฏิบัติและผลของนโยบายและเพื่อออกแบบการติดตามและประเมินผลนโยบายกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย คณะผู้วิจัยได้ทำการทบทวนองค์ความรู้จากประสบการณ์การดำเนินนโยบายกัญชาทางการแพทย์ในต่างประเทศและสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญ 22 ราย สนทนากลุ่มสองกลุ่มรวม 9 ราย และสังเกตการณ์ที่คลินิกกัญชาทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 1 ครั้ง ได้ข้อค้นพบที่สำคัญ คือ (ก) ระบบกัญชาทางการแพทย์ของประเทศไทยมีความซับซ้อนสูงมาก ประกอบด้วยระบบย่อยสามระบบ คือ แพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้าน ที่ไม่ได้เกิดการยอมรับกันและกันและเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยอย่างเพียงพอ ทำให้ไม่เอื้อต่อการเข้าถึงบริการเท่าที่ควร ส่งผลให้มีการใช้กัญชาทางการแพทย์นอกระบบจำนวนมาก (ข) นโยบายกัญชาทางการแพทย์เป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย มีทั้งประโยชน์และโทษ ประเทศไทยจึงต้องการระบบการสร้างความรู้และการติดตามประเมินผลอย่างมากและเร่งด่วน และ (ค) การขับเคลื่อนนโยบายกัญชาทางการแพทย์และนโยบายกัญชามีลักษณะเข้าได้กับ “เศรษฐศาสตร์การเมือง” (political economy) ซึ่งหมายถึงการมีผลประโยชน์เข้ามาเจือปนเหตุผลทางการแพทย์ในการขับเคลื่อนนโยบายด้วย ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องมีระบบอภิบาลที่ดีเพียงพอคณะผู้วิจัยสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายไว้หกประการด้วยกัน คือ (1) ควรกำหนดให้มีคณะบุคคลที่เป็นอิสระ มีความรู้ความสามารถและเป็นที่ยอมรับของสังคมจำนวนหนึ่ง ให้มีพันธกิจเป็นที่ปรึกษาการจัดทำแผนนโยบายกัญชาทางการแพทย์ของประเทศไทยที่คำนึงถึงการใช้ประโยชน์และการป้องกันและควบคุมโทษที่อาจเกิดขึ้นทั้งระยะสั้นและระยะยาว (2) ควรพัฒนาระบบบริการกัญชาทางการแพทย์ที่สามารถดึงเอาด้านดีของทุกองค์ประกอบ/ระบบมาใช้ประโยชน์ ด้วยวิธีการหารืออย่างเปิดใจและให้เกียรติกับผู้เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านและคิดออกแบบระบบบริการอย่างสร้างสรรค์ (creative) โดยถือประโยชน์ของผู้ป่วยและญาติเป็นหลัก (3) ควรจะมีการลงทุนกับการสร้างความรู้เกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์อย่างเป็นระบบ ตลอดจนลงทุนกับการออกแบบและติดตั้งระบบเฝ้าระวังเพื่อติดตามการปฏิบัติและประเมินผลกระทบของนโยบายกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทยตลอดสายตั้งแต่อุปทาน การให้และรับบริการ ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีข้อมูลและความรู้สำหรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากระบบกัญชาทางการแพทย์เป็นสิ่งใหม่ในสังคมไทย (4) ควรจัดระบบการให้ข้อมูลประชาชนอย่างเป็นระบบ โดยให้มีข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องแก่ประชาชน เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยและประชาชนต้องหาข้อมูลกันเองส่งผลให้เกิดการตกเป็นเหยื่อของข้อมูลเท็จของผู้ให้บริการนอกระบบได้ง่าย (5) ควรจัดให้มีการศึกษาประสิทธิผล (efficacy) และความคุ้มค่า (cost-effectiveness หรือ ที่เรียกว่าต้นทุน-ประสิทธิผล) ของผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ต่างๆ ในประเทศไทย โดยใช้วิธีวิจัยที่มีมาตรฐานผนวกกับความคิดสร้างสรรค์ที่จะปรับวิธีวิจัยให้เหมาะสมกับบริบทสังคมไทยในมิติต่างๆ และ (6) ควรจัดให้มีการศึกษานโยบายการใช้ประโยชน์จากกัญชาในอนาคตสำหรับประเทศไทยโดยเร็ว เพื่อให้ประเทศไทยมีองค์ความรู้เชิงประจักษ์อย่างรอบด้านและเพียงพอต่อการกำหนดนโยบายบนฐานความรู้ เพื่อไม่ให้เกิดการกำหนดนโยบายบนฐานผลประโยชน์ของกลุ่มคนบางกลุ่มที่อาจจะก่อให้เกิดต้นทุนกับสังคมโดยรวมในระยะยาวหรือการจัดทำความรู้เพื่อประกอบการจัดทำนโยบายแบบรัดสั้นและไม่เพียงพอth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectกัญชาth_TH
dc.subjectCannabisth_TH
dc.subjectMarijuanath_TH
dc.subjectนโยบายด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการวิจัยประเมินผลกระทบจากนโยบายกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย ระยะที่ 1th_TH
dc.title.alternativeResearch for evaluating the impacts of medical marijuana policy in Thailand, Phase Ith_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe medical marijuana (MMJ) system has been established for the first time in Thai history since February 19, 2019, according to the Narcotic Control Act 2019 (7th edition) . This study aimed to find essential research questions regarding the implementation and impacts of and design the monitoring and evaluation system for the MMJ policy in Thailand. Research methods employed include a literature review, 22 in- depth interviews with key stakeholders, two focus group interviews covering nine service providers and patients, and a participatory observation in the MMJ clinic at the Ministry of Public Health. Our crucial findings cover: (a) the Thai MMJ system is complex, consisting of the sub-systems: modern medicine, Thai traditional medicine, and local community medicine. These three sub- systems are not harmonized. Patients could not access and benefit from the whole system, resulting in many of these patients having to use illegal marijuana products. ( b) MMJ is a new matter in Thailand and could provide both benefits and drawbacks for the Thai society; hence it is essential and urgent for Thailand to have an MMJ related knowledge generation system and an MMJ policy impact monitoring and evaluation system. (c) MMJ movement in Thailand has attributes like “political economy,” which means the MMJ policies may be driven by benefits rather than medical rationale. The proposed policy recommendations include follows. (1) Establish an advisory committee containing various capability dimensions and socially accepted, and have no conflict of interest. (2) Strengthen the MMJ service system in a way incorporating the advantages of all three MMJ sub-systems. (3) Urgently invest in the policy impact monitoring and evaluation system, including evaluating the supply, service utilization, and short-term and long-term consequences. (4) Promote Thai people’s health literacy regarding MMJ is crucial to prevent them from being victims of false information of the illegal MMJ providers. (5) Study the efficacy and the cost-effectiveness of various MMJ products in Thailand using the Thai culture-relevant, modified scientific method. And (6) study future MMJ policies for Thailand to inform policy decision making guided by scientific evidence.th_TH
dc.identifier.callnoQV77.7 บ259ก 2564
dc.identifier.contactno62-099
dc.subject.keywordกัญชาทางแพทย์th_TH
.custom.citationบัณฑิต ศรไพศาล, Bundit Sornpaisarn, วรานิษฐ์ ลำใย, Wiaranist Lamyai, เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล, Chet Ratchadapunnathikul, ชัยสิริ อังกุระวรานนท์, Chaisiri Angkurawaranon, นิศาชล เดชเกรียงไกรกุล, Nisachol Dejkriengkraikul and Jürgen Rehm. "การวิจัยประเมินผลกระทบจากนโยบายกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย ระยะที่ 1." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5348">http://hdl.handle.net/11228/5348</a>.
.custom.total_download341
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year18
.custom.downloaded_fiscal_year24

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2661.pdf
ขนาด: 1.900Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย